|
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า 31
เนื้อนาที่ไม่เกิดบุญ
(ทรงอุปมาเปรียบเหมือนช้างศึกที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อมอดทน ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือ องค์5)
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงประกอบด้วยองค์ห้า(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เป็นช้างไม่คู่ควร แก่พระราชา ไม่เป็นราชพาหนะ ได้ไม่นับว่าเป็นของคู่บารมีของพระราชา.
องค์ห้าอะไรเล่า ? องค์ห้าคือ ช้างหลวงในกรณีนี้ เป็นช้าง ที่ไม่อดทน ต่อรูปทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อรส ทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
(อุปมากับช้างหลวง)
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้เห็นหมู่พลช้างก็ดี, หมู่พลม้าก็ดี, หมู่พลรถก็ดี, หมู่พลราบก็ดี, (ของฝ่ายข้าศึก) แล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้าง หลวงเมื่อออกศึก ได้ยินเสียงหมู่พลช้างก็ดี, หมู่พล ม้าก็ดี, หมู่พลรถก็ดี, หมู่พลราบก็ดี, ได้ยินเสียง กึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์สังข์และมโหระทึกก็ดี, แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจ จะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ช้างหลวงเมื่อออกศึก ได้กลิ่นมูตรและกรีส (ปัสสาวะ และอุจจาระ) ของช้างทั้งหลาย ชนิดที่เป็นชั้น จ่าเจนสงครามเข้าแล้ว ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวง อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ช้างหลวง เมื่อออกศึก เมื่อไม่ได้รับการทอดหญ้า และ นํ้ามื้อหนึ่งหรือสองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ หรือห้ามื้อ แล้วก็ระย่อ ห่อหด ถดถอยเสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ช้างหลวงที่ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณี นี้ช้างหลวงเมื่อออกศึก อย่างเร็วกะทันหันเข้าหนึ่งลูก หรือสองลูก สามลูก สี่ลูก ก็ระย่อ ห่อหด ถดถอย อยู่เสีย ไม่อาจจะเข้าสู่ที่รบ. ภิกษุ ท. ! ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย. ถูกศรที่เขา ยิงมาหรือห้าลูกแล้ว ช้างหลวงอย่างนี้
(อุปมากับภิกษุ)
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลี ไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่าง ดีเยี่ยม.
เหตุห้าอย่างอะไรกันเล่า ? เหตุห้าอย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป ทั้งหลาย, ไม่อดทน ต่อเสียงทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย, ไม่อดทนต่อรส ทั้งหลาย, ไม่อดทน ต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ติดใจยินดีในรูปอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ติดใจยินดีในเสียงอันเป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิต เป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ติดใจยินดีในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ยินดีไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ติดใจยินดีในรสอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลางอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ติดใจ ยินดีในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดยินดี ไม่อาจจะตั้งจิตเป็นกลาง อยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อประกอบด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควร แก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำอัญชลีไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างดีเยี่ยมเลย. |