เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
มายาเครื่องกลับใจ ตรัสกับภัททิยลิจฉวี ที่คิดว่า พ.ใช้มายา ให้ปริพาชกเดียรถีย์หันมาเป็นสาวก 1288
 

(โดยย่อ)

แข่งดีเป็น อกุศล ...มายาเครื่องกลับใจ
ภัททิยลิจฉวี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลว่า พระสมณโคดม สามารถทำให้อัญญเดียรถีย์ หันมา นับถือ เพราะทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวก

จากนั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสถาม ภัททิยะ เป็นเรื่องๆ ถึงอกุศลธรรม มีโทษ
1. ก็บุคคลผู้โลภมาก ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิต ย่อมฆ่าสัตว์ ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ .. ภัท ตอบว่า เพื่อมิใช่ประโยชน์ พระเจ้าข้า (มีโทษไม่ใช่ประโยชน์)

2. โทสะ..โมหะ..การแข่งดี เมื่อเกิดขึ้นแก่บุรุษ เพื่อประโยชน์ หรือ มิใช่เพื่อประโยชน์
ภัท. เพื่อมิใช่ประโยชน์

3. เมื่อบุคคลผู้แข่งดี ถูกความแข่งดีครอบงำย่ำยีจิต ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ...ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือ ภัท. เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

4. ธรรม(ที่กล่าวมานี้) เป็นกุศล หรือ อกุศล.. ภัท. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า

5. พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ... ภ. มีโทษ พระเจ้าข้า

6. พ. วิญญูชนติเตียน หรือ สรรเสริญ .. ภัท. วิญญูชนติเตียน พระเจ้าข้า

7. พ. บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือมิใช่ ภัท. ย่อมเป็นไป เพื่อ มิใช่ประโยชน์ แต่เป็นไปเพื่อทุกข์

พ. ดูกรภัททิยะ
เมื่อใด ท่านรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น อกุศล ท่านควรละเสียเถิด ดังนี้ จงอย่าเชื่อโดยฟัง ตามกันมา...
เมื่อใด ท่านรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น กุศล จึงควรสมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เพื่อสุข  พึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้นเถิด
--- ฯลฯ----

ภัท. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มายาเครื่องกลับใจนี้ดีนัก งามนัก… ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

(ลักษณะการเทศนา ของพระผู้มีพระภาค จะตรัสถามเป็นข้อๆ ให้ภัททิยลิจฉวี คิดพิจารณา แล้ว ตอบเอง ด้วยเหตุผลตามที่เป็นจริง ในสิ่งที่เป็น กุศล และอกุศล เพื่อให้ ภ.เกิดความรู้สึกยอมรับ ด้วยตนเอง สุดท้าย ภัททิยะ ก็รู้ว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ใช้มายาเครื่องกลับใจอะไรเลย... และนี่ ก็เป็น ส่วนหนึ่งที่อธิบาย เรื่องการฟังตามๆกัน หรือเชื่อตามๆกันมา ตามกาลามะสูตร)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภัททิยะ ท่านจงมาเถิด ท่านทั้งหลาย
อย่าได้ถือโดยฟังตามกันมา
อย่าได้ถือ โดยสืบต่อกันมา
อย่าได้ถือ โดยตื่นข่าว
อย่าได้ถือ โดยอ้างตำรา
อย่าได้ถือ โดยนึกเดาเอาเอง
อย่าได้ถือ โดยคาดคะเน
อย่าได้ถือ โดยตรึกตามอาการ
อย่าได้ถือ โดยชอบใจว่าถูกกับลัทธิของตน
อย่าได้ถือ โดยเห็นว่าผู้พูดเป็นคน ควรเชื่อได้ 
อย่าได้ถือ โดยเชื่อว่าสมณะเป็นครูของเรา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๘๒


แข่งดีเป็น อกุศล ...มายาเครื่องกลับใจ


        [๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้นแล ภัททิยลิจฉวี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา ดังนี้ว่า พระสมณโคดมทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวก ของพวก อัญญเดียรถีย์ ให้มานับถือ พวกเขาเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายา เครื่องกลับใจสาวก ของพวกอัญญเดียรถีย์ให้มานับถือ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเหล่านั้น เป็นอันกล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัส แลหรือ ไม่ได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำไม่เป็นจริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และการคล้อยตาม วาทะอันชอบแก่เหตุไรๆ ย่อมไม่มาถึงฐานะอันควรติเตียนแลหรือ แท้จริง ข้าพระองค์ไม่ประสงค์ จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

        ดูกรภัททิยะ ท่านจงมาเถิด ท่านทั้งหลาย
อย่าได้ถือโดยฟังตามกันมา
อย่าได้ถือ โดยสืบต่อกันมา
อย่าได้ถือ โดยตื่นข่าว
อย่าได้ถือ โดยอ้างตำรา
อย่าได้ถือ โดยนึกเดาเอาเอง
อย่าได้ถือ โดยคาดคะเน
อย่าได้ถือ โดยตรึกตามอาการ
อย่าได้ถือ โดยชอบใจว่าถูกกับลัทธิของตน
อย่าได้ถือ โดยเห็นว่าผู้พูดเป็นคน ควรเชื่อได้ 
อย่าได้ถือ โดยเชื่อว่าสมณะเป็นครูของเรา


(กาลามสูตร หรือเกสปุตตสูตร ตรัสกับพวกชนกาลามโคตร P474 )

     ดูกรภัททิยะ เมื่อใดท่านพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่า นี้ มีโทษ ธรรมเหล่านี้อันวิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทาน ให้บริบูรณ์ แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย พึงละ เสียเถิด

     ดูกรภัททิยะ ท่านจะพึงสำคัญ ความความข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภเมื่อเกิดขึ้น ภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อมิใช่ประโยชน์ ฯ
     ภัท. เพื่อมิใช่ประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ

     พ. ดูกรภัททิยะ ก็บุคคลผู้โลภมาก ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิต ย่อมฆ่าสัตว์ ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานหรือ ฯ
     ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

     พ. ดูกรภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โทสะ ..โมหะ ..การแข่งดี เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อมิใช่ประโยชน์ ฯ
     ภัท. เพื่อมิใช่ประโยชน์ พระเจ้าข้า ฯ

     พ. ดูกรภัททิยะ บุคคลผู้แข่งดี ถูกความแข่งดีครอบงำย่ำยีจิต ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานหรือ ฯ
     ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

     พ. ดูกรภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ เป็น อกุศล ฯ
     ภัท. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ

     พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ
     ภัท. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ

     พ. วิญญูชนติเตียนหรือวิญญูชนสรรเสริญ ฯ
     ภัท. วิญญูชนติเตียน พระเจ้าข้า ฯ

     พ. บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือมิใช่ หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้ ฯ
     ภัท. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่านี้บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็น ไป เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะท่านว่า ท่านทั้งหลายอย่าถือโดยฟัง ตาม กันมา...

เมื่อใด ท่านพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล... ท่านทั้งหลายควรละ เสียเถิด ดังนี้ คำนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภัททิยะ ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือ โดยฟังตามกันมา...

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลธรรม เหล่านี้ ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย พึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น อยู่เถิด

    ดูกรภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความไม่โลภเมื่อเกิดขึ้นใน ภายใน ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อมิใช่ประโยชน์
    ภัท. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่โลภนี้ ไม่ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิต  ย่อมไม่ฆ่า สัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ และชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนานหรือ
     ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โกรธ... ความไม่ หลง... ความไม่แข่งดี เกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
    ภัท. เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่แข่งดีนี้ ไม่ถูกความแข่งดีครอบงำย่ำยีจิต ย่อมไม่ ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ และชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนานหรือ
     ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ เป็น อกุศล
     ภัท. เป็นกุศล พระเจ้าข้า

     พ. มีโทษหรือหาโทษมิได้
    ภัท. หาโทษมิได้ พระเจ้าข้า

     พ. วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ
    ภัท. วิญญูชนสรรเสริญ พระเจ้าข้า

     พ. ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุขหรือมิใช่ หรือท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้
    ภัท. ธรรมเหล่านี้อันบุคคล สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุข ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้ พระเจ้าข้า

     พ. ดูกรภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะท่านว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด  ท่านทั้งหลาย อย่าได้ถือฟัง ตามกันมา...ท่านทั้งหลายพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น อยู่เถิดดังนี้ คำนั้นเรากล่าวแล้วเพราะ อาศัยข้อนี้

     ดูกรภัททิยะ คนเหล่าใดเป็นคนสงบ เป็นสัตบุรุษคนเหล่านั้น ย่อมชักชวนสาวก อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านจงมา จงปราบปรามความโลภเสียเถิด เมื่อปราบปราม ความโลภได้ จักไม่กระทำกรรมอันเกิดแต่ความโลภ ด้วยกายวาจาใจ

จงปราบปราม ความโกรธเสียเถิด เมื่อท่านปราบปรามความโกรธได้ จักไม่กระทำ กรรมอันเกิดแต่ความโกรธ ด้วยกาย วาจา ใจ จงปราบปราม ความหลงเสียเถิด เมื่อปราบปรามความหลงได้ จักไม่กระทำกรรมอันเกิดแต่ ความหลง ด้วยกาย วาจา ใจ

จงปราบปรามความแข่งดีเสียเถิด เมื่อปราบปรามความ แข่งดีได้ จักไม่กระทำกรรม อันเกิดแต่ความแข่งดีด้วยกาย วาจา ใจ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภัททิยลิจฉวีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

พ. ดูกรภัททิยะ ก็เราได้กล่าวชักชวนท่านอย่างนี้ว่า ดูกรภัททิยะ ขอท่านจงมาเป็น สาวก ของเราเถิด เราจักเป็นศาสดาของท่าน ดังนี้หรือ

     ภัท. มิใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรภัททิยะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เรา ผู้มีปรกติกล่าว อย่างนี้ มีปรกติ
บอกอย่างนี้ ด้วยคำอันไม่แน่นอน เป็นคำเปล่า คำเท็จ คำไม่จริง ว่าพระสมณโคดม มีมายา รู้จักมายาเครื่องกลับใจสาวกของพวก อัญญเดียรถีย์ ให้มานับถือ

     ภัท. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มายาเครื่องกลับใจนี้ดีนัก งามนัก ถ้าญาติสาโลหิต อันเป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่บรรดาญาติสาโลหิตอันเป็นที่รัก ของข้าพระองค์ ตลอดกาลนาน ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจมา ด้วยมายา เป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่กษัตริย์ทั้งปวง ตลอดกาลนาน

ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง...แพศย์...ศูทร์ทั้งปวง จะพึงกลับใจมาด้วยมายา เป็นเครื่อง กลับใจ ชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสุข แก่ศูทร์ แม้ทั้งปวง ตลอดกาลนาน

ดูกรภัททิยะ คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นอย่างนั้นๆ ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงพึงทรงกลับใจ มาเพื่อละ อกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่กษัตริย์ทั้งปวงตลอดกาลนาน

ถ้าแม้พราหมณ์...แพศย์... ศูทร์พึงกลับใจ มาเพื่อละ อกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่ศูทร์ทั้งปวง ตลอดกาลนาน ถ้าแม้โลก

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์