เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
นิททสวัตถุสูตร (ธรรมที่เป็นเหตุ) ภิกษุพอใจอย่างแรงกล้า และเป็นผู้ยินดีในธรรม ๗ ประการนี้ 1305
 

(โดยย่อ)

นิททสวัตถุสูตร (ธรรมที่เป็นเหตุ) ๗ ประการ
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ พอใจอย่างแรงกล้า และเป็นผู้ยินดีในธรรม ๗ ประการนี้
๑. ในการสมาทานสิกขา
๒. พอใจในการใคร่ครวญธรรม
๓. พอใจในอันที่จะกำจัดความอยาก
๔. พอใจในการหลีกเร้น
๕. ในการปรารภความเพียร
๖. ในความเป็นผู้มีสติรอบคอบ
๗. ในการแทงตลอดด้วยทิฐิ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕


นิททสวัตถุสูตร (ธรรมที่เป็นเหตุ)


           [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้ 

๗ ประการเป็นไฉน  คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการสมาทานสิกขา และเป็นผู้ได้ความยินดี ในการสมาทานสิกขาต่อไป  

๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการใคร่ครวญธรรม และเป็นผู้ได้ความยินดี ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป

๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในอันที่จะกำจัดความอยาก และเป็นผู้ได้ความ ยินดี ในอันที่จะกำจัดความอยากต่อไป  

๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการหลีกเร้น และเป็นผู้ได้ความยินดี ในการ หลีกเร้นต่อไป

๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการปรารภความเพียร และเป็นผู้ได้ความ ยินดี ในการปรารภความเพียรต่อไป

๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในความเป็นผู้มีสติรอบคอบ และเป็นผู้ได้ความ ยินดี ในความเป็นผู้มีสติรอบคอบต่อไป  

๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และเป็นผู้ได้ความ ยินดี ในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์