เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 จักกวัตติสูตร พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา 1264
 

(โดยย่อ)

พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองด้วย ธรรม กับผู้ที่ตามเสด็จ ในหมู่พล ในหมู่พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคม และชาวชนบท

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงอาศัยธรรม นั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรม
   ว่า กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ กายกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ
   ว่า วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ
   ว่า มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๐๔


จักกวัตติสูตร


         [๔๕๓] ๑๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงยังจักรมิใช่ของพระราชาอื่นให้เป็นไป เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเล่า เป็นราชาของ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรภิกษุ ธรรมเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาดั่งนี้ แล้วได้ตรัส ต่อไปว่า

ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงมีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในอันโตชน ฯ

ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัย ธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงมีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ใน พวกกษัตริย์ ผู้ที่ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และคฤหบดี ในชาวนิคมและชาว ชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนก

ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระองค์นั้นแล ซึ่งอาศัยธรรม นั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรม เป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบ ด้วยธรรมไว้ในอัน โตชน ในพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และคฤหบดี ในชาวนิคม และชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนกแล้ว ย่อมทรงใช้จักรให้เป็น ไปโดยธรรมเท่านั้น จักเป็นอันมนุษย์ ข้าศึกหรือสัตว์ไรๆ ให้เป็นไปไม่ได้ ฉันใด ฯ

ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรม เป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครอง ที่ประกอบด้วย ธรรมไว้ในกายกรรม ว่ากายกรรมเช่นนี้ควรเสพ กายกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ฯ

ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม ทรงมีธรรมเป็นธงมีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษป้องกัน และ คุ้มครอง ที่ประกอบด้วย ธรรมไว้ในวจีกรรม ว่า วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ฯ

ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรมยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครอง ที่ประกอบด้วย ธรรมไว้ในมโนกรรมว่า มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรม เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ฯ

ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรมมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกันและคุ้มครองที่ประกอบ ด้วยธรรม ไว้ในกายกรรมวจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรงยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ให้เป็นไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปด้วยไม่ได้ ฯ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์