เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหาสีหนาทสูตร เรื่อง อเจลก กัสสป คำสอนของตถาคตไม่ขัดแย้ง กับลัทธิอื่น 147  
 
 

คำสอนของตถาคต ไม่ติ ไม่ขัดแย้ง กับลัทธิอื่น

เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ
มีอาชีพเศร้าหมอง หลังกายแตกทำลาย
บางคน เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บางคน เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์
(เป็นเรื่องไม่แน่นอน)
...............................................................................................................

เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ บางคน อยู่เป็นทุกข์ เพราะบุญน้อย หลังกายแตกทำลาย
บางคน เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

บางคน เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์

เรารู้การมา การไป จุติและอุบัติ ของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เหตุไร เราจักติ ตบะ ทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติ ตบะ ทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวเล่า?
...............................................................................................................

ทรงแสดงหนทางที่ผู้ปฎิบัติตามแล้ว จะเห็นได้เองว่าถูกต้อง
ดูกรกัสสป มรรคามีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดม กล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย

ดูกรกัสสป มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดม กล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย มรรคาประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

ดูกรกัสสป มรรคานี้แล ปฏิปทานี้แล ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดม กล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค หน้าที่ ๒๒๒

มหาสีหนาทสูตร เรื่องอเจลกกัสสป

            [๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน เขตอุชุญญานคร ครั้งนั้น อเจลก ชื่อว่า กัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับ พระผู้มี พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า

      ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดม ทรงติ ตบะ ทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ ทั้งปวง ผู้มีอาชีพ เศร้าหมอง
โดยส่วนเดียว

      ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ทรงติ ตบะ ทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ ทั้งปวง ผู้มีอาชีพ เศร้าหมองโดยส่วนเดียว เป็นผู้กล่าวตามคำที่พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้ ไม่เชื่อว่ากล่าว ตู่ พระโคดมผู้เจริญด้วยคำไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความประสงค์ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ.

      พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป สมณพราหมณ์ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติ ตบะ ทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ ทั้งปวง ผู้มี อาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่า กล่าวตู่เรา ด้วยคำ ที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง

...............................................................................................................

      เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ
มีอาชีพเศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุ อัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี

      เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ
มีอาชีพเศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุ มนุษย์ก็มี
(เป็นเรื่องไม่แน่นอน)
...............................................................................................................

      เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ บางคนในโลกนี้
อยู่เป็นทุกข์ เพราะบุญน้อย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี

      เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติ ตบะ บางคนในโลกนี้
อยู่เป็นทุกข์ เพราะบุญน้อย เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี
(เป็นเรื่องไม่แน่นอน)
...............................................................................................................

      เรารู้การมา การไป จุติและอุบัติ ของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความ เป็นจริงอย่างนี้ เหตุไร เราจักติ ตบะ ทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษ บุคคลผู้ประพฤติ ตบะ ทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียวเล่า?

            [๒๖๑] ดูกรกัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ทำการโต้ เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนู เขาน่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิ ทั้งหลาย ด้วยปัญญา สมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมลงกับเราในฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเรา ในฐานะบางอย่าง
บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี แม้เราก็กล่าวว่าดี
บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี
บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี เรากล่าวว่าไม่ดี
บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าดี
บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าไม่ดี บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่าดี
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

      ดูกรท่านผู้มีอายุ
ฐานะที่เราไม่ลงกันจงงดไว้
(คำสอนที่ตรงกัน ว่าดี หรือไม่ดี ย่อมเข้ากันได้ แต่ที่ต่างกันให้งดไว้ก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ เกิดการยอมรับกันก่อน ในสิ่งที่ตรงกันเหมือนกัน)

      ในฐานะทั้งหลายที่ลงกัน วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน เปรียบเทียบครู ด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น อกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐนับว่า ไม่เป็น ธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มี เหลือ ประพฤติอยู่พระสมณโคดม หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.



กถาว่าด้วยการละ อกุศล

             [๒๖๒] ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใด
เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็น ธรรมประเสริฐ และเป็น ฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ พระสมณโคดม ละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือว่าท่านคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

            ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้โดยมาก พึงสรรเสริญ พวกเรา พวกเดียวในข้อนั้น.

กถาว่าด้วยการสมาทานกุศล

            [๒๖๓] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่
ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่า เป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็น ธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรม เหล่านี้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ พระสมณโคดม หรือ คณาจารย์ ผู้เจริญเหล่าอื่น

      ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้คือวิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าว อย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มี โทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐนับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่าย ขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

      ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญ พวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

             [๒๖๔] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชน จงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่
ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็น อกุศล นับว่าเป็น อกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควร เสพ ไม่เป็นธรรม ประเสริฐนับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ และฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครละธรรมเหล่านี้ ได้ ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวก ของคณาจารย์ผู้เจริญ เหล่าอื่น

      ดูกรกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรม ประเสริฐ และเป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ หมู่สาวกของพระโคดม ละธรรมเหล่านี้ ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่หรือหมู่สาวกของ คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

      ดูกรกัสสป วิญญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมาก พึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

            [๒๖๕] ดูกรกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชน จงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลายของท่าน พวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพนับว่า ควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่า เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็น ฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

      ดูกรกัสสปก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ และเป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาวหมู่สาวกของพระโคดม สมาทานธรรมเหล่านี้ ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น

      ดูกรกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึง สรรเสริญ พวกเราพวกเดียวในข้อนั้น.

      ดูกรกัสสป มรรคามีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย

      ดูกรกัสสป มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าว วินัยมรรคาประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐนี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบพยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ

      ดูกรกัสสป มรรคานี้แล ปฏิปทานี้แล ที่บุคคลปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเอง ว่าพระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์