เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ปัจจยสูตร ว่าด้วยปัจจัย (ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปปันนธรรม) 1400
 

(โดยย่อ)

ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
คือ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้เป็น ปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ….

ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นอย่างไร
คือ ชราและมรณะเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา ชาติเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา

ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร) เป็นอย่างไรเล่า?
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป

ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชรามรณะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ ฉบับมหาจุฬาฯ หน้าที่ ๓๔-๓๖

ปัจจยสูตร ว่าด้วยปัจจัย
(ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปปันนธรรม)


            [๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
             “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร

         คือ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้เป็น ปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น 

         ครั้นรู้บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า‘เธอทั้งหลายจงดูเถิด
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ฯลฯ
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ...
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร จึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตามธาตุอันนั้น

         คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้ เป็นปัจจัยของ สิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงดูเถิด

         ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมีในกระบวนการนี้ ตถตา (ความเป็นอย่างนั้น)
อวิตถตา (ความไม่คลาดเคลื่อน)
อนัญญถตา (ความไม่เป็นอย่างอื่น)
อิทัปปัจจยตา (ความที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้)


ดังพรรณนามาฉะนี้แล นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

-----------------------------------------------------------------------------------

ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นอย่างไร

         คือ ชราและมรณะเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา

         ชาติเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา

         ภพเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา

         อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ... สังขารทั้งหลาย ...(ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ทำนองเดียวกัน)

         อวิชชาเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา

นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม

         เมื่อใดอริยสาวก เห็นปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ด้วยดี ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นอริยสาวกนั้น จักเข้าถึงที่สุดเบื้องต้น


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์  หน้า25

ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ
(ก. ว่าด้วย ลักษณะ ๖ เรื่อง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง เราจักจำแนก ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้ง หลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็
ปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร) เป็นอย่างไรเล่า?


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชรามรณะเป็นอย่างไรเล่า? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมี ผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่ รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

นี้เรียกว่า ชรา การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต

จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ : นี้เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วยมรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าชรามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติเป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! นี้เรียกว่าชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภพเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทานเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าอุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่เวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่ เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา เวทนา ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าเวทนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่ผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าผัสสะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สฬายตนะเป็นอย่างไรเล่าจักข์วายตนะโสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหา ยตนะกายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่าสฬายตนะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็นามรูปเป็นอย่างไรเล่า? เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ นี้ เรียกว่า นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย: นี้ เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่านามรูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณเป็นอย่างไรเล่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่วิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่าวิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เรียกว่าสังขาร ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อวิชชาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความไม่รู้อันใดแล เป็นความ ไม่รู้ในทุกข์, เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นความไม่รู้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อวิชชา

หน้า29
ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟัง ซึ่งธรรมนั้นจงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับ พระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชรามรณะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชาติ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และ กันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทาน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัย กัน และกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สฬายตนะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นามรูป เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกัน และกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความ จางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัย กันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม ทั้งหลาย






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์