เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ปริหานสูตร : ปริหานธรรม อปริหานธรรม และ อภิภายตนะ ๖ 278 Next
 
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ปริหานสูตร


          [๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
   ปริหานธรรม (ธรรมที่ทำให้เกิดความเสื่อม)
   อปริหานธรรม (ธรรมอันไม่เสื่อม)
   และ อภิภายตนะ ๖
(ภาวะแห่งความมีอำนาจ เหนืออายตนะ)
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด

            ก็ ปริหานธรรม ย่อมมีอย่างไร
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่าย สังโยชน์(อันเป็นส่วนสังกัปปะ หรืออนุสัย) ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็น รูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจาก กุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ แล่นไปเป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
(ฯลฯ หมายถึง อายะตนะที่เหลือ คือ โสต ฆานะ กาย มโน)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสียไม่ให้หายไป ข้อนั้น ภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ

....................................................................................................................................................

          [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อปริหานธรรม ย่อมมีอย่างไร
          อกุศลบาปธรรม ทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่น ไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย

          อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลส นั้น อยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อม จากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรม ย่อมมีอย่างนี้แล ฯ

ปริหานธรรม คือ ผู้มีธรรมที่เป็นความเสื่อม
อปริหานธรรม คือ ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม
อภิภายตนะ คือ ฐานะหรือภาวะแห่งความมีอำนาจเหนือ(อายตนะ)

....................................................................................................................................................


          [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่าย สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ* ข้อนั้นภิกษุพึง ทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น อภิภายตนะ ฯลฯ *(รวมทั้ง โสต ชิวหา ฆานะ กาย มโน)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าเป็น อภิภายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอภิภายตนะ ๖

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์