เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ 145  
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ ภาค ๓
ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่ ๖๗๙


ผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์


(ย่อมไม่เห็นขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน)

ภิกษุท.! สาวกของพระอริยเจ้าผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็น บรรดาพระอริยเจ้า
เป็นผู้ฉลาด ในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้ถูกแนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้า.
ได้เห็นหมู่ สัตบุรุษ
เป็นผู้ฉลาดใน ธรรมของสัตบุรุษ
ได้ถูกแนะนำใน ธรรมของสัตบุรุษ


(๑)
ท่านย่อม ไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตัวตน
ทั้งไม่ตามเห็นว่า ตนมีรูปด้วย
ไม่ตามเห็นว่ารูป มีอยู่ในตนด้วย
ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในรูปด้วย

(๒) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตัวตน
ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีเวทนาด้วย
ไม่ตามเห็นว่าเวทนา มีอยู่ในตนด้วย
ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในเวทนาด้วย

(๓) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตัวตน
ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสัญญาด้วย
ไม่ตามเห็นว่าสัญญา มีอยู่ในตนด้วย
ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในสัญญาด้วย

(๔) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตัวตน
ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสังขารด้วย
ไม่ตามเห็นว่าสังขาร มีอยู่ในตนด้วย
ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในสังขารด้วย

(๕) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตัวตน
ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีวิญญาณด้วย
ไม่ตามเห็นว่าวิญญาณ มีอยู่ในตนด้วย
ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในวิญญาณด้วย ;

ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้สดับแล้วเช่นนี้นี่แล เราตถาคตย่อมเรียกผู้นั้นว่า
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือ รูป
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือ เวทนา
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือ สัญญา
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือ สังขาร
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกคือ วิญญาณ
ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกใด ๆ ทั้งภายในภายนอก
เป็นผู้มีปกติ
มองเห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร)
เป็นผู้มีปกติ
มองเห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน)

เราตถาคตจึงกล่าวว่า สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้แล.


       
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์