เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สังขตธรรม และ อสังขตธรรม 182  
 

ชุด 5 เล่ม จากพระโอษฐ์

สังขต (ระบบที่ปรุงแต่งได้/ระบบสังสารวัฏ)
อสังขต
(ระบบที่ปรุงแต่งไม่ได้)

ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม 3 อย่าง เหล่านี้ มีอยู่

สามอย่างอย่างไรเล่า สามอย่างคือ:
1.
อุปฺปาโท ปญฺญายติ มีการเกิดปรากฏ
2.
วโย ปญฺญายติ มีการเสื่อมปรากฏ
3.
ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้ว)
ภิกษุทั้งหลาย
สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.

ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม 3 อย่างเหล่านี้ มีอยู่

สามอย่างอย่างไรเล่า สามอย่างคือ
1. น อุปฺปาโท ปญฺญายติ ไม่ปรากฏมีการเกิด
2. น วโย ปญฺญายติ ไม่ปรากฏมีการเสื่อม
3. น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย สามอย่างเหล่านี้แล คือ อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ 1 หน้า 449)



ธรรมสองระบบ

ธรรมชาติใหญ่ๆมีอยู่สองระบบ คือ
สังขตธรรม และ อสังขตธรรม

สังขตธรรม คืออะไร คือพรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก นรกกำเนิดเปรต เดรัจฉาน ระบบนี้มีการ เกิดแก่เจ็บตาย วนกันอยู่อย่างนี้

ส่วนอสังขตธรรม ก็คือมรรคผลนิพพาน ระบบนี้ไม่มีการ เกิดแก่เจ็บตาย คุณสมบัติ เป็นอย่างไร

พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้ว่า
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ เป็นของที่คงตัวอยู่ตลอดเวลา

(ถามว่า) จะต้องไปวิ่งแสวงหามันไหม (ตอบว่า) ไม่ต้อง วิธีหาอสังขตธรรม คือวิมุติหรือนิพพาน ต้องทำยังไง คือต้องปล่อยวาง ปล่อยวางของปลอมให้ได้ ตอนนี้เราถือของหนักอยู่ แต่เราไม่รู้สึกว่าหนัก เพราะว่าเราพอใจมัน เรามีหน้าที่วาง ถือไว้หลายๆชิ้น มันก็หนักหลายๆอัน

ถ้าเราเริ่มวางไปทีละอัน มันก็จะเริ่มเบาขึ้น
วางขันธิ์๕ วางรูปขันธิ์ วางเวทนาขันธิ์ วางสัญญาขันธิ์ วางสังขารขันธิ์ วางวิญญาณขันธิ์ ความเบาจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปวิ่งหาเลย

พระพุทธเจ้าบอกว่า
นิพพานไม่ได้ด้วยการแสวงหา ไม่ได้ด้วยการไป การเคลื่อนออกไป ไม่มีทางเจอพระพุทธองค์
ให้น้อมเข้ามาในกาย ที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ประกอบด้วยสัญญาและใจ นี่เองเป็นที่สุดของโลก เพราะฉะนั้น ความเบามีอยู่โดยอัติโนมัติอยู่แล้ว มีอยู่ในความหนักนั่นแหละ

มรรคผลนิพพาน อยู่ติดกับเรา
เรามีหน้าที่แค่วางความพอใจ ในขันธิ์ทั้ง๕ ออกไปให้ได้ เพราะความเบามีอยู่แล้ว ความเบาไม่ต้องไปวิ่งหา

ธรรมะของพระพุทธองค์ ท่านบอกสอนให้เห็นโทษของขันธิ์๕ เห็นโทษของมัน เห็นความเสื่อมของมัน เห็นความดับของมัน นี่คือโทษของมัน เห็นเหตุเกิด เห็นเหตุดับ นี่คือเห็น สมุทัย และนิโรธ

ให้รู้ว่าธรรมชาตินี้ที่เรายึดถือพอใจอยู่นี้ มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และมีความดับไป เป็นธรรมดา มันไม่ใช่ตัวตนจริง จะว่ามันมีจริงก็ไม่ใช่ จะว่ามันไม่มีก็ไม่ใช่ ทุกอย่าง เป็นอนัตตา เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วหายไป มีชั่วคราว จะว่ามีจริงก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ นี่คือคำสอนที่ไม่เหมือน ลัทธิใดในโลกเลย

และถ้าเราเห็นอย่างนี้ เห็นตรงนี้เห็นซ้ำๆเห็นบ่อยๆไปเรื่อยๆ มันจะเกิดปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่เรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ปัญญาตรงนี้จะเกิดจากการ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเกิดความเห็นมาว่า
สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

เพราะผู้สังเกตุ กับ ผู้ถูกสังเกตุ นั้นเป็นคนละตัวกัน เรากำลังสังเกตุสิ่งที่ตั้งอยู่ และ ดับไป แสดงให้เห็นว่าเรากับมันไม่ใช่ตัวเดียวกัน

ดูดีๆนะตรงนี้ พระพุทธเจ้าแยบคายมาก เราจะค่อยๆถอน เข้ามาสู่จิต ที่ไม่เกิด ไม่ดับ จิตที่บริสุทธิ์ ไม่เกิดไม่ดับ ไม่เกิดไม่ตาย เพราะเรากำลังเฝ้าดูของเกิดของตาย ของเกิดของตาย แต่คนดูไม่ได้เกิดไม่ได้ตายไปตามกับสิ่งที่เรากำลังดูอยู่ด้วย

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์