ชุด 5 เล่ม จากพระโอษฐ์
อานาปานสติสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐานทั้งสี่อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ทั้งเจ็ดอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม
ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม
ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว
ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่นั้นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก
1) ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้
เมื่อเรา หายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้
2) ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้
เมื่อเรา หายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้
3) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้
4) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับอย่ จักหายใจออก ดังนี้
5) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติจักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้
6) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขจักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้
7) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร ักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้
8) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
9) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้
10) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
11) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
12) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
13) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็น ประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความ ไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
14) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็น ประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความ จางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
15) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็น ประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับ ไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
16) ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่ เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล |