เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ความปรากฏแห่ง ง้วนดิน เครือดิน กะบิดิน สะเก็ดดิน 1177
  (โดยย่อ)

ความปรากฏแห่ง โลกธาตุ ..ง้วนดิน เครือดิน กะบิดิน สะเก็ดดิน

1) ความปรากฏแห่งสัตว์ และง้วนดิน
เหล่าสัตว์จุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสระ มีปิติเป็นภักษา มีรัศมี อยู่ในวิมานอันงดงาม สมัยนั้น ทั่วทั้ง จักรวาลเป็นน้ำทั้งนั้น มึดมน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดวงดาว ยังไม่ปรากฎ ครั้งล่วงเลยมา เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำ สัตว์ใช้นิ้วช้อนชิม แล้วเกิดความอยาก

2) ความปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
รัศมีสัตว์หายไป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ปรากฎ โลกนี้จึงได้กลับฟื้นขึ้นอีก

3) ความปรากฏแห่งสะเก็ดดิน
ง้วนดินหายไป สะเก็ดดินปรากฎ เกิดความต่างของผิวพรรณ เกิดการถือตัว

4) ความปรากฏแห่งเครือดิน
สะเกิดดินหายไป เครือดินปรากฎ เมื่อเครือดินหายไป สัตว์ต่างโหยหาด้วยความเสียดาย เกิดความทุกข์

5) ความปรากฏแห่งข้าวสาลีในที่ที่ไม่ต้องไถ
เมื่อเครือดินหายไป ข้าวสาลีก็ปรากฎ สัตว์จึงบริโภคข้าวสาลี

6) ความปรากฏแห่งเพศหญิงและเพศชาย
นานแสนนานสัตว์ มีอวัยวะเพศต่างกัน เกิดเพศหญิง เพศชาย ต่างเพ่งมองซึ่งกันและกัน จึงเกิดความ กำหนัด จนเสพเมถุน สัตว์อื่นที่ไม่ชอบจึงขว้างฝุ่นใส่ กล่าวว่า คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย

7) การประพฤติเมถุนธรรม
ต่อมาสัตว์ที่พอใจการเสพเมถุน ต่างสร้างมุงบัง เกิดการกักตุนข้าวสาลี

8) การแบ่งข้าวสาลี
สัตว์มานั่งปรับทุกข์กันถึงเรื่องราวในอดีตอันเกิดจาก อกุศลธรรม ต่อมา สัตว์แบ่ง พื้นที่ปลุกข้าวสาลี กัน เกิดการโขมยข้าวสาลี ทำร้ายกันด้วยฝ่ามือและก้อนดิน มีการพูดเท็จ การถืออาวุธจึงปรากฎ

9) มหาสมมตราช
เกิดมหาสมมุต กษัตริย์ และราชา ให้เป็นผู้ควบคุม ความประพฤติของสัตว์

10) แวดวงพราหมณ์
พวกที่ 1 เรียกว่า พราหมณ์ บำเพ็ญฌานในกระท่อม ไม่หุงหาอาหาร แต่เดินขออาหารในหมู่บ้าน
พวกที่ 2 เรียกว่า ฌายกา บำเพ็ญฌาน อาศัยกระท่อมในป่า ไม่หุงหาอาหาร แต่เดินขอ อาหารใน หมู่บ้าน)
พวกที่ 3 เรียกว่า อัชฌายกา เข้าฌานไม่ได้ ไม่บำเพ็ญฌาน อาศัยกระท่อมในป่า เป็นผู้ทำคัมภีร์)

11) แวดวงแพศย์
เกิดวรรณะแพศย์ ใช้ชื่อว่า เวสสา บางพวกเสพเมถุน บางพวกไม่เสพ ยังทำงานตาม ปกติ

12) เรื่องการประพฤติทุจริต เป็นต้น
แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศุทร หรือสมณะ หากเป็นผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๘๙ - ๑๐๑

อัคคัญญสูตร การปรากฎแห่งสรรพสิ่งบนโลกธาตุ
(ตรัสกับ วาเสฏฐะและภารทวาชะ)


1) ความปรากฏแห่งสัตว์ และง้วนดิน
(เหล่าสัตว์จุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสระ มีปิติเป็นภักษา มีรัศมี อยู่ในวิมานอันงดงาม สมัยนั้น ทั่วทั้งจักรวาลเป็นน้ำทั้งนั้น มึดมน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดวงดาว ยังไม่ปรากฎ ครั้งล่วง เลยมา เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำ สัตว์ใช้นิ้วช้อนชิม แล้วเกิดความอยาก)

             สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน โลกนี้เจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญ ขึ้น เหล่าสัตว์ส่วนมากจุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสสระมาเป็นอย่างนี้๑ นึกคิด อะไร ก็สำเร็จได้ตามปรารถนา๒ มีปีติเป็นภักษา๓ มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน

             [๑๒๐] วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยนั้น ทั่วทั้งจักรวาลนี้แหละเป็นน้ำ
ทั้งนั้น มืดมนอนธการ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายยังไม่ ปรากฏ กลางคืน กลางวันยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่ง ครึ่งเดือน ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ หญิงชาย ก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายปรากฏชื่อแต่เพียงว่า ‘สัตว์’ เท่านั้น ครั้นเวลาล่วงเลย มาช้านาน เกิดง้วนดิน ลอยอยู่บนน้ำ ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ดุจน้ำนมที่บุคคล เคี่ยว ให้แห้งแล้ว ทำให้เย็นสนิทจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ง้วนดินนั้น สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วย กลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยข้น อย่างดี และมีรสอร่อย เหมือนน้ำ ผึ้งมิ้ม ซึ่งปราศจากโทษ

             ต่อมา สัตว์ผู้หนึ่งมีนิสัยโลภกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญสิ่งนี้จะเป็นเช่นไร แล้ว ใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู  เมื่อเขาใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดูอยู่ รสง้วนดิน ได้แผ่ซ่านไป เขาจึงเกิดความอยาก ในรส แม้สัตว์เหล่าอื่น ก็พากันถือแบบ อย่างสัตว์นั้น จึงใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้นใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้น มาลิ้มดูอยู่ รสง้วนดินก็แผ่ซ่านไป และสัตว์เหล่านั้น ก็เกิดความอยากในรสขึ้น เช่นเดียวกัน

2) ความปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
(รัศมีสัตว์หายไป ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฎ โลกนี้จึงได้กลับฟื้นขึ้นอีก)

             [๑๒๑] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์เหล่านั้นพากันใช้มือปั้นง้วนดิน
ให้เป็นคำๆ เพื่อจะบริโภค เมื่อใด สัตว์เหล่านั้นพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ
เพื่อบริโภค เมื่อนั้น รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไป เมื่อรัศมี
ที่ซ่านออกจากร่างกายหายไป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏ เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย
ปรากฏ กลางคืน กลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืน กลางวันปรากฏ เดือนหนึ่ง ครึ่งเดือน ก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ โลกนี้จึงได้กลับฟื้นขึ้นอีก

             [๑๒๒] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา สัตว์เหล่านั้นเมื่อบริโภค ง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็นภักษา มีง้วนดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อ
บริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็นภักษา มีง้วนดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นาน
แสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน
สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกมีผิวพรรณทราม สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณงาม
สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า ‘พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์
เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าพวกเรา’ เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะ
ถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างก็พากันโหยหาว่า ‘รสเอ๋ย รสเอ๋ย’ แม้ทุกวันนี้ ก็เหมือนกัน พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบางอย่าง มักกล่าวอย่างนี้ว่า ‘รสเอ๋ย รสเอ๋ย’ พวกพราหมณ์พากันนึกได้แต่คำโบราณที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีว่าด้วย ต้นกำเนิด ของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคำนั้นเลย

3) ความปรากฏแห่งสะเก็ดดิน
(ง้วนดินหายไป สะเก็ดดินปรากฎ เกิดความต่างของผิวพรรณ เกิดการถือตัว)

             [๑๒๓] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อง้วนดินของสัตว์เหล่านั้นหายไป สะเก็ดดินก็ปรากฏ สะเก็ดดินนั้นปรากฏลักษณะเหมือนดอกเห็ด สะเก็ดดินนั้น สมบูรณ์ ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี และมีรส อร่อยเหมือนน้ำผึ้งมิ้มซึ่งปราศจากโทษครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภค สะเก็ด ดิน เมื่อบริโภคสะเก็ดดินนั้น มีสะเก็ดดินนั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดินนั้น เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อบริโภคสะเก็ดดิน มีสะเก็ดดินนั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดิน นั้น เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกาย หยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวก มีผิวพรรณทราม สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณงาม สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มี ผิวพรรณ ทรามว่า ‘พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณ ทราม กว่าพวกเรา’ เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะ ถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณ เป็นปัจจัย สะเก็ดดินจึงหายไป

4) ความปรากฏแห่งเครือดิน
(สะเกิดดินหายไป เครือดินปรากฎ เมื่อเครือดินหายไป สัตว์ต่างโหยหาด้วยความ เสียดาย เกิดความทุกข์)

             [๑๒๔] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อสะเก็ดดินหายไป เครือดินก็ ปรากฏ เครือดินนั้น ปรากฏคล้ายเถาผักบุ้ง เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วย กลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี และมีรสอร่อยเหมือน น้ำผึ้งมิ้ม ซึ่งปราศจากโทษ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภคเครือดิน เมื่อบริโภค เครือดิน นั้น มีเครือดินนั้นเป็นภักษา มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อ บริโภคเครือดิน มีเครือดินนั้นเป็นภักษา มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่นาน แสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน สัตว์บางพวก มีผิวพรรณงาม บางพวกมีผิวพรรณทราม สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณงาม สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า ‘พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์ เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าพวกเรา’ เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะ ถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดินจึงหายไป

             เมื่อเครือดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างพากันโหยหา ว่า ‘พวกเราเคยมีเครือดิน บัดนี้เครือดินของพวกเราหายไปแล้ว’ ในสมัยนี้ก็ เหมือนกันพวกมนุษย์ ถูกทุกข์ระทมบางอย่างกระทบเข้า ก็พากันบ่นเพ้อว่า ‘เราเคยมี ของสิ่งนี้ แต่เดี๋ยวนี้ของของเราหายไปแล้ว’ พวกพราหมณ์พากันนึกได้ แต่คำ โบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความ แห่งคำนั้นเลย

5) ความปรากฏแห่งข้าวสาลีในที่ที่ไม่ต้องไถ
(เมื่อเครือดินหายไป ข้าวสาลีก็ปรากฎ สัตว์จึงบริโภคข้าวสาลี)

             [๑๒๕] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อเครือดินของสัตว์เหล่านั้นหายไปแล้ว
ข้าวสาลีอันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ด
เป็นข้าวสารก็ปรากฏ ที่ที่พวกเขาเก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น
ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเช้า ที่ที่พวกเขาเก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็น
อาหารเช้าในตอนเช้า ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเย็น ความพร่องไม่
ปรากฏเลย ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายพากันบริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ
มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน

6) ความปรากฏแห่งเพศหญิงและเพศชาย
(นานแสนนานสัตว์ มีอวัยวะเพศต่างกัน เกิดเพศหญิง เพศชาย ต่างเพ่งมองซึ่งกัน และกัน จึงเกิดความกำหนัด จนเสพเมถุน สัตว์อื่นที่ไม่ชอบจึงขว้างฝุ่นใส่ กล่าวว่า คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย)

             [๑๒๖] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิด
สุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่
นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน
และอวัยวะเพศหญิงปรากฏแก่ผู้เป็นหญิง อวัยวะเพศชายปรากฏแก่ผู้เป็นชาย
กล่าวกันว่า หญิงเพ่งดูชาย และชายก็เพ่งดูหญิงนานเกินไป เมื่อชนทั้ง ๒ เพศ
ต่างเพ่งดูกันและกันนานเกินไป ก็เกิดความกำหนัดขึ้น ความเร่าร้อนก็ปรากฏขึ้น
ในกาย เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย ชนเหล่านั้นจึงได้เสพเมถุนธรรม

             ก็โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดเห็นสัตว์เหล่าอื่นกำลังเสพเมถุนกัน จึงขว้างฝุ่น ใส่บ้าง ขว้างขี้เถ้าใส่บ้าง ขว้างมูลโคใส่บ้าง ด้วยกล่าวว่า ‘คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย’ แล้วกล่าวต่อไปว่า ‘ก็ไฉน สัตว์จึงทำกรรมอย่างนี้แก่สัตว์เล่า’ ข้อที่ ว่ามานั้น แม้ในขณะนี้ ในชนบทบางแห่ง เมื่อเขานำสัตว์ที่จะถูกฆ่าไป สู่ที่ประหาร มนุษย์ เหล่าอื่นก็จะขว้างฝุ่นใส่บ้าง ขว้างขี้เถ้าใส่บ้าง ขว้างมูลโคใส่บ้าง พวกพราหมณ์ พากันนึกได้แต่คำโบราณที่เกี่ยวข้อง กับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิด ของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคำนั้นเลย

7) การประพฤติเมถุนธรรม
(ต่อมาสัตว์ที่พอใจการเสพเมถุน ต่างสร้างมุงบัง เกิดการกักตุนข้าวสาลี)

             [๑๒๗] วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยนั้น การเสพเมถุนธรรมอันเป็นเหตุ
ให้ถูกขว้างฝุ่นใส่เป็นต้นนั้น ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่บัดนี้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
สมัยนั้นเหล่าสัตว์ผู้เสพเมถุนธรรม ไม่ได้เข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมตลอด ๑ เดือน
บ้าง ๒ เดือนบ้าง เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นต้องการเสพอสัทธรรมเกินเวลา ต่อมาจึง
พากันสร้างเรือนขึ้น เพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น สัตว์บางคนเกิดความเกียจคร้าน
จึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เรานี้ช่างลำบากเสียจริง ที่ต้องนำข้าวสาลีมา
เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น และเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ทางที่ดี เราควร
นำข้าวสาลีมาครั้งเดียวให้พอเพื่อเป็นอาหารเช้าและอาหารเย็น’

             ต่อแต่นั้นมา สัตว์นั้นก็นำข้าวสาลีมาเพียงครั้งเดียว เพื่อเป็นอาหารเย็นและ
อาหารเช้า ครั้งหนึ่ง สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์นั้นถึงที่อยู่แล้วได้ชักชวนว่า ‘มาเถิด
ท่านผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด’ สัตว์นั้นจึงตอบว่า ‘อย่าเลย ท่านผู้เจริญ
เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารเย็นและอาหารเช้าแล้ว’ ต่อมา สัตว์นั้น
จึงถือแบบอย่างสัตว์คนแรก นำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๒ วัน
ด้วยกล่าวว่า ‘เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน’

             ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งจึงเข้าไปหาสัตว์คนที่ ๒ ถึงที่อยู่ กล่าวชวนสัตว์ คนนั้นว่า ‘มาเถิดท่านผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด’ สัตว์นั้นจึงตอบว่า ‘อย่าเลย ท่านผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอ เพื่อเป็นอาหาร ถึง ๒ วัน’ ต่อมา สัตว์นั้น จึงถือเอาแบบอย่างสัตว์คนที่ ๒ นำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอ เพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วยกล่าวว่า ‘เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน’

             ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์คนที่ ๓ ถึงที่อยู่ กล่าวชวนสัตว์คนนั้นว่า
‘มาเถิดท่านผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด’ สัตว์นั้นจึงตอบว่า ‘อย่าเลย
ท่านผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน’ ต่อมา สัตว์นั้น
จึงถือแบบอย่างสัตว์คนที่ ๓ นำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๘ วัน
ด้วยกล่าวว่า ‘เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน’ เพราะสัตว์ทั้งหลายพากัน บริโภค ข้าวสาลีที่สั่งสมไว้ ดังนั้น ข้าวสาลีจึงมีรำ ห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความพร่องได้ปรากฏให้เห็น จึงได้มีข้าวสาลี เป็นหย่อมๆ

8) การแบ่งข้าวสาลี
(สัตว์มานั่งปรับทุกข์กันถึงเรื่องราวในอดีตอันเกิดจาก อกุศลธรรม ต่อมา สัตว์แบ่ง พื้นที่ปลุกข้าวสาลีกัน เกิดการโขมยข้าวสาลี ทำร้ายกันด้วย ฝ่ามือ และก้อนดิน การพูดเท็จ และการถืออาวุธจึงปรากฎ)

             [๑๒๘] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างพากันปรับทุกข์ว่า ‘ท่านผู้เจริญ บาปธรรมก็ปรากฏในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่า ในกาลก่อน พวกเรานึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่าน ออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานงดงาม สถิตอยู่ นานแสนนาน สมัยหนึ่ง เมื่อล่วงไปนานๆ เกิดง้วนดินลอยขึ้นบนน้ำ ปรากฏแก่พวกเรา ง้วนดินนั้น สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส พวกเรานั้นได้พากันใช้มือ ปั้นง้วน ดินให้เป็นคำๆ เพื่อบริโภค เมื่อพวกเราพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำๆ เพื่อบริโภคอยู่ รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายก็หายไป เมื่อรัศมีที่ซ่านออกจากร่างกาย หายไป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ

             เมื่อดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏ เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏแล้ว กลางคืน กลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืน กลางวันปรากฏแล้ว เดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ พวกเรานั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษา มีง้วนดินเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ง้วนดินของพวกเราจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไป สะเก็ดดินก็ปรากฏ สะเก็ดดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส พวกเรานั้นได้พากัน บริโภคสะเก็ดดิน พวกเรานั้นบริโภคสะเก็ดดินนั้น มีสะเก็ดดินนั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน

             เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ สะเก็ดดินของพวกเราจึงหายไป เมื่อสะเก็ด ดินหายไป เครือดินก็ปรากฏ เครือดินนั้น สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วย รส พวกเรานั้นได้พากันบริโภค เครือดิน พวกเรานั้นบริโภคเครือดินนั้น มีเครือดินนั้น เป็น ภักษา มีเครือดินนั้น เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เพราะบาป อกุศลธรรม ปรากฏ เครือดินของพวกเราจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไป ข้าวสาลี อันผลิผล ในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร ก็ปรากฏ ที่ที่พวกเราเก็บเกี่ยว ข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหารเย็น ในตอนเย็น ก็กลับมี ข้าวสาลีงอก สุกขึ้นได้ในตอนเช้า ที่ที่พวกเราเก็บ เกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหารเช้า ในตอนเช้า ก็กลับมีข้าวสาลีงอก สุกขึ้นได้ในตอนเย็น ความพร่องไม่ปรากฏเลย

             พวกเรานั้นเมื่อพากันบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลีเป็นอาหาร ได้ดำรง อยู่นานแสนนาน เพราะบาป อกุศลธรรมปรากฏ ข้าวสาลีของพวกเรา จึงมีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความพร่องได้ปรากฏ ให้เห็นจึงได้มีข้าวสาลี เป็นหย่อมๆ ทางที่ดี เราควรแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดน กันเถิด’ ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลี และปักปันเขตแดนกัน

             [๑๒๙] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งมีนิสัยโลภ รักษาส่วน
ของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค คนทั้งหลายจับเขาได้ จึงกล่าวว่า
‘คุณ คุณทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค
คุณอย่าทำกรรมชั่วอย่างนี้อีก’

             สัตว์นั้นก็รับคำแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ สัตว์นั้น ... แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์นั้นก็รักษา ส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มา บริโภค คนทั้งหลายได้พากันจับ เขา แล้ว กล่าวคำนี้ว่า ‘คุณ คุณทำกรรมชั่ว ที่รักษา ส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่น ที่เขา ไม่ให้มาบริโภค คุณอย่าได้ทำอย่างนี้อีก’ คนเหล่าอื่น ใช้ฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง ทำร้าย วาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ การถือเอา สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้จึงปรากฏ การครหา จึงปรากฏ การพูดเท็จ จึงปรากฏ การถือทัณฑาวุธจึงปรากฏ

9) มหาสมมตราช
(เกิดมหาสมมุต กษัตริย์ และราชา ให้เป็นผู้ควบคุม ความประพฤติของสัตว์)

             [๑๓๐] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงได้ประชุมกันปรับ
ทุกข์กันว่า ‘ท่านผู้เจริญ บาปธรรมปรากฏในหมู่สัตว์แล้ว คือ การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของเขาไม่ได้ให้จักปรากฏ การครหาจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือ
ทัณฑาวุธจักปรากฏ ทางที่ดี พวกเราควรสมมต(แต่งตั้ง)สัตว์ผู้หนึ่ง ซึ่งจะว่า กล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ พวกเราจัก แบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น

             ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านที่มีรูปงดงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใส กว่า น่าเกรงขามกว่า แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ‘มาเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่า กล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ โดยชอบเถิด และพวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่ท่าน’ สัตว์ผู้นั้นรับคำแล้ว ได้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนขับไล่ ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบ และสัตว์เหล่านั้นก็ได้แบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น

             [๑๓๑] วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์นั้นอันมหาชน สมมต (แต่งตั้ง) ฉะนั้น คำแรกว่า ‘มหาสมมต มหาสมมต’ จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้น เป็นใหญ่ แห่งที่นาทั้งหลาย ฉะนั้น คำที่ ๒ ว่า ‘กษัตริย์ กษัตริย์’ จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุ ที่สัตว์นั้นให้ชนเหล่าอื่นยินดีได้โดยชอบธรรม ฉะนั้น คำที่ ๓ ว่า ‘ราชา ราชา’ จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวง กษัตริย์นั้นขึ้นแก่สัตว์ เหล่านั้น เท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่ พวก เดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีว่า ด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า

10)
แวดวงพราหมณ์


             [๑๓๒] วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์บางพวกได้มีความคิด อย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้เจริญ บาปธรรมเกิดขึ้นในหมู่สัตว์แล้ว คือ การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของ เขาไม่ได้ให้จักปรากฏ การครหาจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือ ทัณฑาวุธ จักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ทางที่ดี พวกเราควรลอยบาปอกุศลธรรมทิ้ง เสียเถิด สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยบาป อกุศลธรรมนั้นทิ้งไป

        (พวกที่1) เพราะสัตว์ทั้งหลาย พากันลอยบาปอกุศลธรรมทิ้งไป ฉะนั้น คำแรก ว่า ‘พราหมณ์ พราหมณ์’ จึงเกิดขึ้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงสร้างกระท่อม มุงด้วย ใบไม้ ไว้ใน ราวป่าแล้ว บำเพ็ญฌานอยู่ใน กระท่อม ที่มุงด้วยใบไม้ นั้น พราหมณ์ เหล่านั้นไม่มีการ หุงต้ม ไม่มีการตำข้าว พากัน เที่ยวไปยังหมู่บ้านตำบล และเมือง แสวงหาอาหาร เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น เพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า พวกเขาได้อาหาร แล้วก็บำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อม มุงด้วยใบไม้ในราวป่านั่นเทียวอีก
(พวกที่ 1 เรียกว่าพราหมณ์ บำเพ็ญฌานในกระท่อม ไม่หุงหาอาหาร แต่เดินขอในหมู่บ้าน)

         (พวกที่2) หมู่มนุษย์พบเขาแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้ สร้างกระท่อม มุงด้วยใบไม้ในราวป่าแล้ว บำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อมที่ มุงด้วยใบไม้ นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว พากันเที่ยวไปยังหมู่บ้าน ตำบลและเมือง แสวงหาอาหาร เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น เพื่อเป็นอาหารเช้า ในตอนเช้า พวกเขา ได้อาหารแล้วมาบำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อมที่มุง ด้วยใบไม้ในราว ป่าอีก เพราะพวกเขาบำเพ็ญฌานอยู่ คำที่ ๒ ว่า ‘ฌายกา ฌายกา’ จึงเกิดขึ้น
(พวกที่ 2 เรียกว่า ฌายกา บำเพ็ญฌาน อาศัยกระท่อมในป่า ไม่หุงหาอาหาร แต่เดินขอ อาหารในหมู่บ้าน)

         (พวกที่3) ในจำนวนสัตว์ เหล่านั้น สัตว์บางพวก เมื่อไม่บรรลุฌานนั้นใน กระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกันและนิคม ที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่ มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้บรรลุ ฌานนั้นในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยัง หมู่บ้าน ที่ใกล้เคียงกันและ นิคมที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่ ชนเหล่านี้ ไม่บำเพ็ญฌาน’ เพราะชน เหล่านี้ ไม่บำเพ็ญฌาน ในบัดนี้ คำที่ ๓ ว่า ‘อัชฌายกา อัชฌายกา’ จึงเกิดขึ้น สมัยนั้นคำว่า ‘อัชฌายกา’ นั้นถือกันว่าเป็น คำเลว (พวกที่ 3 เรียกว่า อัชฌายกา เข้าฌานไม่ได้ ไม่บำเพ็ญฌาน อาศัยกระท่อมในป่า เป็นผู้ทำ คัมภีร์)

             แต่ในสมัยนี้ คำว่า ‘อัชฌายกา’ นั้นถือกันว่าประเสริฐ ด้วยเหตุดังกล่าว มานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงพราหมณ์นั้นขึ้นแก่ สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มี แก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้ง ในโลกนี้และโลกหน้า

11)
แวดวงแพศย์
(เกิดวรรณะแพศย์ ใช้ชื่อว่า เวสสา บางพวกเสพเมถุน บางพวกไม่เสพ ยังทำงานตาม ปกติ)

             [๑๓๓] วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น บางพวกยึดมั่น เมถุน ธรรม แล้วแยกประกอบการงานที่แตกต่างออกไป๒- เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ยึดมั่น เมถุนธรรม แล้วแยกประกอบการงานที่แตกต่างออกไป ฉะนั้น คำว่า ‘เวสสา เวสสา’ จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงแพศย์นั้นขึ้นแก่สัตว์ เหล่านั้น เท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ที่มิใช่พวก เดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้อง กับทฤษฎี ว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้ และ โลกหน้า
สมัยนั้นทั่วทั้งจักรวาลเป็นน้ำทั้งนั้น มึดมน แวดวงศูทร
(เกิดวรรณะศูทร เป็นสัตว์ที่โหด ต่ำต้อย)

             [๑๓๔] วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เหลือประพฤติ
ตนโหดร้าย ทำงานต่ำต้อย เพราะสัตว์เหล่านั้นประพฤติตนโหดร้าย ทำงานที่ต่ำต้อย
ฉะนั้น คำว่า ‘ศูทร ศูทร’ จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงศูทรนั้น
ขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น  ไม่มี
แก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่
เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

             [๑๓๕] วาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่
กษัตริย์ ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย ประสงค์ว่า ‘เราจักเป็นสมณะ’

พราหมณ์ ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ว่า ‘เราจักเป็น สมณะ’

แพศย์ ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ ว่า
‘เราจักเป็นสมณะ’

แม้ศูทร ก็ติเตียนธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตด้วยประสงค์ ว่า ‘เราจักเป็นสมณะ’

จึงได้เกิดมีแวดวงสมณะจากแวดวง ทั้งสี่นี้ขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกัน เท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรม เท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม  ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วย ต้นกำเนิดของ โลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐ ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศุทร ก็ยังติเตียนธรรมของตน ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ในธรรมของตน จึงพากันออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมของตถาคต)

------------------------------------------------------------------------------------------------------

12) เรื่องการประพฤติทุจริต เป็นต้น
(แม้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศุทร หรือสมณะ หากเป็นผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก)

             [๑๓๖] วาเสฏฐะและภารทวาชะ
             แม้ กษัตริย์
ผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด เพราะ การชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดเป็นเหตุ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
           แม้พราหมณ์ ...
           แม้แพศย์ ...
           แม้ศูทร ...
           แม้สมณะ ผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชัก ชวน ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด เพราะการชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตาม ความเห็นผิดเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

           แม้กษัตริย์ ผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
           แม้พราหมณ์ ...
           แม้แพศย์ ...
           แม้ศูทร ...
           แม้สมณะ ผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีความเห็นชอบ และชัก ชวน ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรม ตามความ
เห็นชอบ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๑๓๗] วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและ กายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิด และมีความ เห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ ทำกรรม ตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม ความเห็นผิด และการชักชวน ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขา จะเสวย ทั้งสุขและ ทุกข์

           แม้พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริต และกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิด และมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะ การชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม ตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่น ให้ทำกรรม ตามความ เห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์

             แม้แพศย์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์

           แม้ศูทรผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้ง
มโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์

           แม้สมณะผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้ง
มโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์

การเจริญโพธิปักขิยธรรม

             [๑๓๘] วาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
           แม้พราหมณ์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
           แม้แพศย์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม
๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
           แม้ศูทรผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม
๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
           แม้สมณะผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม
๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว

             [๑๓๙] วาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุ
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้น
เรียกได้ว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายในวรรณะ ๔ เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่
โดยอธรรม เพราะธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

             [๑๔๐] วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมดังคาถานี้ที่สนังกุมารพรหมกล่าวไว้ว่า ‘ในหมู่ชน ที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อม ด้วย วิชชา และจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทพและมนุษย์

           วาเสฏฐะและภารทวาชะ สนังกุมารพรหมกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ
กล่าวไว้ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เราเห็นด้วยทีเดียว
แม้เราก็กล่าวอย่างเดียวกันนี้ว่า ‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐ ที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทพ และมนุษย์’ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว วาเสฏฐสามเณร และภารทวาช สามเณร มีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

อัคคัญญสูตรที่ ๔ จบ









พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์