เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เอชสูตรที่ ๑ ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร 1314
 

(โดยย่อ)

เอชสูตรที่ ๑
ความหวั่นไหว เป็นโรค
ความหวั่นไหวเป็นฝี
ความหวั่นไหวเป็นลูกศร

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึง ไม่มีความหวั่นไหว

ภิกษุ ...
ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญในจักษุ
ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา
ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูป..
ไม่พึงสำคัญแต่รูป.. ไม่พึงสำคัญว่ารูป... ของเรา
ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ในจักษุวิญญาณ จักษุวิญญาณ จักษุวิญญาณ ของเรา
...ฯลฯ ...

ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงของเราเธอนั้น เมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งย่อมดับเฉพาะตน ทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๖๕


เอชสูตรที่ ๑

         [๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล ตถาคตเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความ หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่

ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ
ไม่พึงสำคัญในจักษุ
ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ
ไม่พึงสำคัญว่าจักษุ ของเรา

ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย

ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญว่ารูปทั้งหลาย ของเรา

ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ

ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณ ของเรา

ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส

ไม่พึงสำคัญใน จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัส ของเรา

ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่ เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา

ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ...ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย... ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ

ไม่พึงสำคัญว่าใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ... ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโนวิญญาณ

ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่ามโนวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส

ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัสไม่พึงสำคัญ ว่ามโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา  ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัยของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่พึง สำคัญในสิ่งทั้งปวง

ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงของเราเธอนั้น เมื่อไม่สำคัญ
อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งย่อมดับเฉพาะตน ทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี


         [๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็น โรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจาก ลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ถึงแม้ภิกษุ ก็พึงหวังว่าเรา พึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์