เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
   เถรสูตร : ธรรม 5 ประการ ของเถระที่มีมิจฉาทิฐิ และเถระที่มีสัมมาทิฐิ 1080
 
 

ภิกษุผู้มีธรรม ๕ ประการนี้ คือภิกษุผู้ทำความวิบัติแก่มหาชน
(๑) ภิกษุผู้เถระ เป็นรัตตัญญู(อายุมาก-แก่พรรษา)บวชนาน
(๒) มียศ มีชื่อเสียง มีบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต
(๓) เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
(๔) เป็นผู้มีพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ทรงจำไว้ คล่องปากขึ้นใจ
(๕) มีมิจฉาทิฐิ มีทิฏฐานุคติ ยังชนหมู่มากให้ห่างจากสัทธรรม


ภิกษุผู้มีธรรม ๕ ประการนี้ คือผู้ที่สร้างความเจริญ และความสุขแก่มหาชน

(๑) ภิกษุผู้เถระ เป็นรัตตัญญู(อายุมาก-แก่พรรษา)บวชนาน
(๒) มียศ มีชื่อเสียง มีบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต
(๓) เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
(๔) เป็นผู้มีพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ทรงจำไว้ คล่องปากขึ้นใจ
(๕) มีสัมมาทิฐิ ไม่มีมีทิฏฐานุคติ ยังชนหมู่มากให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๙๙

๘. เถรสูตร

(ภิกษุผู้ปฎิบัติเพื่อความฉิบหายแก่มหาชน)

          [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมากเพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ (ทางแห่งความเสื่อม)
(๑) ภิกษุผู้เถระเป็นรัตตัญญู(อายุมาก-แก่พรรษา)บวชนาน

(๒) เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต

(๓) เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

(๔) เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะเป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมนั้นหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

(๕) เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเป็นวิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มากให้ห่างเหินจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือ ทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุผู้เถระ รัตตัญญู บวชนาน ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็น บริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ ดังนี้บ้าง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นผู้ปฏิบัติ
  เพื่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
  เพื่อมิใช่สุข
  เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก
  เพื่อมิใช่เกื้อกูล
  เพื่อทุกข์ แก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย ฯ


------------------------------------------------------------

(ภิกษุผู้ปฎิบัติเพื่อความสุขความเจริญ แก่มหาชน)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูลเพื่อสุข แก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ (ธรรมแห่งความเจริญ)

(๑) ภิกษุผู้เถระย่อมเป็นพระเถระ รัตตัญญู บวชนาน

(๒)เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต

(๓) เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

(๔) เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะเป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

(๕) เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มากให้ห่างเหิน จาก อสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของเธอว่า เธอเป็น ภิกษุผู้เถระ รัตตัญญู บวชนานดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่ มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุ ผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ ดังนี้บ้าง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ
  เพื่อประโยชน์
  เพื่อความสุข
  เพื่อความเจริญแก่ชนมาก
  เพื่อเกื้อกูล
  เพื่อสุขแก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย ฯ



 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์