เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน (กาย เวทนา จิต ธรรม) 195  
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๑๖ - ๒๓๓

สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน


         ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นกุรุ มีนิคมหนึ่งของแคว้นกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธรรม ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่า นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นที่ไป อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่ง ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
         
(1) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
         (2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญา มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ๑
         (3) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ ๑
         (4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (1)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียก
*ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
นายช่างกลึง หรือ ลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด.ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
*(สำเหนียก = ย่อมฝึกหัดศึกษา)
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกาย สังขาร หายใจเข้า
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความ เกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึก เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (2)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา
เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
หรือเสวยสุขเวทนา
มีอามิส* ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวยสุขเวทนา
ไม่มีอามิส* ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส
หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือ เสวยอทุกขสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
* (เวทนามีอามิส หมายถึงมีเครื่องล่อ เช่นกามคุณ หรือกิเลส)
(
เวทนาไม่มีอามิส คือปิติ อันเกิดจากสมาธิ หรือเกิดจากภายใน)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (3)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่า จิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ
หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่
หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต
จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่ หลุดพ้น
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง ย่อมอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว แล้วไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (4)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรม วินัยนี้ พิจารณา เห็นธรรมในธรรม
คือ นิวรณ์ ๕

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า?


ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะ ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าพยาบาท ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะ เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ ชัดว่า ถีนมิทธะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้น ด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่าง หนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละ เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วย ประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และ ทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์