(ปฏิจจสมุปบาท ชุด 5 เล่มจากพระโอษฐ์ หน้า 410)
ปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่ง (นันทิให้เกิดทุกข์)
ถ้าเห็นแล้วทำให้หยุด ความมั่นหมาย ในสิ่งทั้งปวง
(ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้ รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการ แนะนำในธรรม ของสัปบุรุษ. บุถุชน นั้น
(๑)
ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน
ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว
ย่อม สำคัญมั่น หมายซึ่งดิน
ย่อม สำคัญมั่นหมายในดิน
ย่อม สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน
ย่อม สำคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา
ย่อม เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว (ฉบับหลวงแปลว่า เพราะเขาไม่ได้ กำหนดรู้)
(ตั้งแต่ข้อ (๒) - (๒๔) เป็นการย่อความ โดยเนื้อหาที่ว่างไว้เช่นเดียวกับข้อ (๑) ต้องการอ่านแบบเต็ม
คลิกอ่านจาก ฉบับหลวง)
(๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว (ฉบับหลวงแปลว่า เพราะเขาไม่ได้ กำหนดรู้)
(๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง ลม ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง ภูตสัตว์ ทั้งหลาย..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เทพ ทั้งหลาย...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง อาภัสสรพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหาลย ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง อภิภู...ฯลฯ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง วิญญาณณัญจายตนะ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ...ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว(ทางจมูกลิ้นผิวกาย) ฯลฯปุถุชนนั้นมิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว(ทางมโนวิญญาณ) ฯลฯ.ปุถุชนนั้นมิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ) ...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)...ฯลฯ....ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ)...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง นิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้สึกซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
......ย่อมสำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน
......ย่อมสำคัญมั่นหมายว่า นิพพานของเรา
..... ย่อมเพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
๑ เครื่องกำหนดภูมิของปุถุชน เป็นปฐมนัย จบแล้ว
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(พระเสขะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่า ภิกษุใดยังเป็นเสขะอยู่ มีความประสงค์แห่งใจ (อรหัตตผล) อันตนยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนา อยู่ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ภิกษุนั้น
(๑)
ย่อม จะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความเป็นดิน
ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความ เป็นดินแล้ว
ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งดิน
ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมายในดิน
ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน
ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา
ย่อม จะไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(ตั้งแต่ข้อ (๒) - (๒๔) เป็นการย่อความ โดยเนื้อหาที่ว่างไว้เช่นเดียวกับข้อ (๑) ต้องการอ่านแบบเต็ม
คลิกอ่านจาก ฉบับหลวง)
(๒) ๑ ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง น้ำ...ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ไฟ...ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ลม...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย.ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เทพ ทั้งหลาย...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ปชาบดี...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สุภกิณหพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เวหัปผลพรหม ทั้งหลาย..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ..ฯลฯ.พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากิญจัญญายตนะ..ฯลฯ..พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ.พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว...ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว..ฯลฯ...พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูกลิ้นผิวกาย) .ฯลฯ. พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้ โดยรอบ
(๒๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ)..ฯลฯ.. พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้ โดยรอบ
(๒๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ)..ฯลฯ..พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา
ย่อมจะไม่เพลินอย่างยิ่ง ซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่พระเสขะนั้นจะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑ เครื่องกำหนดภูมิ ของเสขบุคคล เป็นทุติยนัย จบแล้ว)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(พระอรหันต์ขีณาสพ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายภิกษุใด เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จ แล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุ ถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุแม้นั้น
(๑)
ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน
ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายในดิน
ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมาย โดยความเป็นดิน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดยรอบแล้ว ...และ
เพราะว่า ความเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ ...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโทสะ ...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(ตั้งแต่ข้อ (๒) - (๒๔) เป็นการย่อความ โดยเนื้อหาที่ว่างไว้เช่นเดียวกับข้อ (๑) ต้องการอ่านแบบเต็ม
คลิกอ่านจาก ฉบับหลวง)
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ลม ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เทพทั้งหลาย ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากาสานัญจายตะ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากิญจัญญายตนะ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ....เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูกลิ้นผิวกาย).ฯลฯ.เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ)..ฯลฯ..เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ)...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ)...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) ..ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายซึ่ง นิพพาน ย่อมไม่สำคัญ มั่นหมายในนิพพาน ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายโดยความ เป็นนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่า นิพพานของเรา ย่อมไม่เพลินอย่าง ซึ่งนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดยรอบแล้ว ...
และเพราะว่า
ความเป็นผู้ราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระ ขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ...
ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่ พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไป แห่งโทสะ ...
ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ
๑ เครื่องกำหนดภูมิ ของอเสขบุคคล เป็นตติย-ฉัฏฐนัย จบแล้ว
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ตถาคต)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็
(๑)
ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน
ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมาย ซึ่งดิน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายในดิน
ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมายโดย ความ เป็นดิน
ย่อม ไม่สำคัญ มั่นหมาย ว่าดินของเรา
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินนั้นเป็นสิ่งที่ ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูล แห่ง ความ ทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรามรณะ ย่อมมีแก่สัตว์ผู้ เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ตถาคต จึงชื่อว่า ผู้ตรัสพร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตต รสัมมสัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย เพราะความ สำรอกไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืน โดยประการ ทั้งปวง ดังนี้.
(ตั้งแต่ข้อ (๒) - (๒๔) เป็นการย่อความ โดยเนื้อหาที่ว่างไว้เช่นเดียวกับข้อ (๑) ต้องการอ่านแบบเต็ม
คลิกอ่านจาก ฉบับหลวง)
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งน้ำ ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งไฟ ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งลม ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเทพทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งปชาบดี ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งพรหม ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสุภกิณหพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเวปัปผลพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอภิภู ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งวิญญณัญจายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากิญจัญญยตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ..ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งรูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย)..ฯลฯ...สลัดคืนโดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ) ...ฯลฯ...สลัดคืนโดยประการ ทั้งปวงดังนี้
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเอกภาวะ(เอกตฺตํ)...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนานาภาวะ (นานตฺตํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน
ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้ โดยรอบ แล้ว ...
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย และข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความ ทูกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ตถาคตจึง ชื่อว่าผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะ แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไป แห่งตัณหา ทั้งหลาย เพราะความ สำรอก ไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืนโดย ประการทั้งปวง ดังนี้
๑ เครื่องกำหนดภูมิ ของพระศาสดา เป็นสัตตม-อัฏฐมนัย จบแล้ว
……………………………………………………………………………………………………………
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความตามที่กล่าวมาแล้ว ทั้งหมด ข้างบนนี้ มีความเป็น ปฏิจจ สมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา อยู่ในส่วนลึกต้อง พิจารณาอย่าง สุขุม จึงจะมองเห็น.สิ่งแรกที่สุดก็คือ ธรรมทั้ง ๒๔ ประการ อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปทาน ของ ปุถุชน ดังที่กล่าวไว้ในสูตรนี้นั้น ยกพระนิพพานเสีย อย่างเดียวแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่าล้วน แต่เป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม โดยตรง.
สำหรับนิพพานนั้น ถ้าหมายถึง
ทุกขนิโรธ ก็ยังคง อยู่ใน ขอบเขตแห่งอิทัปปัจจยตา หรือว่า เป็นปฏิจจสมุปบาทส่วนนิโรธวาระ อยู่นั้นเอง.
ผู้รวบรวม มีเจตนา นำเอาสูตรนี้มาแสดงไว้ในที่นี้ ด้วยความมุ่งหมาย ในการที่จะให้ผู้ ศึกษา ทุกท่าน พิจารณากัน อย่าง ลึกซึ้ง เช่นนี้ อันจะมีผล ทำให้เห็นความลึกซึ้งของ สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท สืบต่อไปข้าหน้า.
ส่วนข้อความที่ตรัสไว้ โดยเปิดเผย ถึงลักษณะ แห่งปฏิจจสมุปบาทในสูตรนี้ ก็ได้แก่ ข้อความ ตอนท้ายที่ตรัสว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความ ทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ นั่นเอง. แม้จะกล่าวแต่โดย ชื่อว่า นันทิ ก็ย่อมหมายถึง อวิชชา ด้วย เพราะนันทิมาจาก อวิชชา ปราศจากอวิชชาแล้ว นันทิ หรืออุปทานก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ นันทิหรืออุปทานนั้น ย่อมทำให้มีภพ ซึ่งจะ ต้องมี ชาติ ชรามรณะ ตามมา โดยไม่มีที่สงสัย.
ด้วยเหตุนี้เอง การนำเอาอาการของปฏิจจ สมุปบาทมากล่าว แม้เพียง อาการเดียว ก็ย่อมเป็นการกล่าวถึง ปฏิจจสมุปทาน ทุกอาการอยู่ในตัว โดยพฤตินัย หรือโดย อัตโนมัติ ดังนั้น การรู้ แจ้งปฏิจจสมุปบาทเพียงอาการ เดียว แม้โดยปริยายว่านันทิ เป็นมูลแห่งทุกข์ เท่านั้น ก็อาจจะสกัดกั้นเสียซึ่งการ เกิดขึ้น แห่งอุปทาน ในธรรมทั้งหลาย ๒๔ ประการ ดังที่กล่าวแล้ว ในสูตรนี้ได้ ตามสมควรแก่ความเป็น ปุถุชน ความเป็นพระเสขะ ความเป็น พระอเสขะ และความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่สุด.
ขอให้พิจารณาดูให้ดี ๆ ให้เห็นว่า ความลับแห่งความเป็นปฏิจจสมุปบาท ย่อมซ่อน อยู่ใน กระแส ธรรม ทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม นาม ธรรม และธรรมเป็นที่ดับแห่งรูป และนาม ทั้งสองนั้น
พระไตรปิฏก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ - ๑๐
๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐาณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยาย อันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอ จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน
[๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้ สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
(๑) ย่อมรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุดิน ย่อมสำคัญในธาตุดิน ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุดิน (เพลิน) ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้
(๒) ย่อมรู้ธาตุน้ำ โดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นรู้ธาตุน้ำโดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุน้ำ ย่อมสำคัญในธาตุน้ำ ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุน้ำ ย่อมสำคัญธาตุน้ำว่า ของเราย่อมยินดีธาตุน้ำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๓) ย่อมรู้ธาตุไฟ โดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นรู้ธาตุไฟโดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุไฟ ย่อมสำคัญในธาตุไฟ ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสำคัญธาตุไฟว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๔) ย่อมรู้ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลม ครั้นรู้ธาตุลมโดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสำคัญ ธาตุลม ย่อมสำคัญในธาตุลม ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสำคัญธาตุลมว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุลม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๕) ย่อมรู้สัตว์โ ดยความเป็นสัตว์ ครั้นรู้สัตว์โดยความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญสัตว์ ย่อมสำคัญในสัตว์ ย่อมสำคัญโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสำคัญสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๖) ย่อมรู้เทวดา โดยความเป็นเทวดา ครั้นรู้เทวดา โดยความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสำคัญ เทวดา ย่อมสำคัญในเทวดา ย่อมสำคัญโดยความเป็นเทวดา ย่อมสำคัญเทวดา ว่าของเรา ย่อมยินดีเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๗) ย่อมรู้มาร โดยความเป็นมาร ครั้นรู้มาร โดยความเป็นมารแล้ว ย่อมสำคัญมาร ย่อมสำคัญในมาร ย่อมสำคัญโดยความเป็นมาร ย่อมสำคัญมารว่า ของเรา ย่อมยินดีมาร ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๘) ย่อมรู้พรหม โดยความเป็นพรหม ครั้นรู้พรหม โดยความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสำคัญพรหม ย่อมสำคัญในพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นพรหม ย่อมสำคัญพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๙) ย่อมรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้นรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็น อาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญในอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญโดย ความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญอาภัสสรพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอาภัสสรพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๐) ย่อมรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้นรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็น สุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญในสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญโดยความ เป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญสุภกิณหพรหมว่าของเรา ย่อมยินดีสุภกิณหพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๑) ย่อมรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้นรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็น เวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญในเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญโดย ความเป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญเวหัปผลพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๒) ย่อมรู้อสัญญีสัตว์ โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็น อสัญญีสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญในอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญโดยความเป็น อสัญญีสัตว์ย่อมสำคัญอสัญญีสัตว์ว่า ของเรา ย่อมยินดีอสัญญีสัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๓) ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม ครั้นรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญ อากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็น อากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญอากาสานัญจายตนพรหม ว่าของเรา ย่อมยินดี อากาสานัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๔) ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ครั้นรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีวิญญาณัญจายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๕) ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็น อากิญจัญญายตนพรหม ครั้นรู้ อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญในอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญอากิญจัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีอากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๖) ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญเนวสัญญา นาสัญญายตนพรหมว่า ของเรา ย่อมยินดีเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๗) ย่อมรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็นรูปที่เห็น ครั้นรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็นรูปที่ตน เห็นแล้ว ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญในรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญรูปที่ตนเห็นว่า ของเรา ย่อมยินดีรูปที่ตนเห็น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๘) ย่อมรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียง ที่ตนฟังแล้ว ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญในเสียงที่ตนฟัง ย่อมสำคัญโดยความเป็นเสียง ที่ตนฟัง ย่อมสำคัญเสียงที่ตนฟังว่า ของเรา ย่อมยินดีเสียงที่ตนฟัง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๑๙) ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบ โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบ โดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญในอารมณ์ ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่า ของเรา ย่อมยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๒๐) ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ครั้นรู้ธรรมารมณ์ ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญ ในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญธรรมารมณ์ ที่ตนรู้แจ้งว่า ของเรา ย่อมยินดีธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๒๑) ย่อมรู้ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกันโดยความเป็นอันเดียวกัน ครั้นรู้สักกายะ เป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกันว่า ของเรา ย่อมยินดีความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๒๒) ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกัน โดยความเป็นของต่างกัน ครั้นรู้ความที่สักกายะต่างกัน โดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญในความที่ สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญโดยความที่สักกายะต่างกัน ย่อมสำคัญความที่สักกายะต่างกันว่า ของเรา ย่อมยินดีความที่สักกายะต่างกัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้ กำหนดรู้.
(๒๓) ย่อมรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ครั้นรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญในสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญโดยความเป็นสักกายะทั้งปวง ย่อมสำคัญสักกายะทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดี สักกายะทั้งปวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
(๒๔) ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน แล้ว ย่อมสำคัญพระนิพพาน ย่อมสำคัญในพระนิพพาน ย่อมสำคัญโดยความเป็น พระนิพพาน ย่อมสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน.
กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปรารถนา ธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็น ธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญธาตุดิน อย่าสำคัญ ในธาตุดิน อย่าสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญธาตุดินว่าของเรา อย่ายินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะ ต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว อย่าสำคัญพระนิพพาน อย่าสำคัญในพระนิพพาน อย่าสำคัญ โดยความเป็น พระนิพพาน อย่าสำคัญพระนิพพาน ว่าของเรา อย่ายินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.
กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล.
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้น ด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็น ธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ไม่สำคัญในธาตุดิน ไม่สำคัญโดยความ เป็นธาตุดิน ไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอ กำหนดรู้แล้ว.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ...อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดย ความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.
กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญโดยความ เป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจ แล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญโดยความ เป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน แล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นย่อมรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสร-*พรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญโดย ความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ยินดี พระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ.
กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความ เป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ยิ่งธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้น พระตถาคต กำหนดรู้แล้ว.
ย่อมทรงรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญาตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรง สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเราย่อม ไม่ทรงยินดี พระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคต ทรงกำหนดรู้แล้ว.
กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา.
กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริง แล้วย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดินว่า ของเราย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคต ตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหาดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง
ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ...ธาตุไฟ .. ธาตุลม .. สัตว์ .. เทวดา ...มาร ...พรหม ...อาภัสสรพรหม ...สุภกิณหพรหม .. เวหัปผลพรหม .. อสัญญีสัตว์ ...อากาสานัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ...อากิญจัญญายตนพรหม .. เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ...เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ...วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรง สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดี พระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่าพระตถาคต ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหาสละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
|