(ชุด 5 เล่มจากพระโอษฐ์)
5 พระสูตรที่สำคัญ
หลังพระศาสดาทรงตรัสรู้แล้ว...และ... ด้วยบุคคลประเภทนี้เอง ที่ทำให้พระศาสดา แสดงซึ่งธรรมอันวิเศษ
1) มารทูลให้นิพพาน ๑
อานนท์ ครั้งหนึ่งเมื่อเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา, ที่ต้นไทรเป็น ที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ เมื่อได้ตรัสรู้ใหม่ๆ มารผู้มีบาปได้เข้ามาหาเราถึงที่นั้น ยืนอยู่ในที่ควรแล้วกล่าวกะเราว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นเวลาสมควรปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคแล้ว
เราได้กล่าวกะมารนั้นว่า
ท่านผู้มีบาป! เราจักไม่ปรินิพพานก่อน ตลอดกาลที่ ภิกษุ...ภิกษุณี... อุบาสก.. อุบาสิกา ผู้เป็นสาวก (และสาวิกา) ของเรา ยังไม่เป็นผู้ฉลาด
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่เป็น พหุสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมควรแก่ธรรม ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติตามธรรม, ยังต้องเรียน ความรู้ของอาจารย์ตนต่อไปก่อน จึงจักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นซึ่งพระสัทธรรม จนข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้น ให้ราบเรียบโดยธรรมแล้ว แสดงธรรมประกอบด้วยความน่าอัศจรรย์ได้.
ท่านผู้มีบาปและเราจักไม่ปรินิพพานก่อน ตลอดกาลที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา)นี้ ยังไม่ตั้งมั่น รุ่งเรืองแผ่ไพศาล เป็นที่รู้จักแห่งชนมาก เป็นปึกแผ่นแน่นหนา จนกระทั่ง เทวดาและมนุษย์ ท. สามารถประกาศได้ด้วยดี
2) ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม ๑
ราชกุมาร ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรม อันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่น จะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียดเป็นวิสัยรู้ได้ เฉพาะบัณฑิต ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัยเพลิดเพลินแล้ว ในอาลัย
สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนัก ที่จะเป็นปฏิจจ สมุปบาทอันมีสิ่งนี้(คือมีอาลัย) เป็นปัจจัยยากนักที่จะเห็นธรรมเป็นที่สงบ ระงับแห่ง สังขารทั้งปวง คือธรรมอันถอนอุปธิทั้งสิ้น ความสิ้นตัณหา ความคลาย กำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ และนิพพาน.
หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อยเปล่าแก่เรา เป็นความลำบาก แก่เรา
โอ ราชกุมาร คาถาอันอัศจรรย์เหล่านี้ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้ง แก่เราว่า
“กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก.
ธรรมนี้,สัตว์ที่ถูกราคะโทสะรวบรัดแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ที่กำหนัดด้วยราคะ ถูกกลุ่มมืดห่อหุ้มแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันให้ถึงที่ทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยากเป็นอณู ดังนี้.
ราชกุมาร !เมื่อเราพิจารณาเห็นดังน้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อการแสดงธรรม.
3) พรหมอาราธนา ๑
ราชกุมาร ! ครั้งนั้น ความรู้สึกข้อนี้ ได้บังเกิดขึ้นแก่สหัมบดีพรหมเพราะเธอรู้ความ ปริวิตกในใจของเราด้วยใจ.
ความรู้สึกนั้นว่า “ผู้เจริญ !โลกจักฉิบหายเสียแล้วหนอ ผู้เจริญ ! โลกจักพินาศ เสียแล้วหนอ, เพราะเหตุที่จิตแห่งพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม ดังนี้.
ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมได้อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเรา รวดเร็วเท่าเวลาที่บุรุษแข็งแรง เหยียดแขนออกแล้วงอเข้าเท่านั้น.
ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ แล้วกล่าวคำนี้กะเราว่า
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมเพื่อเห็นแก่ข้าพระองค์เถิด ขอพระสุคตจงแสดงธรรมเถิด สัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อย ก็มีอยู่ เขาจักเสื่อม เสียเพราะไม่ได้ฟังธรรม. สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีโดยแท้ ดังนี้.
ราชกุมาร ! สหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ยังได้กล่าวคำอื่นสืบไปอีก(เป็นคาถา)ว่า
ธรรมไม่บริสุทธิ์ ที่คนมีมลทิน ได้คิดขึ้น ได้มีปรากฏอยู่ในแคว้นมคธแล้ว สืบมา แต่ก่อน ขอพระองค์จงเปิดประตูนิพพานอันไม่ตาย. สัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรม ที่พระองค์ผู้ปราศจากมลทินได้ตรัสรู้แล้วเถิด. คนยืนบนยอดชะง่อนเขา เห็นประชุมชน ได้โดยรอบ ฉันใด
ข้าแต่พระผู้มีเมธาดี ผู้มีจักษุเห็นโดยรอบ ขอพระองค์จงขึ้นสู่ปราสาท อันสำเร็จ ด้วยธรรม จักเห็นหมู่สัตว์ผู้เกลื่อนกล่นด้วยโศก ไม่ห่างจากความโศก ถูกชาติชรา ครอบงำ ได้ฉันนั้น.
จงลุกขึ้นเถิด พระองค์ผู้วีระ !ผู้ชนะสงครามแล้ว ผู้ขนสัตว์ด้วยยานคือเกวียน ผู้ไม่มีหนี้สิน ขอพระองค์จงเที่ยวไปในโลกเถิด. ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีเป็นแน่ ดังนี้.
4) ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว ๓ เหล่า ๑
ราชกุมาร ครั้งนั้น เรารู้แจ้งคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมแล้ว และเพราะอาศัย ความกรุณาในสัตว์ ท. เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว.
เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ ท. ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ได้ ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก
ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในนํ้า บางเหล่า เกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำ พยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นนํ้า บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำ อันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นนํ้า อันน้ำไม่ถูกแล้ว มีฉันใด ราชกุมาร
เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันฉันนั้น. ราชกุมาร
ครั้งนั้น เราได้รับรองกะสหัมบดีพรหมด้วยคำ (ที่ผูกเป็นกาพย์)ว่า ประตูแห่งนิพพาน อันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด
ดูก่อนพรหม เรารู้สึกว่ายาก จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีตที่เราคล่องแคล่วชำนาญ ในหมู่มนุษย์ ท. ดังนี้.
ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม รู้ว่า ตนเป็นผู้ได้โอกาสอันพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำแล้วเพื่อแสดงธรรม จึงไหว้เรากระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้น นั่นเอง.
5) ทรงแสดงธรรมเพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก ๑
ภิกษุ ท. บุคคลบางคนในโลกนี้ (พวก 1)
ได้เห็น หรือ ไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม
ได้ฟังหรือ ไม่ได้ฟังธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม
ก็หาเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมได้ไม่ (เห็น-ไม่เห็น-ฟัง-ไม่ได้ฟัง ก็ไม่เข้ามา)
แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ (พวก 2)
ได้เห็น หรือ ไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม
ได้ฟัง หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม
ย่อมเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้โดยแท้ (เห็น-ไม่เห็น-ฟัง-ไม่ฟัง ก็เข้ามา)
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ (พวก 3)
ต่อเมื่อได้เห็นตถาคต
หรือได้ฟังธรรมวินัย ที่ตถาคต ประกาศแล้ว
จึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ (ได้เห็น ได้ฟัง ย่อมเข้ามา)
ถ้าไม่ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรม ทั้งหลายได้เลย (ไม่เห็น ไม่ได้ฟัง ย่อมไม่เข้ามา)
ภิกษุ ท. ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น มีบุคคลอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งต่อเมื่อได้เห็นตถาคต หรือได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงจะเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรม ทั้งหลายได้ ถ้าไม่ได้เห็นตถาคต หรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคต
ประกาศแล้ว
ย่อมไม่เข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้เลย (พวก3)
เราเพราะเห็นแก่บุคคลประเภท นี้แหละ(พวก3) จึงอนุญาตให้มีการแสดงธรรม. และเพราะอาศัยบุคคลประเภทนี้เป็นหลักอีกเหมือนกัน จึงจำต้องแสดงธรรม แก่บุคคลประเภท อื่นด้วย.
|