เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรมญาณ อันวยญาณ 519
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ธัมมญาณ คือญาณในธรรม - อันวยญาณ คือญาณในการรู้ตาม..
ญาณคือความรู้ รู้ชัดในอริยสัจสี่ รู้ชัดว่าชรา มรณะ เป็นอย่างนี้ รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับของชรามรณะเป็นอย่างนี้ ในอดีตก็เป็นอย่างนี้ ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็จะเป็นอย่างนี้



 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๔

ธรรมญาณ อันวยญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
        รู้ชัดซึ่งชรา และ มรณะอย่างนี้ 
        รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรา และ มรณะอย่างนี้
        รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชรา และ มรณะอย่างนี้
        รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา และ มรณะอย่างนี้

นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัย ในอดีต และอนาคต ไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาลอันตน ได้บรรลุแล้วอันตน หยั่งรู้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็
        ได้รู้ชราและมรณะ
        ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ
        ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ
        ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้ เหมือนกัน ทั้งนั้น

สมณะหรือพราหมณ์ ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็
        จักรู้ชรา และมรณะ
        จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ
        จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ
        จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้ เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณ ของอริยสาวกนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือ ธรรมญาณ  อันวยญาณ  ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า
        ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง
        ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง
        ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง
        เห็นสัทธรรมนี้บ้าง
        ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง
        ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง
        ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง
        เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง
        อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ...

สังขารมี ๓ คือ
กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
        รู้ชัดสังขารอย่างนี้
        รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขารอย่างนี้
        รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้
        รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้

นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมนำนัยในอดีต และ อนาคตไปด้วย ธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์ ในอดีตกาล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็
        ได้รู้สังขาร
        ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่ง สังขาร
        ได้รู้ความดับแห่งสังขาร
        ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ ในบัดนี้เหมือนกัน ทั้งนั้น

สมณะหรือพราหมณ์ ในอนาคตกาล แม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็
        จักรู้ สังขาร
        จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร
        จักรู้ความดับแห่งสังขาร
        จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้ เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณ ของ อริยสาวกนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือ ธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า
        ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง
        ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง
        ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง
        เห็นสัทธรรมนี้บ้าง
        ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง
        ประกอบด้วยวิชชา ของพระเสขะ บ้าง
        ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง
        เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง
        อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์