เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  กายคตาสติ 103  
   
 

 

กายคตาสติ
เปรียบเหมือนมหาสมุทร มีแม่น้ำเป็นธรรมทั้งหลาย

เปรียบดั่งแม่น้ำทั้งหลาย มีมหาสุมทรเป็นที่หยั่งลงภายใน
มหาสมุทร เปรียบดั่ง กายคตาสติ
(ความไม่ประมาท)
แม่น้ำทั้งหลาย เป็นอุปมาของธรรมทั้งหลาย เหล่านี้
อันได้แก่

1.อานาปานสติสมาธิ เป็นธรรมอันเอก เป็นวิหารธรรมของพระศาสดาเมื่อปลีกวิเวก เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ด้วยการพิจารณาว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก นั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย ดังนี้ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

2.การรู้อิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน
        เราเดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า “เราเดินอยู่”
        เมื่อยืน ย่อมรู้ชัดว่า "เรายืนอยู่"
        เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัดว่า "เรานั่งอยู่"
        เมื่อนอน ย่อมรู้ชัดว่า "เรานอนอยู่"
        เมื่อเราตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ก็ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

3. การมีสัมปชัญญะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
ในกรณีการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับหลัง การเหลียวดูแลดู การคู้ การเหยียด ... ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง พระองค์ทรงตรัส ถึงการเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

4. การพิจารณากายในเรื่องของความไม่งาม(อสุภะสัญญา)
พิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่ โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก... ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

5. การพิจารณากายโดยความเป็นธาตุมีอยู่ในกายนี้ (ดิน น้ำ ไฟ ลม)
พิจารณากายนี้
        รู้โดยความเป็นธาตุดิน
        รู้โดยความเป็นธาตุน้ำ
        รู้โดยความเป็นธาตุไฟ และ
        รู้โดยความเป็นธาตุลม ว่าไม่สำคัญโดยความเป็นธาตุเหล่านี้ ไม่ยินดีและไม่สำคัญว่า เป็นเรา ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีการกระทำในใจ (มนสิการ) เป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖ มีจิตตั้งมั่นแล้วเนืองๆ พึงรู้ความดับกิเลสของตน

กายคตาสติของเรานี้ จักเป็นสิ่งที่เราอบรม
        กระทำให้มาก
        กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป
        กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้
        เพียงตั้งไว้เนืองๆ
        เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ
        เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี ดังนี้

กายคตาสติ  (การมีความระลึกรู้อยู่ที่กาย)
        พระศาสดาตรัสว่า สติเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวง ผู้ใดไม่เจริญกระทำให้มาก ซึ่ง กายคตาสติ ผู้นั้นเป็นผู้หลงลืมอมตะ (ความไม่ตาย) เป็นผู้ประมาท(ต่อความตาย) ผู้ประมาทคือผู้ที่ไม่สังวรอินทรีย์ ผู้ที่ไม่สำรวมอินทรีย์คือผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ

        พระตถาคตตรัสอุปมาว่า แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลไปสู่ โน้มไปสู่ น้อมไปสู่ โอนไปสู่สมุทร ฉันใด กุศล ธรรมเหล่าใดซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา มีความไม่ประมาท เป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ฉันนั้น
         ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีเบื้องต้นคือศีล และทิฏฐิ ที่ตั้งไว้ตรง เป็นเบื้องต้น ดุจดั่งพระราชาทั้งหลายย่อมเดินตามพระมหาจักพรรดิ์ ผู้เป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น พระพุทธเจ้า ตรัสว่าสิ่งที่เรียกว่า จิตก็ดี มโนก็ดี วิญญาณก็ดี ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวัน ตลอดคืน ปุถุชนผู้มิได้สดับ ในธรรมไม่อาจรู้ธรรมอันเป็นเครื่องเกิดปัญญา ที่เห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ

พระองค์เปรียบอุปมากายของเรานี้อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูติรูป ๔
เพราะเหตุแห่งการบังเกิดขึ้น การเสื่อมลงไป การถูกยึดครอง หรือแม้แต่การตายก็ดี ปุถุชนผู้มิได้สดับ ในธรรมนี้ก็ยังพอจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางลงได้บ้าง ในกาย กายจึงเปรียบเหมือนเสาเขื่อน เสาหลัก ยึดกาย จึงดีกว่ายึดจิต ดังนี้

จึงควรมีสติเข้าไปตั้งไว้ในกาย นี้จึงเป็น กายคตาสติ
อันพระองค์สรรเสริญว่าเป็นหนทางที่ให้ไปถึงธรรมในเบื้องหน้า หนทางให้ไปถึง อสังขตะ ทางคือความ สิ้นไปแห่ง ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ

กายคตาสติ เป็นธรรมที่พระองค์สรรเสริญว่า
เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อปัญญาเจริญไพบูลย์ มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุม ลง ดังนี้แล้ว กายคตาสติจึงเป็นธรรมที่เอื้อต่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์