เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เพื่อนสอง ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหา(ความอยาก)เป็นเพื่อน 146  
 
(มิคชาลสูต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔)

เพื่อนสอง... (สาราคะ สัญโญคะ)
ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหา(ความอยาก)เป็นเพื่อน

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิมีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง/ราคะ/ความกำหนัด) ย่อมมี
เมื่อสาราคะมีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี
(นันทิ > สาราคะ > สัญโญคะ....ความเพลิน ที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ)

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่ง ความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” (ในกรณีแห่งเสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินดีด้วยหู กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก รสทั้งหลาย อันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน)

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า และป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลม จากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
ตัณหานั่นแลเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุ นั้น ยังละไม่ได้แล้ว

เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง” ดังนี้.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการ
อยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า !”

มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาซึ่งรูป นั้น นั่นแหละ

นันทิ ย่อมดับ
เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะย่อมไม่มี
เมื่อสาราคะไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจ แห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” (ในกรณีแห่งเสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินดีด้วยหู กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก รสทั้งหลาย อันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน)

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของ พระราชา ทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้น เราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้ว

เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” ดังนี้ แล.

       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์