เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า 513
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

(1) บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
(2) บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
(3) บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด



 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้า ๓๔๙ ข้อ (๕๑๑)

เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า

             [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่า ท้าวสหัมบดีพรหม อาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.

เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลี ในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติ เห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี

เปรียบเหมือน ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว
ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
       * บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
       * บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
       * บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด


ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมี กิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอน ให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี.

ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลายผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.

........................................................................................................................................

บัว 4 เหล่า (บุคคล 4 จำพวก) ตามพระไตรปิฎกฉบับอรรถกถา เป็นการบัญญัติเพิ่ม จากคำสอนของพระศาสดาที่บัญญัติไว้เพียง 3 เหล่า (อุปมาบุคลล 3 จำพวก) ซึ่งปรากฎตามหนังสือเรียนระดับประถมศึกษา ของกระทรวงศึกษา และหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%A4%A4%C5_%F4_1

บัว 4 เหล่า ตามอรรถกถา ประกอบด้วย
๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้
๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า

ตัวอักษรสีแดง คือคำแต่งใหม่ ที่ไม่มีในคำสอน ซึ่งความหมายของบัว 3 เหล่า เป็นอุปมาของผู้มีอินทรีย์ แก่-อ่อน ต่างกันเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับแสงอาทิตย์ และพระองค์ไม่ได้นะบุว่าจะบาน วันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันไหนๆ

การบัญญัติเพิ่ม พระศาสดาห้ามกระทำ ตามที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอน สิ่งที่บัญญัติ ไว้แล้ว, จักสมา ทานศึกษาในสิกขาบท ที่บัญญัติ ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญ ก็เป็นสิ่ง ที่ภิกษุทั้งหลาย หวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์