 |
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓
สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙
มาคัณฑิยะบุรุษตาบอด
ดูก่อนมาคัณฑิยะ!
เปรียบเหมือนบุรุษตามืดบอดมาแต่กาเนิด
เขาจะมองเห็นรูปทั้งหลายที่มีสีดาหรือขาว เขียวหรือเหลือง แดงหรือขาบ ก็หาไม่ จะได้เห็นที่อันขรุขระ ก็หาไม่ จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์ ก็หาไม่ เขาได้ฟังคาบอกเล่าจากบุรุษผู้มีตาดีว่า
“ดูก่อนท่านผู้เจริญ!
ผ้าขาวเนื้อดีนั้นเป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด มีอยู่ (ในโลก) ดังนี้. บุรุษตาบอดนั้นจะพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวอยู่ ยังมีบุรุษผู้หนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลว เปื้อนเขม่าว่า
“ดูก่อนท่านผู้เจริญ!
นี่เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงามปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด สำหรับท่าน” ดังนี้ บุรุษตาบอดจะพึงรับผ้านั้น ครั้นรับแล้วก็จะห่ม
ในกาลต่อมา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา
เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชานาญมารักษา
แพทย์นั้นพึงประกอบซึ่งเภสัชอันถ่ายโทษในเบี้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำ ยาหยอด ยากัดและยานัตถุ์ เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลายเป็นผู้มีจักษุดี พร้อมกับการมีจักษุ ดีขึ้นนั้น เขาย่อมละความพอใจในผ้าเนื้อเลว เปื้อนเขม่าเสียได้, เขาจะพึงเป็นอมิตร เป็นข้าศึกผู้หมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้น หรือถึงกับเข้าใจเลยไปว่า ควรจะปลงชีวิต เสียด้วยความแค้น โดยกล่าวว่า
“ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย!
เราถูกบุรุษผู้นี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า มานานหนัก หนาแล้ว โดยหลอกเราว่า “ดูก่อนท่านผู้เจริญ! นี้แลเป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของ งดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาดสาหรับท่าน ดังนี้” อุปมานี้ฉันใด
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น
เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า “อย่างนี้เป็นความไม่มีโรค อย่างนี้เป็นนิพพาน” ดังนี้ ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลิน และความกาหนัด ในอุปาทานขันธ์ทั้ง๕ เสียได้พร้อมกับการเกิดขึ้น แห่งธรรมจักษุ ของท่านนั้น อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดแก่ท่านว่า
“ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย!
นานจริงหนอที่เราถูกจิตนี้ คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก จึงเมื่อเรามายึดถือ ก็ยึดถือเอาแล้ว ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณ นั่นเทียว
เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้” ดังนี้.
|