เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  การรู้ลมหายใจ - สติปัฎฐาน 4 - โพชฌงค์ 7 - วิชาวิมุติ 167  
 

การรู้ลมหายใจ

จะเป็นเหตุให้ สติปัฎฐาน 4 บริบูรณ์
จะเป็นเหตุให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
จะเป็นเหตุให้ วิชาวิมุติ บริบูรณ์

สติปัฎฐาน 4

1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมร วมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

2 เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลัง สุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

3 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็น นามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

4 ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐานทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

โพชฌงค์ 7

โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

1 สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2 ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3 วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
4 ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
5 ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6 สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7 อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

โพชฌงค์คู่ปรับกับอนุสัย

1 สติ เป็นคู่ปรับกับ อวิชชา (ความไม่รู้ในอริยสัจจสี่)
2 ธัมมวิจยะ เป็นคู่ปรับกับ ทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ และ สีลัพพัตปรามาส)
3 วิริยะ เป็นคู่ปรับกับ วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัยในพระธรรม)
4 ปีติ เป็นคู่ปรับกับ ปฏิฆะ (ความคับแค้น ความขัดใจ หงุดหงิด)
5 ปัสสัทธิ เป็นคู่ปรับกับ กามราคะ (ความกำหนัดในกาม)
6 สมาธิ เป็นคู่ปรับกับ ภวราคะ (รูปราคะ อรูปราคะ ภพที่สงบ) กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ (ภพที่ไม่สงบ))
7 อุเบกขา เป็นคู่ปรับกับ มานะ

ธัมมวิจยะและวิริยะ ทำลายทิฏฐิ และวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบัน และ หรือพระสกทาคามี
ปีติและปัสสัทธิ ทำลายปฏิฆะ และกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
สมาธิ อุเบกขา และ สติ ทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์

วิชาวิมุติ

วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วย สมาธิ และ ปัญญา ได้แก่


1 เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ

2 ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการ เจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์