เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหานามสูตรที่ ๑ 494
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
มหาบพิตร ทูลถามพระศาสดาว่าจะพึงอยู่ด้วยธรรม เครื่องอยู่อะไร?
ทรงให้ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงทรงเจริญ ธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป



 
 
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก ทุติยวรรคที่ ๒ หน้าที่ ๓๐๔



มหานามสูตรที่ ๑


          [๒๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนคร กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก กระทำจีวรกรรม (เตรียมจีวร เพื่อเดินทาง) เพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จ แล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามะ ได้ทรงทราบ ข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรม เพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน

          ครั้งนั้นแลเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทราบข่าว ดังนี้ว่าภิกษุเป็น อันมาก กระทำจีวรกรรม เพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จ แล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรม เครื่องอยู่อะไรพระเจ้าข้าฯ

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้ามาหา ตถาคตแล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรม เครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็นกุลบุตร

          ดูกรมหาบพิตร กุลบุตร

ผู้มีศรัทธา (1) ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์
ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

ผู้ปรารภความเพียร (2) ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์
ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

ผู้มีสติตั้งมั่น (3) ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

ผู้มีจิตตั้งมั่น (4) ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์
ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

ผู้มีปัญญา (5) ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

          ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ประการนี้แล้ว พึงทรงเจริญ ธรรม ประการให้ยิ่งขึ้นไป

          ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ประการนี้ มหาบพิตรพึง ทรงระลึกถึงพระ ตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถี ฝึกบุรุษ ไม่มี ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

          ดูกรมหาบพิตร สมัยใดอริยสาวกระลึกถึงตถาคต(1) สมัยนั้น จิตของ อริยสาวก นั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารภพระตถาคตย่อม ได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อม เกิดแก่อริยสาวก ผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วย ปีติ ย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบ อยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความ พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยกระแสธรรมเจริญพุทธานุสสติ ฯ
          ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
....................................................................................................

          ดูกรมหาบพิตร สมัยใดอริยสาวกระลึกถึงพระธรรม(2) สมัยนั้น จิตของอริย สาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิต ของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง เพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรม ย่อมได้ ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มี ความ ปราโมทย์ กายของ อริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วย ปีติ ย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกาย สงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวก ผู้มีสุขย่อม ตั้งมั่น
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่ สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญธรรมานุสสติ ฯ
          ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ผู้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
....................................................................................................

          ดูกรมหาบพิตร สมัยใดอริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ (3) สมัยนั้น จิตของ อริยสาวก นั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง
           ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อม เกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบ ด้วยปีติย่อม สงบ อริยสาวกผู้มี กายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
           ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ ในหมู่สัตว์ผู้ถึง ความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย กระแสธรรมเจริญสังฆานุสสติฯ
           ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ลูบคลำไม่ได้ เป็นไป เพื่อสมาธิ
....................................................................................................

           ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล(4) สมัยนั้นจิตของ อริยสาวก นั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมสมัยนั้น จิตของอริย สาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ย่อมได้ความรู้ อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิด แก่อริยสาวก ผู้มีความปราโมทย์กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบ แล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ใน หมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญสีลานุสสติ ฯ
             ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตน ว่าเป็น ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทิน คือความตระหนี่ มีจาคะอัน ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ จำแนกทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทิน คือความตระหนี่กลุ้มรุม
....................................................................................................

           ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ (5) สมัยนั้นจิตของ อริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง
            ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อม เกิดแก่อริยสาวก ผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบ แล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
           ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพ กล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่ สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาท อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญจาคานุสสติ ฯ
           ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง
มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดา ทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้นยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิตสวัสดีมีอยู่ เทวดาชั้น พรหมกายมีอยู่ เทวดาชั้น ที่สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่
          เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดใน เทวโลก ชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่
          เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดใน เทวโลก ชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว ไปบังเกิด ในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีสุตะเช่นนั้น
          เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดใน เทวโลกชั้น นั้นๆ แม้เราก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น
....................................................................................................

          ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธาศีล สุตะ จาคะและ ปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น(6) สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูก ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมดำเนินไปตรง
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบ อริยสาวกผู้มี กายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
          ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบ อยู่ในหมู่ สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาท อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญเทวตานุสสติ ดังนี้แลฯ

สรุป
ธรรม ๕ ประการ
1.ผู้มีศรัทธา ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
2.ผู้ปรารภความเพียร ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
3.ผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
4.ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
5.ผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์


ธรรม ๖ ประการ กระทำให้ยิ่งขึ้นไป
1.อริยสาวกระลึกถึง ตถาคต
2.อริยสาวกระลึกถึง พระธรรม
3.อริยสาวกระลึกถึง พระสงฆ์
4.อริยสาวกระลึกถึง ศีล
5.อริยสาวกระลึกถึง จาคะ
6.อริยสาวกระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของตน และของเทวดา

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์