เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ศาสดาที่ควรแก่การท้วง ๓ จำพวก และศาสดาที่ไม่ควรท้วง 194  
 
 

(ย่อ)

ศาสดาที่ควรแก่การท้วง และ ศาสดาที่ไม่ควรท้วง

ศาสดาที่ควรแก่การท้วง ๓ จำพวก

1. สมณะบางคนไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น สาวกของท่านนั้นย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ย โสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และย่อมหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอน ของศาสดา เหมือนบุรุษที่รุก เข้าไปหา สตรีที่กำลังถอยหนี หรือดุจบุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้

2. สมณะบางคนไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น สาวกของท่านนั้น ย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสต สดับ ตั้งจิตเพื่อ รู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจาก คำสอนของ ศาสดา เหมือนบุคคลละเลยนา ของตนแล้ว สำคัญเห็นนาของผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง

3. สมณะบางคนไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่สาวกของท่านนั้นไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้ง จิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติ จากคำสอนของ ศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่อง จองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศาสดาที่ไม่ควรท้วง
ดูกรโลหิจจะ

-พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
-ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
-เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
-เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
-ทรงทำโลกนี้ เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
-ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ให้รู้ตาม
-ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
-ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๕



ศาสดาที่ควรแก่การท้วง และศาสดาที่ไม่ควรท้วง

ศาสดาที่ควรแก่การท้วง ๓ จำพวก

           [๓๖๐] ดูกรโลหิจจะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้ ควรท้วงในโลก และทั้งการท้วง ของผู้ที่ ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ
ศาสดา ๓ จำพวกนั้น เป็นไฉน?

     ดูกรโลหิจจะ (1) ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์ ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุ ประโยชน์ ที่เป็นของสมณะนั้น. แต่แสดงธรรมสอนสาวก ว่านี้เพื่อประโยชน์ของท่าน ทั้งหลาย นี้เพื่อสุขของท่านทั้งหลาย. สาวกของเขาย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา.

           เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุ ประโยชน์ ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านนั้นย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึงและย่อมหลีกเลี่ยง ประพฤติจากคำสอน ของศาสดา
เหมือนบุรุษ ที่รุกเข้าไปหาสตรีที่กำลัง ถอยหลังหนี หรือดุจบุรุษ พึงกอดสตรี ที่หันหลังให้ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความ โลภ ว่าเป็นธรรม อันลามก เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้

           ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ ๑ ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วงของ ผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนี้ ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ

          [๓๖๑] ดูกรโลหิจจะ (2) อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น
เขาไม่ได้บรรลุแล้ว เขาไม่ได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของเขาย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยง ประพฤติจากคำสอนของศาสดา

           เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตเพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว ท่านไม่ได้บรรลุ ประโยชน์ ของสมณะนั้น แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน ทั้งหลาย นี้เพื่อ ความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านนั้น ย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อ รู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤติจาก คำสอนของ ศาสดา
เหมือนบุคคล ละเลยนา ของตนแล้ว สำคัญเห็นนาของผู้อื่นว่าเป็น ที่อันตนควรบำรุง ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่า เป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นจักทำ อะไรให้แก่ ผู้อื่นได้

           ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ ๒ ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วง ของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.

           [๓๖๒] ดูกรโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง(3) ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น
เขาได้บรรลุแล้ว เขาได้บรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของเขาไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยง ประพฤติจาก คำสอนของศาสดา

           เขาจะพึงถูกท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต เพื่อ ประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น ท่านได้บรรลุแล้ว ท่านเองได้บรรลุ ประโยชน์ของ สมณะนั้นแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน ทั้งหลาย นี้เพื่อ ความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกของท่านนั้นไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้ง จิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติ จากคำสอนของ ศาสดา
เหมือนบุคคลตัด เครื่องจองจำ เก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำ ขึ้นใหม่ ฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่า เป็นธรรม อันลามก เพราะผู้อื่น จักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้

          
ดูกรโลหิจจะ นี้แลศาสดาที่ ๓ ซึ่งควรท้วงในโลก และทั้งการท้วง ของผู้ที่ท้วงศาสดาเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ

           ดูกรโลหิจจะ ศาสดา ๓ จำพวกเหล่านี้แล ควรท้วงได้ในโลก และทั้งการ ท้วงของ ผู้ที่ท้วงศาสดาทั้งหลายเห็นปานนั้น ก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ



ศาสดาที่ไม่ควรท้วง

           [๓๖๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้วโลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ก็ศาสดาบางคนซึ่งไม่ควรท้วงในโลกมีบ้างหรือ.

           พ. ดูกรโลหิจจะ ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลกมีอยู่.
           ล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลก เป็นไฉน.

           ดูกรโลหิจจะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษผู้ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

           พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้ง ชัดด้วย ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณ พราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ให้รู้ตาม

           ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด เฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น

           ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนัก ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคล ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น บรรพชิต

           สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม และ หนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังใน พระปาติโมกข์ อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษา อยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพ บริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์