เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อุพภชานุมัณฑลิกา (ปาราชิกของภิกษุณี) ภิกษุณีต้องปาราชิก เพราะเหตุเค้าคลึง กายกับบุรุษ 1173
  (โดยย่อ)

ภิกษุณี ปาราชิก(สึก)

ภิกษุณีสุนทรีนันทา ต้องปาราชิก เพราะเหตุเค้าคลึงกายกับบุรุษ ด้วยความกำหนัด พระศาสดาเพ่งโทษ พร้อมบัญญัติ สิกขาบท
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทา มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึง ด้วย กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จริงหรือ?.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุณี สุนทรีนันทา ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้มีความ กำหนัด ยินดี การเคล้าคลึงด้วยกาย ของบุรุษ บุคคล ผู้กำหนัดเล่า การกระทำ ของนาง นั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้วโดยที่แท้ การกระทำ ของนาง เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่น ของชนบางพวก ที่เลื่อมใสแล้ว

พระบัญญัติ
๕.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษ บุคคลผู้กำหนัด ใต้รากขวัญ (ไหปลาร้า)ลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ ก็เป็น ปาราชิก ชื่อ อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาสมิได้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓


เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา ต้องปาราชิก

(ภิกษุณี เกิดความกำหนัดกับบุรุษผู้ใกล้ชิด)

             [๑] โดยสมัยนั้น พระนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้น นายสาฬหะ หลานของมิคารมาตา มีความประสงค์จะสร้างวิหาร ถวายภิกษุณี สงฆ์ ครั้งนั้นและนายสาฬหะหลานของมิคารมาตา จึงเข้าไปหานางภิกษุณีทั้งหลาย แจ้งความประสงค์ว่า แม่เจ้า กระผมอยากจะสร้างวิหาร ถวาย ภิกษุณีสงฆ์ ขอแม่เจ้า จงโปรดให้ภิกษุณี ผู้อำนวยการก่อสร้างรูปหนึ่งแก่กระผม.

ครั้งนั้นมีสาว ๔ พี่น้อง ชื่อนันทา ๑ ชื่อนันทาวดี ๑ ชื่อสุนทรีนันทา ๑ ชื่อถุลลนันทา ๑ บวชอยู่ใน สำนักภิกษุณี. บรรดาภิกษุณีทั้ง ๔ นั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทา เป็นบรรพชิต สาวทรง โฉมวิไล น่าพิศ พึงชม เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปรีชา ขยัน ไม่เกียจคร้าน กอปรด้วยปัญญา เลือกฟั้น อันเป็นทางดำเนินในการงานนั้นๆ สามารถพอที่จะทำ กิจการงานนั้นๆ ให้ลุล่วงไป

ครั้งนั้นแล จึงภิกษุณีสงฆ์ ได้สมมติ ภิกษุณีสุนทรีนันทา ให้เป็นผู้อำนวยการ ก่อสร้าง แก่นาย สาฬหะ หลานมิคารมาตา และต่อมา ภิกษุณีสุนทรีนันทา ไปสู่เรือน ของนายสาฬหะ หลานมิคารมาตาเสมอ โดยแจ้งว่า จงให้มีด จงให้ขวาน จงให้ผึ่ง จงให้จอบ จงให้สิ่ว แม้นายสาฬหะ หลานมิครมาตา ก็ไปสู่สำนักนางภิกษุณีเสมอ เพื่อทราบกิจการ ที่ทำแล้ว ที่ยัง มิได้ทำ เขาทั้งสองได้มีจิตปฏิพัทธ์กัน เพราะเห็นกัน อยู่เสมอ

ครั้นนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่ได้โอกาสที่จะประทุษร้าย ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้ตกแต่ง ภัตตาหารถวายภิกษุณีสงฆ์ เพื่อมุ่งจะ ประทุษร้าย ภิกษุณีสุนทรีนันทานั้น

ครั้งนั้นแล นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ให้ปูอาสนะในโรงฉัน จัดอาสนะ สำหรับ ภิกษุณีทั้งหลาย ที่แก่กว่าภิกษุณีสุนทรีนันทา ไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ที่อ่อนกว่า ภิกษุณี สุนทรีนันทา ไว้ส่วนหนึ่ง จัดอาสนะสำหรับภิกษุณีสุนทรีนันทา ไว้ในสถานที่อันกำบัง นอกฝาเรือน ให้ภิกษุณีผู้เถระทั้งหลายพึงเข้าใจว่า นางนั่งใน สำนัก พวกภิกษุณีผู้นวกะ แม้ภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ก็พึงเข้าใจว่า นางนั่งอยู่ในสำนัก พวกภิกษุณีผู้เถระ

ครั้นจัดเสร็จแล้ว นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ได้ให้คนไปแจ้งภัตตกาล แก่ภิกษุณี สงฆ์ ว่าได้เวลาอาหารแล้วเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว

ภิกษุณีสุนทรีนันทา ทราบได้ดีว่า นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ไม่ได้ทำอะไรมากมาย ได้ตกแต่งภัตตาหาร ไว้ถวายภิกษุณีสงฆ์ ด้วยเธอมีความประสงค์จะประทุษร้ายเรา ถ้าเราไป ความอื้อฉาวจักมีแก่เรา จึงใช้ภิกษุณีอันตวาสินี ไป ด้วยสั่งว่า เธอจงไปนำ บิณฑบาตมาให้เรา และผู้ใดถามถึงเราเธอจงบอกว่าอาพาธ

ภิกษุณีอันเตวาสินีนั้น รับคำสั่งของภิกษุณีสุนทรีนันทาแล้ว ว่าดีแล้วพระแม่เจ้า

สมัยนั้น นายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ยืนคอยอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก ถามถึงภิกษุณี สุนทรีนันทา ไปข้างไหน ขอรับ แม่เจ้าสุนทรีนันทาไปข้างไหน ขอรับ?

เมื่อเขาถามถึงอย่างนี้แล้ว ภิกษุณีอันเตวาสินี ของนางสุนทรีนันทา ตอบกะเขาดังนี้ว่า อาพาธค่ะ ดิฉันจักนำบิณฑบาตไปถวาย

ครั้งนั้นเขาคิดว่า การที่เราได้ตกแต่งอาหาร ถวายภิกษุณีสงฆ์ ก็เพราะเหตุแม่เจ้าสุนทรี นันทา จึงสั่งคนให้เลี้ยงดูภิกษุณีสงฆ์ แล้วเลี่ยงไปทางสำนักภิกษุณีสงฆ์

ก็สมัยนั้น ภิกษุณีสุนทรีนันทายืนคอยมองนายสาฬหะ หลานมิคารมาตาอยู่ข้างนอกซุ้ม ประตูวัด นางเห็นเขาเดินมาแต่ไกล จึงหลบเข้าสู่สำนัก นอนคลุมศีรษะอยู่บนเตียง

ครั้นเขาเข้าไปหาแล้ว ได้ถามนางว่า แม่เจ้าไม่สบายหรือขอรับ ทำไมจึงจำวัดเสียเล่า?.

นางตอบว่า นาย การที่สตรีรักใคร่กับคนที่เขาไม่รักตอบ ย่อมเป็นเช่นนี้แหละค่ะ

เขากล่าวว่า ทำไมผมจะไม่รักแม่เจ้า ขอรับ แต่ผมหาโอกาสที่จะประทุษร้ายแม่เจ้า ไม่ได้แล้ว มีความกำหนัด ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับนางภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้มีความกำหนัด

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ชราทุพพลภาพ เท้าเจ็บ นอนอยู่ไม่ห่างจากภิกษุณี สุนทรีนันทา นางภิกษุณีนั้น ได้แลเห็นนายสาฬหะ หลานมิคารมาตา ถึงความเคล้าคลึง ด้วยกาย กับภิกษุณี สุนทรีนันทาผู้กำหนัด ครั้นเห็นแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉน แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของบุรุษ บุคคล ผู้กำหนัดเล่า

ครั้งนั้นแล นางภิกษุณีนั้น ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

บรรดาภิกษุณีผู้มีความมักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าสุนทรีนันทา จึงได้มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึง ด้วยกาย ของบุรุษ บุคคลผู้กำหนัด เล่า

ครั้งนั้นแล นางภิกษุณีเหล่านั้นจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี สุนทรีนันทา จึงได้มี ความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึงด้วยกาย ของบุรุษบุคคลผู้มีความกำหนัดเล่า.

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถามลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทา มีความกำหนัด ยินดีการเคล้าคลึง ด้วย กายของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด จริงหรือ?.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุณี สุนทรีนันทา ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุณีสุนทรีนันทา จึงได้มีความ กำหนัด ยินดี การเคล้าคลึงด้วยกายของบุรุษ บุคคล ผู้กำหนัดเล่า การกระทำ ของนาง นั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้วโดยที่แท้ การกระทำ ของนาง เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น อย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ครั้นพระองค์ทรงติเตียน ภิกษุณีสุนทรีนันทา โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่ง ความเป็นคน เลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมากความเป็นคน ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรง กระทำ ธรรมมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระบัญญัติ
๕. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้น ก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ใต้รากขวัญ (ไหปลาร้า) ลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ ก็เป็น ปาราชิก ชื่อ อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาสมิได้

เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ.







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์