(โดยย่อ) 1.สัมปทา ๓ อย่าง เป็นไฉน คือศีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา 2.สัมปทา ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ กัมมันตสัมปทา อาชีวสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา 3.ความสะอาด ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ กายโสเจยยความสะอาดกาย วจีโสเจยยความสะอาดวาจา มโนโสเจยยความสะอาดใจ 4.ความสะอาดทางใจ (มโนโสเจยย) กามฉันทะมีในภายในก็รู้ว่า กามฉันทะของเรามีในภายใน หรือ กามฉันทะ ไม่มี ในภายในก็รู้ว่า
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๗ (1) สัมปทา ๓ อย่าง เป็นไฉน คือศีลสัมปทา ๑ จิตตสัมปทา ๑ ทิฏฐิสัมปทา ๑ ก็ศีลสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากลักการทรัพย์ เว้นขาด จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ก็จิตตสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท ก็ทิฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์พวกที่ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ศีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะ จิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะ ทิฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๕๘ (2) สัมปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ๑) กัมมันตสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งการงาน ๒) อาชีวสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งอาชีพ ๓) ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ กัมมันตสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ อาชีวสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอาชีพชอบ สำเร็จการ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ทิฏฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนสัมมาทิฐิมีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ ซึ่งทำให้โลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ หน้าที่ ๒๕๘ (3) โสเจยยสูตรที่ ๑ ความสะอาด ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ ๑) กายโสเจยยความสะอาดกาย ๒) วจีโสเจยย ความสะอาดวาจา ๓) มโนโสเจยย ความสะอาดใจ กายโสเจยยเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด จากการประพฤติผิดในกาม วจีโสเจยยเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ มโนโสเจยยเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยความอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- (4) มโนโสเจยยเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กามฉันทะมีในภายในก็รู้ว่า กามฉันทะของเรามีในภายใน หรือกามฉันทะ ไม่มี ในภายในก็รู้ว่า กามฉันทะของเราไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุ เกิดขึ้น แห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละ กามฉันทะ ที่เกิดขึ้น แล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุ ไม่เกิดขึ้นได้ต่อไปแห่งกามฉันทะที่ละได้แล้ว พยาบาทมีในภายในก็รู้ว่า พยาบาทของเรามีในภายใน หรือพยาบาทไม่มี ใน ภายใน ก็รู้ว่า พยาบาทของเราไม่มีในภายในย่อมรู้ชัด ซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้น แห่งพยาบาท ที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดอาการเป็นเหตุละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด ซึ่งอาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นต่อไป แห่งพยาบาทที่ละได้แล้ว ถีนมิทธะมีในภายในก็รู้ว่า ถีนมิทธะของเรามีในภายใน หรือถีนมิทธะไม่มีใน ภายใน ก็รู้ว่า ถีนมิทธะของเราไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการ เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่ง ถีนมิทธะ ที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด ซึ่งอาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นต่อไป แห่งถีนมิทธะที่ละได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ในภายใน ก็รู้ว่า อุทธัจจกุกกุจจะของเรามีอยู่ในภายใน หรือ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่มีอยู่ในภายในก็รู้ว่า อุทธัจจกุกกุจจะของเราไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้น แห่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นรู้ชัด ซึ่ง อาการเป็นเหตุละ อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุ ไม่เกิดขึ้นต่อไป แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว วิจิกิจฉามีอยู่ในภายใน ก็รู้ว่าวิจิกิจฉาของเรามีอยู่ในภายใน หรือวิจิกิจฉาไม่มีใน ภายในก็รู้ว่า วิจิกิจฉาของเราไม่มีในภายใน ย่อมรู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุเกิดขึ้น แห่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดซึ่งอาการเป็นเหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดซึ่ง อาการเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว ผู้ที่มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ เป็นผู้สะอาดถึงพร้อมด้วย ความสะอาด บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า เป็นผู้ล้างบาปเสียแล้ว ฯ