เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 
  กรรมดำ-กรรมขาว กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? 101  
 
กรรม ๔ อย่าง กรรม คือการกระทำ หรือการ
ปรุงแต่งสังขาร ทางกาย วาจา ใจ
ผลของกรรม
  1) กรรมดำ มีวิบากดำ กระทำด้วย กาย วาจ ใจ
เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน
เสวยทุกข์ โดยส่วนเดียว
เช่น สัต์นรก
  2) กรรมขาว มีวิบากขาว กระทำด้วย กาย วาจ ใจ
ไม่ เป็นไปเพื่อความเบียดเบียน
เสวยสุข โดยส่วนเดียว
เช่น พวกเทวดาชั้นพรหม
  3) กรรมทั้งดำทั้งขาว
     มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
กระทำด้วย กาย วาจ ใจ
เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนบ้าง
ไม่เบียดเบียนบ้าง
เสวยทั้งสุข และทกข์
เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวก
วินิบาตบางพวก
  4) กรรมไม่ดำไม่ขาว
     มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
ปฏิบัติมรรค 8 ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม
เข้าถึงการหลุดพ้น
เข้าถึงนิพพาน
กรรม เกิดจากผัสสะ (ในอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
 

จตุกฺกฺ. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗

อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นกรรมที่สิ้นกรรม


(แบบย่อ)
กรรมดำมีวิบากดำ... คือ การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปเพื่อความ เบียดเบียน .. ย่อมเสวยทุกข์โดยส่วนเดียว เช่นพวกสัตว์นรก

กรรมขาวมีวิบากขาว ... คือ การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ที่ไม่เป็นไปเพื่อความ เบียดเบียน .. ย่อมเสวยสุขโดยส่วนเดียว เช่นพวกพวกเทพสุภกิณหา

กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว...คือ การกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปเพื่อ ความเบียด เบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง .. ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นสุข และทุกข์เจือกัน ดังเช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก

กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว....คือ คือปฏิบัติมรรค 8 ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม

......................................................................................................................

ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน.

กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่
......................................................................................................................

กรรม แบบที่ ๑
ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร
อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร
อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร
อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน

ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่ง เป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนา ที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์ โดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกสัตว์นรก
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมดำ มีวิบากดำ
......................................................................................................................

กรรม แบบที่ ๒
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน

ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียน ผัสสะทั้งหลาย ที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง เขา ผู้เข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับ ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อัน เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว

......................................................................................................................

กรรม แบบที่ ๓

ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป ด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง

ครั้นเขาปรุงแต่งสังขาร (ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อม เข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้า ถึง โลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน บ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนา ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว
......................................................................................................................

กรรม แบบที่ ๔
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (มรรค8)
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.

- จตุกฺกฺ. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.
(
ในสูตรนี้ ทรงแสดงกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นที่สิ้นกรรมไว้ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด; ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วย โพชฌงค์เจ็ด ก็มี -๒๑/๓๒๒/๒๓๘, แสดงไว้ด้วยเจตนา เป็นเครื่องละกรรมดำ กรรมขาวและกรรมทั้งดำทั้งขาว ก็มี -๒๑/๓๑๘/๒๓๔).

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์