เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ

 สุญญตวรรค สุญญตวิหารธรรม 404
 

(โดยย่อ)

สุญญตวิหารธรรม

(1) ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า ป่า เท่านั้น
จิตไม่ควรแล่นไปในสัญญาต่างๆว่า นั่นเป็นบ้าน นั่นเป็นมนุษย์ เป็นโค ม้า ลา ที่เป็นของยึดติดว่า เป็นของเรา แต่ให้มีสัญญาอยู่อย่างเดียว คือสัญญาว่าป่าเท่านั้น เพราะป่าคือธรรมชาติ เหมือนดิน ที่ไม่มีเจ้าของ จิตจึงไม่ยึดติด ไม่ผูกพันธ)

(2) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
จิตไม่ควรแล่นไปในสัญญาว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจในสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ เท่ากับว่าจิตว่างจากสัญญามนุษย์ ว่างจากสัญญาว่าป่า พิจารณาความว่าง นั้น ว่าไม่มีอยู่

(3) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา เท่านั้น
จิตไม่แล่นไปในสัญญาต่างๆ แต่ใส่ใจเฉพาะอากาสานัญจายตนะสัญญาเท่านั้น ตั้งมั่น น้อมนึกไปใน อากาสาเท่านั้น นี่เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามที่เป็นจริง และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น อันยัง มีอยู่ ว่ามี

(4) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ วิญญาณัญจายตน สัญญา เท่านั้น
จิต ไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา แต่ใส่ใจเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น จิตนี้จึงว่าง จากอากาสาฯ และรู้ชัดว่าไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะวิญญาณัญจายตน สัญญาเท่านั้น

(5) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา เท่านั้น
ภิกษุไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจ และน้อมนึกไป แต่สิ่งเดียว เฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น ... เวลานี้จิตว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา และว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ว่างอยู่สิ่งเดียวคือ อากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น

(6) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เท่านั้น
ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตน สัญญา แต่ใส่ใจ และน้อมนึกไปเฉพาะ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญาเท่านั้น ... เวลานี้จิตว่าง จาก อากาสานัญจายตนสัญญา ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา และว่างจากอากิญจัญญายต สัญญา ไม่ว่างอยู่สิ่งเดียวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น

(7) ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เท่านั้น
ภิกษุไม่ใส่ใจอาญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี

(8) จิตหลุดพ้นจากกามาสวะ (กาม) ภวาสวะ (ภพ) อวิชชาสวะ (ความไม่รู้)
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และ รู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ๖ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าจิตหลุด พ้นแล้ว ...นี่คือการบรรล6สุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์

(9) บรรลุสุญญตสมาบัติ
สมณะหรือพราหมณ์ ไม่ว่าพวกใด และไม่ว่าจะเป็น อดีต-ปัจจุบัน-ออนาคต ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๘๐-๑๘๔

สุญญตวรรค

          [๓๓๓]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ปราสาท ของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา*ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ออกจาก สถานที่หลีกเร้นอยู่ ในเวลาเย็นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
* (ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี เป็นเอตทัคคะผู้ถวายทาน)

          ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่สักยนิคม ชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับได้รับ พระดำรัสนี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า 

          ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มาก ด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้อนี้ ข้าพระองค์ ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(1)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่า ป่า เท่านั้น

          [๓๓๔]  พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอนนั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ทั้งเมื่อก่อน และบัดนี้เราอยู่มาก ด้วย สุญญตวิหารธรรมเปรียบเหมือน ปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่า จากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทอง และเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรี และ
บุรุษ มี ไม่ว่างอยู่ก็คือ สิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

          ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญา ว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า

          จิตของเธอ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญา ว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มี ความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยสัญญา ว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่า มนุษย์ เลยมีอยู่ ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่า เท่านั้น

          เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่า มนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น

         ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วย สิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญา นั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น อันยังมีอยู่ว่ามี 

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อน คลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น
(จิตไม่ควรแล่นไปในสัญญาต่างๆว่า นั่นเป็นบ้าน นั่นเป็นมนุษย์ เป็นโค ม้า ลา ที่เป็นของยึด ติดว่า เป็นของเรา แต่ให้มีสัญญาอยู่ อย่างเดียว คือสัญญาว่าป่าเท่านั้น เพราะป่าคือธรรมชาติ เหมือนดิน ที่ไม่มีเจ้าของ จิตจึงไม่ยึดติด ไม่ผูกพันธ์)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(2)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน เท่านั้น


          [๓๓๕]  ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อม แล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน หนังโค ที่เขาขึงดีแล้ว ด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจาก รอยย่นฉันใด

          ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ ไม่สม่ำเสมอทั้งหมด ใส่ใจแต่
สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน


         จิตของเธอย่อม แล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึง รู้ชัด อย่างนี้ว่า ในสัญญาว่า แผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิด ที่อาศัย สัญญา ว่ามนุษย์ และชนิดที่อาศัยสัญญา ว่าป่ามีอยู่ก็แต่เพียงความ กระวนกระวาย คือภาวะเดียว เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น

          เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ ว่างจากสัญญาว่า มนุษย์สัญญานี้ ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น 

          ด้วยอาการนี้แหละเธอจึง พิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี 

         ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น
(จิตไม่ควรแล่นไปใน สัญญาว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจในสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญา ว่า แผ่นดิน เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ เท่ากับว่าจิตว่างจากสัญญามนุษย์ ว่างจากสัญญาว่าป่า พิจารณา ความว่างนั้นว่า ไม่มีอยู่ )

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(3)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ อากาสานัญจายตน สัญญา เท่านั้น

          [๓๓๖]  ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ไม่ใส่ใจ สัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่ สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา จิตของเธอ ย่อมแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อม อยู่ใน อากาสานัญจายตนสัญญา

           เธอจึงรู้ชัด อย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความ กระวน กระวาย ชนิดที่ อาศัย สัญญาว่า ป่า และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดินมีอยู่ ก็แต่เพียงความ กระวนกระวาย คือภาวะเดียว เฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา เท่านั้น 

           เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา เท่านั้น

          ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน สัญญานั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี 

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น

(จิตไม่แล่นไปในสัญญาต่างๆ แต่ใส่ใจเฉพาะอากาสานัญจายตนะสัญญาเท่านั้น ตั้งมั่น น้อมนึกไปใน อากาสาฯ เท่านั้น นี่เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามที่เป็นจริง และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี )

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(4)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ วิญญาณัญจายตน สัญญา เท่านั้น

          [๓๓๗]  ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจอากาสา นัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตน สัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตน สัญญา

           เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าใน วิญญาณัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัย อากาสานัญจายตนสัญญา มีอยู่ ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา เท่านั้น

          เธอรู้ชัดว่าสัญญา นี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ ว่างจากอากาสา นัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะวิญญาณัญจายตน สัญญาเท่านั้น

          ด้วยอาการนี้แหละเธอ จึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน สัญญานั้นเลย
และรู้ชัดสิ่ง ที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอัน ยังมีอยู่ ว่ามี 

          ดูกรอานนท์  แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น 


(จิต ไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา แต่ใส่ใจเฉพาะ วิญญาณัญจายตนสัญญา เท่านั้น จิตนี้จึงว่างจากอากาสาฯ และรู้ชัดว่า ไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะวิญญาณัญจายตน สัญญาเท่านั้น)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(5)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ วิญญาณัญจายตน สัญญา เท่านั้น

          [๓๓๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตน สัญญา ไม่ใส่ใจ วิญญาณัญจายตนสัญญาส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะอากิญ จัญญา ยตน สัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นและนึกน้อมอยู่ในอากิญ จัญญายตน สัญญา

          เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าใน อากิญจัญญายตน สัญญานี้ไม่มีความกระวน กระวาย ชนิดที่อาศัย อากาสานัญจายตนสัญญา และชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะ อากิญจัญญายตนสัญญา เท่านั้น

           เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ ว่างจากอากาสานัญจายตน สัญญา สัญญานี้ว่างจาก วิญญา ณัญจายตนสัญญาและ รู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือ สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญา ยตน สัญญาเท่านั้น

          ด้วยอาการนี้แหละเธอ จึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มี อยู่ใน สัญญานั้น เลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น อันยังมีอยู่ว่ามี

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุ นั้นฯ

(ภิกษุไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจ และ น้อมนึกไป แต่สิ่งเดียว เฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น ... เวลานี้จิตว่างจาก อากาสา นัญจายตนสัญญา และว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ว่างอยู่สิ่งเดียวคือ อากิญจัญญายตน สัญญาเท่านั้น)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(6)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา เท่านั้น

          [๓๓๙] ดูกรอานนท์ประการอื่นยังมีอีกภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ ใจอากิญจัญญายตน สัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญา ยตน สัญญา จิตของเธอ ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่นและนึกน้อมอยู่ใน เนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญา

           เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานา สัญญายตน สัญญานี้ ไม่มีความ กระวน กระวายชนิด ที่อาศัย วิญญาณัญจายตนสัญญา และชนิดที่อาศัย อากิญ จัญญายตนสัญญามีอยู่ ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียว เฉพาะเนว สัญญานาสัญญายตนสัญญา เท่านั้น

           เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ ว่างจาก วิญญาณัญจายตนสัญญาสัญญานี้ ว่างจาก อากิญจัญญายตนสัญญา ละรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะเนวสัญญานา สัญญายตนสัญญา เท่านั้น

          ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน สัญญานั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ ในสัญญานั้น อันยังมีอยู่ว่ามี

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของ ภิกษุนั้น ฯ

(ภิกษุไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจ อากิญ จัญญายตนสัญญา แต่ใส่ใจ และน้อมนึกไปเฉพาะ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญาเท่านั้น ... เวลานี้จิตว่างจาก อากาสานัญจายตนสัญญา ว่างจาก อากิญจัญญายตนสัญญา และว่าง จาก อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ว่างอยู่สิ่งเดียวคือ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญาเท่านั้น)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(7)
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะ เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เท่านั้น

          [๓๔๐]  ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตน สัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะเจโต สมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่น ไปเลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโต สมาธิอันไม่มีนิมิต

          เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัย อากิญจัญญายตนสัญญา และชนิดที่อาศัย เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญามีอยู่ แต่เพียงความกระวนกระวาย คือความเกิดแห่งอายตนะ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิต เป็นปัจจัย 

          เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ว่างจาก อากิญจัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจาก เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือ ความเกิด แห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิต เป็นปัจจัย

          ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโต สมาธิ นั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ว่ามี 

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น 

(ภิกษุไม่ใส่ใจ อาญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่ สิ่งเดียว เฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือ ความเกิด แห่งอายตนะ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิต เป็นปัจจัย รู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี )

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(8)

จิตหลุดพ้นจาก กามาสวะ (กาม) ภวาสวะ (ภพ) อวิชชาสวะ (ความไม่รู้)

          [๓๔๑]ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจ อากิญจัญญาตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นและนึกน้อมอยู่ใน เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต

           เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าเจโต สมาธิอันไม่มีนิมิต ตนนี้แลยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อ เธอรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จาก กามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

          เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัย กามาสวะ ชนิดที่อาศัย ภวาสวะ และชนิด ที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความ กระวน กระวาย คือความเกิดแห่ง อายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย

           เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิด แห่งอายตนะ๖ อาศัยกายนี้ เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย

          ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่านั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน เจโต สมาธินั้นเลย และรู้ชัด สิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้น อันยังมีอยู่ว่ามี

          ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น

(เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะและรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือความเกิด แห่งอายตนะ๖ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ...นี่คือการ บรรลุ สุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(9)
สมณะ หรือพราหมณ์ ไม่ว่าพวกใด และไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ก็ได้ บรรลุสุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่

          [๓๔๒] ดูกรอานนท์สมณะ หรือพราหมณ์ ในอดีตกาล ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุ สุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติ อัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่

          สมณะหรือ พราหมณ์ในอนาคตกาล ไม่ว่าพวกใดๆที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ทั้งหมดนั้นก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์เยี่ยมยอดนี้ เองอยู่

          สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใดๆที่บรรลุ สุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ทั้งหมดนั้น ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่

         ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแลพวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุ สุญญตสมาบัติ อันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้วท่านพระอานนท์ จึงชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล

 

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์