เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อนุสัยไม่อาจจะเกิด เมื่อรู้เท่าทันเวทนา ในปฏิจจสมุปบาท 164  
 

ชุด 5 เล่ม จากพระโอษฐ์


อนุสัยไม่อาจจะเกิด เมื่อรู้เท่าทันเวทนา ในปฏิจจสมุปบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๑)
เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม สามประการ (ตา+รูป + จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง

บุคคลนั้น


เมื่อสุขเวทนา
ถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

เมื่อทุกขเวทนา
ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือ ปฏิฆะ (ความคับแค้น) ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับไม่เหลือ แห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่อง ออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย
อนุสัยคือ
อวิชชา ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นหนอ
ละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว
บรรเทาปฏิฆานุสัย
อันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว
ถอนอวิชชานุสัย
อันเกิดจาก อทุกขสุขเวทนาเสียได้แล้ว
เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๒) พราะอาศัย หู ด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสต วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู + เสียง + โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๓)พราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆาน วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก + กลิ่น +ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...ฯลฯ...จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๔) เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหา วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน)นี้ได้ นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๕) เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกาย วิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น; ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! (๖) เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโน วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาอันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่ สุขบ้าง

บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้)แก่บุคคลนั้น

เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบาย เครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นหนอ
ละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว
บรรเทาปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว
ถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนาเสียได้แล้ว

เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำวิชชา ให้เกิดขึ้น ได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้ ดังนี้

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์