เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อาคันตุกาคารสูตร ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ 298  
 
  (โดยย่อ)

มรรค ๘ คือวิธีการเข้าถึงเป้าหมายของธรรมทั้ง ๔
1. เข้าถึงมรรค ๘ ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ (คืออุปทานขันธ์ทั้ง๕)
2. เข้าถึงมรรค ๘ ย่อมละธรรมที่ควรละ
(คือ อวิชชา และภวตัณหา)
3. เข้าถึงมรรค ๘ ย่อมกระทำให้แจ้ง
(คือวิชชา และวิมุตติ)
4. เข้าถึงมรรค ๘ ย่อมเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ
(คือสมถะ และวิปัสสนา)
--------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรมต่างๆที่ควรรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ คือ

1.ธรรมที่ควรกำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง.

2.ธรรมที่ควรละ
อวิชชา และภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

3.ธรรมควรทำให้แจ้ง
วิชชา และวิมุติ คือธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

4.ธรรมควรทำให้เจริญ
สมถะและวิปัสสนา ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

(มรรค ๘ คือวิธีการเข้าถึงเป้าหมายของธรรมทั้ง ๔)
 
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

อาคันตุกาคารสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ


        [๒๙๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้มาจากทิศบูรพาก็ดี จากทิศ ปัศจิมก็ดีจากทิศอุดรก็ดี จากทิศทักษิณก็ดี ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขก ถึงกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ศูทรก็ดี ที่มาแล้วก็ย่อมพักอยู่ที่เรือนสำหรับรับแขกนั้น แม้ฉันใด

ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อมละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน.

         [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือธรรมที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง.

        [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน? คือ อวิชชา และภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

        [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน? คือ วิชชา และวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

        [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือ สมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

        [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงกำหนดรู้ธรรม ที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง?

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงกำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์