พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (ภาค1) หน้า 13
ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นเทวดาหรือ..? เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก
(พระพุทธเจ้าสนทนากับโทณพราหมณ์
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์ ปรารถนาธรรมอันเกษมจาก โยคะเถิด ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธะ"
ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?"
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.
"ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไร ๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้ เป็นอย่างนั้นๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า?"
พราหมณ์เอย ! อาสวะ เหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็น เทวดา เพราะยังละ มันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอด ด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว
พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้ เราเป็น คนธรรพ์ เป็น ยักษ์ เป็น มนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือน ดอกบัวเขียง บัวหลวง หรือบัวขาว มันเกิดใน น้ำเจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้
พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น "พุทธะ" ดังนี้เถิด
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๓๙
โทณสูตร
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกล ในระหว่างเมือง อุกกัฏฐะ และเมือง เสตัพยะ แม้โทณพราหมณ์ก็เดินทางไกลในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะ และเมือง เสตัพยะ โทณพราหมณ์ ได้เห็นรอยกงจักร ในรอยพระบาท ของพระผู้มี พระภาค มีซี่ตั้งพัน ประกอบด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ครั้นเห็นแล้วจึงรำพึงว่า อัศจรรย์จริงหนอท่านผู้เจริญ สิ่งไม่เคยมีมามีขึ้น รอยเท้า เหล่านี้ ชะรอย จักไม่ใช่ รอยเท้ามนุษย์
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออก จากทาง ประทับนั่งที่โคนไม้ ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ครั้งนั้น โทณพราหมณ์ติดตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นพระผู้มี พระภาคประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง น่าพอใจ ควรแก่ความเลื่อมใส มีพระอินทรีย์ อันสงบ มีพระทัยอันสงบ ถึงความฝึกฝน และความสงบอันยอดเยี่ยม มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าถึง ที่ประทับ แล้วทูลถามว่า
ท่านผู้เจริญเป็นเทวดา หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นเทวดา
โท. ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์หรือ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นคนธรรพ์
โท. ท่านผู้เจริญเป็นยักษ์หรือ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นยักษ์
โท. ท่านผู้เจริญเป็นมนุษย์ใช่ไหม ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เรามิใช่เป็นมนุษย์
โท. เราถามท่านว่า เป็นเทวดาหรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นคนธรรพ์หรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นยักษ์หรือ ท่านตอบว่าไม่ใช่ เราถามว่าเป็นมนุษย์หรือ ท่านก็ตอบว่าไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นท่านผู้เจริญเป็นอะไรแน่ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ อาสวะเหล่า นั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วนกระทำให้ไม่มี ไม่ให้ เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรพราหมณ์ เราพึงเป็นคนธรรพ์ ... เราพึงเป็นยักษ์ ... เราพึงเป็นมนุษย์เพราะ ยังละ อาสวะเหล่าใดไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำ ให้เป็นดุจ ตาลยอดด้วน กระทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม หรือดอกบัวขาว เกิดในน้ำ เจริญใน น้ำ ตั้งอยู่พ้นน้ำ แต่น้ำมิได้แปดเปื้อนแม้ฉันใด
ดูกรพราหมณ์ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลกเติบโตขึ้นในโลก อยู่ครอบงำ โลก อันโลก มิได้แปดเปื้อน
ดูกรพราหมณ์ ท่านจงทรงจำเราไว้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ฯ
ความบังเกิดเป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ ผู้เที่ยวไปในเวหาพึงมีแก่เราด้วยอาสวะใด เราพึงถึงความเป็นยักษ์ และเข้าถึงความเป็นมนุษย์ด้วยอาสวะใด อาสวะเหล่านั้น ของเราสิ้นไปแล้ว เรากำจัดเสียแล้ว กระทำให้ปราศจาก เครื่องผูกพัน ดอกบัวตั้งอยู่ พ้นน้ำ ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ฉันใดเราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลก ฉันนั้น
ดูกรพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า ฯ
|