10 พระสูตรที่สำคัญของพระศาสดา
ที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจว่า ทำไมคำสอนพระศาสดาจึงมีความสำคัญ ยิ่ง
1. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิเมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด
(คำพูดแรก จนถึงคำสุดท้าย ย่อมตั้งจิตในสมาธิ)
อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่อง นั้นๆ ย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิต อันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่น อยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่า เรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้
เทียบกับสำนวนแปล ฉบับมหามกุฏ และฉบับหลวง |
|
ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑๘
บุคคลผู้ไม่หลง
[๓๘๗] อัคคิเวสสนะ เรารู้อยู่ว่า เมื่อเราแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยบริษัท ถึงแม้บุคคลหนึ่งๆ จะเข้าใจเราอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเราเท่านั้น’
ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้น ตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่าอื่นโดยชอบ
เพื่อ ประโยชน์ให้รู้แจ้งอย่างเดียว และในตอนจบเรื่องหนึ่งๆ
เราประคองจิต ให้สงบ ตั้งมั่น เป็นสมาธิ ณ ภายใน ดำรงอยู่ในสมาธินิมิตเบื้องต้น นั้น ตลอดนิตยกาล
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๒
ตรัสการบรรลุวิชชาที่ ๒
[๔๓๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า เป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย. ถึงแม้บุคคลคนหนึ่งๆ สำคัญเราอย่างนี้บ้างว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเรา เท่านั้น.
ท่านอย่าพึงเห็นอย่างนั้น พระตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้แจ้งอย่างเดียว.
เราประคองจิต สงบ ตั้งมั่น ทำให้เป็นสมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้นจนจบ คาถา นั้นทีเดียว เราอยู่ด้วยผลสมาธิเป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล.
|
.................................................................................................................................................
2. แต่ละคำพูดเป็น อกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมที่ บุคคลจะพึงเห็น ได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก) เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ)
.................................................................................................................................................
3. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณจนกระทั่ง ถึงราตรี ที่ตถาคตปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย
.................................................................................................................................................
4. ทรงบอกเหตุแห่ง ความอันตรธานของคำสอน เปรียบด้วยกลองศึก
(เหตุเสื่อม-ในอนาคตภิกษุไม่สนใจคำสอนของตถาคต และจะแต่งคาถาขึ้นใหม่)
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวก ทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลง ในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)
ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม ของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น
.................................................................................................................................................
5. ทรงกำชับให้ ไม่ให้ศึกษา ไม่ให้ฟังคำสอนของคนอื่น และ
ทรงกำชับให้ ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์ กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของ สาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่ว ถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่ง ที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้น โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่อง สุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อม ฟังด้วยดี ย่อมเงี่ย หูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
.......................................................................................................
6. ทรง ห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอน สิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอน สิ่งที่บัญญัติ ไว้แล้ว จักสมา ทานศึกษาในสิกขาบท ที่บัญญัติ ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่ง ที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
.................................................................................................................................................
7. สำนึกเสมอว่า ตนเองเป็นเพียงผู้เดินตาม พระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรค ที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้ได้ทำมรรค ที่ยังไม่มีใคร กล่าวให้เป็นมรรค ที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็น มัคคัญญู(รู้มรรค) เป็น มัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค).
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง
ภิกษุทั้งหลาย! นี้แลเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำ ให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคต ผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะกับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
.................................................................................................................................................
8. ตรัสไว้ว่า ให้ทรงจำบทพยัญชนะ และคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมา ถูกด้วยบท พยัญชนะ ที่ใช้กันถูกความหมายแห่งบทพยัญชนะ ที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้อง เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่วในหลักพระพุทธวจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่บอกสอน เนื้อความแห่งสูตร ทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก(อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ซึ่งทำให้ พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..
.................................................................................................................................................
9. ทรงบอก วิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน (หลักมหาปเทส 4)
๑. (หากมี)ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า“นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
(สงฆ์มีอายุรูปเดียว)
๒. (หากมี)ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์ อยู่พร้อม ด้วยพระเถระ พร้อมด้วย ปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน ของพระศาสดา”...
(เจ้าอาวาส+ภิกษุสงฆ์+พระเถระ)
๓. (หากมี)ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ สดับมาเฉพาะหน้า พระเถระ รูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้ เป็นวินัยนี้เป็นคำสอนของ พระศาสดา”...
(เจ้าอาวาส+พระเถระเป็นจำนวนมาก)
๔. (หากมี)ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรมทรงวินัย ทรง มาติกา ข้าพเจ้าได้สดับ เฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”...
(เจ้าอาวาส+พระเถระ 1 รูป)
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท และพยัญชนะ เหล่านั้น ให้ดีแล้ว พึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า“ นี้มิใช่พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคำนั้นเสีย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัส ของพระผู้มีระภาค พระองค์นั้น แน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำ มหาปเทส.. นี้ไว้
.................................................................................................................................................
10. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้ เป็นศาสดาแทนต่อไป
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรา มีพระศาสดาล่วงลับ ไปเสีย แล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดีวินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอ ทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ ทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดีใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะ ไม่เอา สิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศ ที่สุดแล.
อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่บุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าว ย้ำกะเธอว่า... เธอทั้งหลาย อย่าเป็น บุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย |