เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษผู้ถือหม้อน้ำมัน 418
 
 

มหาวาร. สํ ๑๙ / ๒๒๖-๒๒๗ / ๗๖๓–๗๖๖.
เอก.อํ ๒๐ / ๕๙ / ๒๓๕,๒๓๙.


ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษผู้ถือหม้อน้ำมัน

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า
มีนางงามในชนบทพึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้น
น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง
หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า นางงามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง
พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ

ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์
พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า

บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้
ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท
และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลัง ๆ
บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด
ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว”
.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมัน
โน้น แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ.
“ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจ
เนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของ กายคตาสติ.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า
กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน

กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์