เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 วิภาคแห่งเวทนา  638
 
 (เนื้อหาพอสังเขป)
  เวทนา 2 อย่าง, เวทนา 3 อย่าง, เวทนา 5 อย่าง, เวทนา 6 อย่าง
  เวทนา 18 อย่าง, เวทนา 36 อย่าง,
เวทนา 108 อย่าง

 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค1  หน้า 176
(อัฏฐสตปริยายสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๔ )


วิภาคแห่งเวทนา 


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น.

ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! เวทนาแม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนาแม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนาแม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนาแม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้สามสิบหกอย่างเราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
และเวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย

เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสองอย่างนั้นคือ 
     เวทนาที่เป็นไปทาง กาย 
     และเวทนาที่เป็นไปทาง ใจ 
     ภิกษุ ท. !เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง 

เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสามอย่างนั้นคือ 
     สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข) 
     ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์)
     และ อทุกขมสุข เวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข). 
     ภิกษุ ท. !เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง.

เวทนา ห้าอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาห้าอย่างนั้น คือ 
     อินทรีย์คือ สุข 
     อินทรีย์คือ ทุกข์ 
     อินทรีย์คือ โสมนัส (ความสุขใจ ปลาบปลื้ม เบิกบานใจ)
     อินทรีย์คือ โทมนัส (ความเสียใจ ทุกข์ใจ เศร้าโศก)
     และอินทรีย์คือ อุเบกขา (วางเฉย)
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง.

เวทนา หกอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาหกอย่างนั้นคือ 
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางตา
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางหู 
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางจมูก 
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางลิ้น 
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางกาย 
     และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางใจ 
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เรียกว่า เวทนาหกอย่าง.

เวทนา สิบแปดอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสิบแปดอย่างนั้นคือ 
     ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย โสมนัสหกอย่าง (ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
     ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย โทมนัสหกอย่าง 
     และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย อุเบกขาหกอย่าง 
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง.

เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า? เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ 
     โสมนัสเวทนาที่ เนื่องด้วยเหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง
     โสมนัสเวทนาที่ เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน หกอย่าง
     โทมนัสเวทนาที่ เนื่องด้วยเหย้าเรือน หกอย่าง 
     โทมนัสเวทนาที่ เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน หกอย่าง
     อุเบกขาเวทนาที่ เนื่องด้วยเหย้าเรือน หกอย่าง
     และอุเบกขาเวทนาที่ เนื่องด้วยการหลีกออก จากเหย้าเรือน หกอย่าง
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง.

เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า? เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ 
     เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) 
     ส่วนที่เป็นอดีต (๓๖)
     เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต (๓๖)
     และ เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็น ปัจจุบัน (๓๖)
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่าเวทนาร้อยแปดอย่าง

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล. 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์