|
อริยสัจ4
(1)
ทุกข์ ขันธ์5 ทุกข์ที่เกิดจากการทำงานของขันธ์5
1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
2. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
3. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับ และรู้สึกนั้นๆ
4. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
5. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น...
- นั่นไม่ไช่ของเรา (เนตังมะมะ)
- นั่นไม่ไช่เป็นเรา (เนโสหะมัสมิ)
- นั่นไม่ไช่ตัวตนของเรา(นะเมโสอัตตา)
(2)
สมุทัย ปฏิจจสมุปบาท(สายเกิด)
อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
- เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
- เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
- เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
- เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
- เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
- เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
- เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
- เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
- เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ภะวะปัจจะยา ชาติ
- เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
- เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส
อุปายสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะสะมุทะโย โหติ
- ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
(3)
นิโรธ ปฏิจจสมุปบาท(สายดับ)
อะวิชชายะเต๎ววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
- เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
- เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
- ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
(4)
มรรค มรรคมีองค์แปด
มรรค คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา
ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค)
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความรู้-ปัญญา หรือมุมมอง ที่ถูกต้อง ตรงกับความจริง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดที่ถูกต้อง หมายถึง ความคิดที่ต้องละเว้นจาก ความพอใจ ความพยาบาทและการเบียดเบียน
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาที่ถูกต้อง หมายถึง การพูดที่ต้องละเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียดและเพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ คือ การปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง การกระทำที่ต้องละเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์และประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีวะ คือ การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง หมายถึง การทำมาหากินอย่างซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มีการทุจริตและเอาเปรียบผู้อื่น
6. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรที่ถูกต้อง หมายถึง ความอุตสาหะหรือความพยายาม ที่อยู่ในวิถีทางที่ดีงาม คือการละบาปอกุศลทางใจ และเจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป
7. สัมมาสติ คือ การมีสติที่ถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยกำจัด ความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัย และลังเล
คือการพิจารณา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เช่นการเจริญอานาปานสติสมาธิ มีสติ รู้ลมหายใจ
8. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิที่ถูกต้อง หมายถึง การฝึกกายและอารมณ์ให้สงบ โดยกำจัดควาคิด,ความจำและอารมณ์ออกไปชั่วขณะหนึ่ง คือการเจริญฌานทั้งสี่ |