พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๗๒ - หน้าที่ ๑๗๖
๑. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นของร้อน
[๓๓๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนา เป็นของ เร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณ เป็นของเร่าร้อน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.
๒. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่ ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ ในรูปนั้น เสีย.เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทะ ในวิญญาณนั้นเสีย.
๓. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในรูปนั้น เสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย พึงละ ราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย.
๔. อนิจจสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทะราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๓๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณเสีย.
------------------------------------------------------------------
๕. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
[๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่ง ที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่ง ที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทะ ในรูปนั้นเสีย.เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย
๖. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย
๗. ทุกขสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไร เป็น สิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ ในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ ฉันทราคะ ในวิญญาณนั้นเสีย.
------------------------------------------------------------------
๘. อนัตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๓๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่ง ที่ เป็นอนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
๙. อนัตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๔๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง ที่ เป็นอนัตตาเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละราคะในรูปนั้นเสียเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
๑๐. อนัตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๔๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่ง ที่เป็น อนัตตาเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงละ ฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็น อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑๑. กุลปุตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มากด้วยความ เบื่อหน่าย ในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควร แห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา.
เมื่อเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
ย่อมกำหนดรู้ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ
ย่อมหลุดพ้นไปจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้น ไปจากทุกข์.
๑๒. กุลปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควร แห่ง กุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา.
เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้น ไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
๑๓. กุลปุตตสูตรที่ ๓
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็น ความ เป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรมสมควร แห่งกุลบุตร ผู้บวชด้วยศรัทธา ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
๑๔. กุลปุตตสูตรที่ ๔
ว่าด้วยธรรมอันสมควรแก่กุลบุตร
[๓๔๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ เป็น อนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้ย่อมเป็นธรรม สมควร แห่งกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา.
เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารใน วิญญาณ ย่อมกำหนดรู้ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อกำหนดรู้ซึ่งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมหลุดพ้น ไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จากชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์.
จบ กุกกุฬวรรคที่ ๔.
|