เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน) 486
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพาน โดย ความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่ง(อภิญญา)
ซึ่งนิพพานโดย ความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน 
...

 
 
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๔๕

ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา)ซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ)

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้น กำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว

(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี  พรหม อาภัสสรพรหม  สุภกิณหพรหม  เวหัปผล พรหมอภิภู  อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ  รูปที่เห็นแล้ว  เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก ลิ้น ผิวกาย สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ  นานาภาวะ  และสิ่งทั้งปวง แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบ แห่งถ้อยคำ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่ง นิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วย ข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความ เป็นนิพพานแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ)

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้น กำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว


(ภาษาไทย) - มู. ม. ๑๒/๖/๔.

 


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์