เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 
  ผู้อยู่ใกล้นิพพาน 439
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

ผู้อยู่ใกล้นิพพาน สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ตามประกอบใน ชาคริยธรรม(ชำระจิตให้หมดจด) อยู่เนืองนิจ



 
 
 

ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 283 

ผู้อยู่ใกล้นิพพาน

           ภิกษุท. ภิกษุเมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างแล้ว ไม่อาจที่จะ เสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียว. ธรรมสี่อย่างอะไรบ้างเล่า ? สี่อย่างคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้คุ้มครอง ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นผู้ตามประกอบใน ชาคริยธรรมอยู่เป็นประจำ.

            ภิกษุท.  ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล, มีการสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร มีมรรยาท และโคจรสมบูรณ์อยู่ เป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้เล็กน้อย, สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล.

            ภิกษุท.  ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียง ด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็ไม่รวบถือเอาทั้งหมด และไม่แยกถือเอา

            เป็นส่วน ๆ สิ่งที่เป็นอกุศลลามกคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตาม ภิกษุผู้ไม่สำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ เธอรักษา และถึงความสำรวม ตา หูจมูก ลิ้น กาย และใจ. ภิกษุท. ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย.

            ภิกษุท.  ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ฉัน เพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียง เพื่อให้กายนี้ ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยกำหนดรู้ว่า “เราจะกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียแล้ว ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น ความที่อายุดำเนินไปได้ความ ไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญจะมีแก่เรา ดังนี้. ภิกษุท. ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะ.

            ภิกษุท.  ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบใน ชาคริยธรรม อยู่เนืองนิจ เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจด สิ้นเชิงจากกิเลส ที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังคํ่าไปจน สิ้นยามแรกแห่งราตรี ครั้นยามกลางแห่งราตรีย่อมสำเร็จการนอนอย่าง ราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรีกลับลุกขึ้น แล้ว ก็ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลส ที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม และด้วยการ นั่งอีก. 
            ภิกษุท. ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ตามประกอบใน ชาคริยธรรมอยู่เนืองนิจ.

            ภิกษุท. ภิกษุเมื่อประกอบพร้อมด้วยธรรมสี่อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่อาจ ที่จะเสื่อมเสีย มีแต่จะอยู่ใกล้นิพพานอย่างเดียวแล.

----------------------------------------------------------------------
๑. คือการไม่รวบถือเอาผัสสะทั้งหมดเป็นตัวเราของเรา หรือไม่แยกถือแต่ละส่วน ขององค์ประกอบผัสสะว่า เป็นตัวเรา ของเรา (สำหรับผู้เดินมรรคในระดับผัสสะ), และการไม่ถือเอาเป็นอารมณ์สำหรับยินดียินร้าย ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนปลีกย่อย ของอารมณ์นั้น ๆ (สำหรับผู้เดินมรรคในระดับเวทนา).
----------------------------------------------------------------------

 



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์