พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙
สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๐
ฉันทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท กับปธานสังขาร
1- ฉันทสมาธิ
[๑๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัย ฉันทะ แล้ว
-ได้สมาธิ
-ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ (ฉันทสมาธิเป็นไฉน คลิก)
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้ บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (ยับยั้งไม่ให้เกิดอกุศลธรรม)
เพื่อละ บาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (อกุศลเกิด ให้รีบทิ้ง รีบละ)
เพื่อให้ กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (สร้างแต่กุศลธรรม)
เพื่อความตั้งอยู่ (ของฉันทสมาธิ)
เพื่อความไม่เลือนหาย (ของฉันทสมาธิ)
เพื่อเจริญยิ่งๆขึ้นไป (ของฉันทสมาธิ)
เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขารฉันทะ นี้ด้วย
ฉันทสมาธิ นี้ด้วย และ ปธานสังขาร เหล่านี้ ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และ ปธานสังขาร*
(* ปรารภความเพียร)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2- วิริยสมาธิ
[๑๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัย วิริยะ แล้ว
-ได้สมาธิ
-ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่
เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขารวิริยะ นี้ด้วย
วิริยสมาธิ นี้ ด้วย และ ปธานสังขาร เหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วย วิริยสมาธิ และปธานสังขาร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3- จิตตสมาธิ
[๑๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัย จิต แล้ว
-ได้สมาธิ
-ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่
เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขารจิต นี้ด้วย
จิตตสมาธิ นี้ด้วย และ ปธานสังขาร เหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วย จิตตสมาธิ และ ปธานสังขาร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4- วิมังสาสมาธิ
[๑๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัย วิมังสา แล้ว
ได้สมาธิ
ได้เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่
เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขารวิมังสา นี้ด้วย
วิมังสาสมาธิ นี้ด้วย และ ปธานสังขาร เหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วย วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
|
ฉันทสมาธิเป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่นความก้าวไปอย่างไม่ ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร(ปรารภความเพียร)
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึง แล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ ปธานสังขารด้วยประการฉะนี้ |
|