เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สมิทธิสูตร ว่าด้วยเรื่อง มาร- สัตว์- โลก คืออะไร 225  
 
  (สรุปย่อพอสังเขป)

ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค

ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ จึงเป็นมาร
ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด มารก็มีอยู่ในที่นั้น
ตา รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น
(กรณี หู - เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส โผฏฐัพพะ-สัมผัส ใจ-ธรรมารมณ์ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์
ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด สัตว์ก็มีอยู่ในที่นั้น
ตา รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น
(กรณี หู - เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส โผฏฐัพพะ-สัมผัส ใจ-ธรรมารมณ์ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไร หนอ จึงเป็นโลกหรือบัญญัติว่าโลก
ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักขุวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด โลกก็มีอยู่ในที่นั้น
ตา รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักขุวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น
(กรณี หู - เสียง จมูก-กลิ่น ลิ้น-รส โผฏฐัพพะ-สัมผัส ใจ-ธรรมารมณ์ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)


สรุปอีกอย่างหนึ่ง
ที่ใดมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ..และมีการรู้แจ้งด้วยวิญญาณ ในอายตนะทั้ง๖
ที่นั่นมีมาร ที่นั่นมีสัตว์ ที่นั่นมีโลก

ที่ใดไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ..และมีการรู้แจ้งด้วยวิญญาณ ในอายตนะทั้ง๖
ที่นั่นไม่มีมาร ที่นั่นไม่มีสัตว์ ที่นั่นไม่มีโลก

(ตา+รูป+จักษุวิญญาณ) คือผัสสะ เมื่อองค์ประกอบทั้ง3 เกิดขึ้น จึงเกิดการรับรู้(ธรรมที่พึงรู้แจ้ง) ทันที เช่น เห็นคน(เห็นเป็นคน) เห็นต้นไม้ เช่นเมื่อเรามองไปที่ถนน ก็เห็นรถวิ่งไปมา แสดงว่าการเห็นรถ เกิดขึ้นแล้ว และรู้ว่าเป็นรถ.. การรู้ว่าเป็นรถ คือ ธรรมที่พึงรู้แจ้ง (ขบวนการเห็น ครบองค์ประกอบแล้ว)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๖ ข้อที่ ๗๑


สมิทธิสูตรที่ ๑

          [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ(เกิดการรับรู้) มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณและธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ใน ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

(กรณีตรงกันข้ามกัน)

          [๗๒]
ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ (ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จักษุวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ 

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามาร ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสมิทธิมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสูตรที่ ๑

---------------------------------------------------------------------------------------------------


สมิทธสูตรที่ ๒


          [๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักขุวิญญาณ มีอยู่ในที่ใดสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณและธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว ์ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

(กรณีตรงกันข้ามกัน)

          [๗๔]
ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ วิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ 

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว ์ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตวหรือการบัญญัติว่าสัตว์ ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด สัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสมิทธิมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสูตรที่ ๒

---------------------------------------------------------------------------------------------------

สมิทธิสูตรที่ ๓


          [๗๕]
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไร หนอ จึงเป็นโลกหรือบัญญัติว่าโลก ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วย จักขุวิญญาณ มีอยู่ในที่ใดโลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณและธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็มีอยู่ในที่นั้น ฯ

(กรณีตรงกันข้ามกัน)

          [๗๖]
ดูกรสมิทธิ ตา รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักขุ วิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ หู เสียง โสตวิญญาณ(ผัสสะ) และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ 

ดูกรสมิทธิ จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ
ดูกรสมิทธิ กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลก ก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

ดูกรสมิทธิ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มีอยู่ในที่นั้น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสมิทธิมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้แล.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์