เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มารสูตร รวมพระสูตรเรื่องมาร 400  
 
 

(โดยย่อ)

ว่าด้วยมาร
นัยยะที่ 1 รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็น มารสังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร
นัยยะที่ 2 รูปเป็นมารธรรม เวทนาเป็นมารธรรม สัญญาเป็นมารธรรม สังขาร- วิญญาณเป็นมารธรรม
นัยยะ 3 สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ..ในรูปนั้นเสีย
นัยยะ 4 สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
นัยยะ 5 เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ
นัยยะ 6 มรรคาเป็นเครื่อง ย่ำยีมาร และ เสนามาร คือโพชฌงค์ ๗



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


1)
มารสูตร

ว่าด้วยขันธมาร (ตรัสกับราธะ)

             [๓๗๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็น มารสังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร

             ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.

             ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



2)
มารธัมมสูตร

ว่าด้วยธรรมของมาร (ตรัสกับราธะ)

             [๓๗๘] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มารธรรม มารธรรม ดังนี้ มารธรรมเป็นไฉนหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

             ดูกรราธะ รูปเป็นมารธรรม เวทนาเป็นมารธรรม สัญญาเป็นมารธรรม สังขารเป็นมารธรรม วิญญาณเป็นมารธรรม.

             ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


3)
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นมาร (ตรัสกับราธะ)

             [๔๐๑] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะ ว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

ดูกรราธะ สิ่งใดเล่าเป็นมาร?

             ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้นเสีย ฯลฯ วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณ นั้นเสีย.

             ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

             [๔๐๒] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

             [๔๐๓] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


4)
ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม (ตรัสกับราธะ)

         [๔๐๔] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น เสีย

         [๔๐๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้น เสีย

         [๔๐๖] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัดด้วย อำนาจ ความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


5)

ว่าด้วยขันธมาร
(ตรัสกับราธะ)

             [๓๖๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ แล จึงเรียกว่า มาร?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

             ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมีผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมารเป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์บุคคลเหล่าใดพิจารณา เห็นรูป นั้น อย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.

             เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯเมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมีผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตายเป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.

รา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย.

รา. ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด.

รา. ก็ความคลายกำหนัดเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น.

รา. ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน.

รา. นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
พ. ดูกรราธะ เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจเพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้.

             ดูกรราธะ อันพรหมจรรย์เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด อันกุลบุตร ย่อมอยู่ประพฤติแล.

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


6)
โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

             [๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร และ เสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น

ก็มรรคาเป็นเครื่อง ย่ำยีมาร และ เสนามาร เป็นไฉน?

คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคา เครื่องย่ำยีมาร และ เสนามาร.

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑)


 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์