เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทางให้ถึงอสังขตะ (๒) ทางที่จะไปให้ถึงอสังขตะ (นิพพาน)คือ สมถะและวิปัสสนา ..
   สมาธิ 8 ระดับ 3....โพธิปักขิยธรรม 37 และกายคตาสติ
1114
 
 


ทางที่จะให้ถึงอสังขตคือ
1.เจริญสมถะและวิปัสสนา
2.เจริญสมาธิ รูปสัญญา และอรูปสัญญา
3.เจริญสติปัฏฐาน๔
4.เจริญสัมมัปปธาน๔
5.เจริญอิทธิบาท๔
6.เจริญอินทรีย์๕
7.เจริญพละ๕
8.เจริญโพชฌงค์๗
9.เจริญมรรคมีองค์แปด
10.ทางดำเนินให้ถึงนิพพานคือ กายคตาสติ

(สรุป ทางที่จะไปให้ถึงอสังขตะ (นิพพาน)คือ 1.สมถะและวิปัสสนา .. 2.สมาธิ 8 ระดับ 3.โพธิปักขิยธรรม 37 4.กายคตาสติ)

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๖๕ - ๓๗๓


ทางให้ถึงอสังขตะ (๒)
อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๒


       [๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อสังขตะ และ ทางที่จะให้ถึง อสังขตะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตะ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ทางที่จะให้ถึงอสังขตคือ เจริญสมถะและวิปัสสนา)

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมถะ นี้เรียกว่าทาง ที่จะ ให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึง แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัย ความอนุเคราะห์ ทำแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้ เดือดร้อน ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

       [๖๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง อสังขตะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เป็นไฉน คือ วิปัสนา นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลายอสังขตะ และทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ทางที่จะให้ถึงอสังขตคือ เจริญสมาธิ รูปสัญญา๔ และ อรูปสัญญา๔)

       [๖๘๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิ มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๘๘] ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขต ... ฯ

       [๖๘๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

      [๖๙๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ทางที่จะให้ถึงอสังขตคือ เจริญสติปัฏฐาน๔)

       [๖๙๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกาย ในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะ ให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและ โทมนัสใน โลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้  เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญสัมมัปปธาน๔)

       [๖๙๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อละธรรม อันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ

       [๖๙๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อยังธรรม อันเป็นกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น พยายามปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือนความ เพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์แห่งธรรม อันเป็นกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญอิทธิบาท๔)

       [๗๐๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตตสมาธิ และ ปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิมังสา สมาธิ และปธานสังขาร นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญอินทรีย์๕)

       [๗๐๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๐๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญพละ๕)

       [๗๑๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทาง ที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญโพชฌงค์๗)

       [๗๑๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญธรรมวิจย สัมโพชฌงค์ ...วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง อสังขตะ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คือ เจริญมรรคมีองค์แปด)

       [๗๑๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ...สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ... สัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ... ฯ

       [๗๑๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ ความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(ทางดำเนินให้ถึงนิพพานคือ กายคตาสติ)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำ แก่สาวก ทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้ว แก่เธอ ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง หลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

       [๗๒๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้ถึงที่สุด แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุดเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้ และทางที่จะ ให้ถึง ธรรม อันหา อาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแล และทางที่จะให้ถึง ธรรมที่จริงแท้ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้ เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และทางที่จะให้ถึง ธรรม อันเป็นฝั่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอัน เป็นฝั่ง เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และทางที่จะให้ถึง ธรรม อันละเอียด แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรม อันละเอียด เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก และทาง ที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยาก แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยาก เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า และทางที่จะให้ ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่า แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และทางที่จะให้ถึง ธรรมอันยั่งยืน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมอันยั่งยืน เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม และทางที่จะ ให้ถึงธรรม อันไม่ทรุดโทรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรม เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๒๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วย จักษุวิญญาณ (แปลคลาดเคลื่อน ต้องไม่มีคำว่าวิญญาณ) และทางที่จะให้ถึงธรรม อันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วย จักษุวิญญาณ เป็นไฉน ฯลฯ (วิญญาณ-จิต ไม่อาจรู้แจ้งได้ ไม่อาจรู้นิพพานได้ วิญญาณรู้ได้แค่ฐานที่ตั้งของวิญญาณ4 คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร เท่านั้น จักษุวิญญาณไม่อาจรู้แจ้งได้ -แปลคลาดเคลื่อน)

       [๗๓๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึง ธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม อันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า  เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และทางที่จะให้ถึงธรรม อันสงบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันสงบเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และทางที่จะให้ ถึงธรรม อันไม่ตายแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรม อัน ไม่ตาย เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และทางที่จะให้ถึง ธรรม อันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็น เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และทางที่จะให้ถึง ธรรม อันปลอดภัย แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอัน ปลอดภัย เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา และทางที่จะให้ ถึง ธรรม เป็นที่สิ้นตัณหา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และทางที่จะให้ถึง ธรรม อันอัศจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์ เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น และทาง ที่จะให้ถึงธรรม อันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และทางที่จะให้ถึง ความไม่มีทุกข์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้ และ ทาง ที่จะให้ถึงธรรม อันหาทุกข์มิได้ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้ เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะให้ถึงนิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิพพานเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้ และ ทางที่จะให้ถึงธรรม อันหาความเบียดเบียนมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๓] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจากความกำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรม อันปราศจากความกำหนัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมอันปราศจากความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๔] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และทางที่จะให้ถึง ความ บริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความบริสุทธิ์ เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๕] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่จะให้ถึงความ พ้น แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพ้นเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๖] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัยมิได้  และทาง ที่จะให้ถึงธรรม อันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๗] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้ถึงที่พึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่งเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๘] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะให้ถึงที่เร้นแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่เร้นเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๔๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทางที่จะให้ถึงที่ ต้านทาน แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ต้านทาน เป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๕๐] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สรณะเป็นไฉน ฯลฯ

       [๗๕๑] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทาง ที่จะให้ถึงธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า เป็นไฉน

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน ทางที่จะ ให้ถึง ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึง ธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทาง ที่จะให้ถึง ธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย ดังนี้แล

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั่นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน ในภายหลังเลยนี้เป็นอนุศาสนี ของเรา เพื่อเธอทั้งหลาย (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอย่างอสังขตะ)

จบวรรคที่ ๒




 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์