เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
   ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

   พระเจ้ามหานามะ  เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต 145    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระเจ้ามหานามะ  เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้ามหานามศากยราชา เอตทัคคะผู้ถวายทานอันประณีต มีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายอนุรุทธะ เอตทัคคะผู้ได้ตาทิพย์

พระเจ้ามหานามะประสูติในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ โดยชื่อมหานามะนั้น สันนิษฐานว่า เป็นชื่อที่ตั้งขึ้น ตามชื่อของหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ที่อาศัยอยู่ใน กรุงกบิลพัสดุ์ คือท่านมหานามะซึ่งต่อมาได้เป็นท่าน พระมหานามะเถระ สำหรับพระเจ้ามหานามะนั้น อดีตชาติของท่าน ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า พระองค์เกิดเป็นมนุษย์ และ ได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เกี่ยวกับเรื่องอายุขัย ของมนุษย์ และพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจึงเกิดความเลื่อมใส แล้วจึงตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อมาเกิดเป็นพระสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า หลังจากที่ตายจากอัตภาพนั้น แล้วได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพเทวดา และมนุษย์เท่านั้น และในครั้งพุทธกาล ได้มาเกิดเป็นเจ้าศากยะ

ครองกรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระโพธิสัตว์โคตมได้ตรัสรู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธแล้ว จึงเสด็จมาโปรด พระประยูรญาติ เจ้าชายมหานามได้ตั้งใจรอพระผู้มีพระภาค ด้วยจิตที่เลื่อมใส และได้ออกจากพระราชวัง ไปต้อนรับพระผู้มีพระภาคด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง ในเย็นวันนั้นเอง และได้จัดหาที่พักถวายพระบรมศาสด ภายในอารามของ ภรัณฑุดาบส จากนั้นเป็นต้นมาพระพุทธองค์ ก็ได้ทรงแสดงธรรม โปรดเจ้าชายมหานาม อยู่เรื่อยในเขตพระนครกบิลพัสดุ์นั่นเอง

ครั้นเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาได้เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าชายภัททิยะ ผู้จะได้ขึ้น ครองราชสมบัติสืบทอดต่อ แต่เจ้าชายอนุรุทธซึ่งเป็นพระสหาย ได้ชวนพระองค์ ออกผนวชทำให้ราชสมบัติขาดผู้สืบทอด บรรดา พราหมณ์ปุโรหิตทั้งหลาย จึงอัญเชิญเจ้าชายมหานาม เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้ามหานามศากยราชา สืบต่อมา ตลอดเวลาที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามพระเจ้ามหานาม ศากยราชา ได้เสด็จเข้าไปฟังธรรม กับพระบรมศาสดา อย่างสม่ำเสมอ โดยพระองค์ จะเสด็จไปพร้อมกับราชองครักษ์ ครั้นเมื่อถึงนิโครธาราม ได้รับสั่งให้ราชองครักษ์ กลับพระนคร ก่อนส่วนพระองค์เสด็จกลับพระนครเพียงลำพัง

ถวายทานมีรสประณีต
ต่อมาสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยหมู่ พระภิกษุสงฆ์ ตามคำอาราธนาของเวรัญชพราหมณ์ ภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบาก ด้วยการเที่ยวภิกขาจาร เพราะขาดทายก และทายิกาที่จะถวายอาหารบิณฑบาต ตลอดทั้งพรรษา

ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้า ประทับ ณ นิโครธาราม พระเจ้ามหานามศากยราชา ทรงทราบ จึงเสด็จไปเฝ้า กราบถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่อันสมควร กราบว่าพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์ได้รับความลำบากด้วย ภิกขาจารในพรรษาที่ผ่านมา จึงกราบทูลขอ พระวโรกาส ถวายภัตตาหาร อันมีรสประณีตแด่พระพุทธองค์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นระยะเวลา 4 เดือน

ครั้นทราบว่า พระพุทธองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพแล้ว ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็ได้บำรุง ภิกษุ สงฆ์ โดยมีพระพุทธองค์เป็นประมุข ด้วยโภชนาหารอันประณีต และ ของมีรสอร่อย 4 ชนิด ทุก ๆ วัน ครั้นครบกำหนด 4 เดือนแล้ว ได้กราบทูลขอรับ ปฏิญญาต่อไปอีก 4 เดือน รวมเป็น 8 เดือน และก็ขอรับปฏิญญาต่ออีก 4 เดือน รวมทั้งสิ้นเป็น 1 ปี

เมื่อครบกำหนดวาระ 1 ปีแล้ว พระพุทธองค์ไม่ทรงรับอาราธนาเกินไปกว่านั้น ส่วน พระเจ้ามหานามศากยราชา ก็ทรงปลื้มปีติยินดี กับสักการทาน ที่พระองค์ บำเพ็ญถวาย ตลอดระยะเวลา 1 ปีนั้น เกียรติคุณของพระเจ้ามหานาม ก็ฟุ้งขจรไปทั่วทั้งชมพูทวีป

ต่อมา พระพุทธองค์ประทับ ณ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ สถาปนา พระเจ้ามหานามศากยราชา ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า อุบาสก ทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ถวายทานอันประณีต

บั้นปลายชีวิต
พระเจ้ามหานามศากยราชาเป็นกษัตริย์ ที่มีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก พระองค์ดำรงขันธ์อยู่พอสมควรจึงเสด็จสวรรคต เพราะพระองค์เป็น โสดาบัน ประเภทสัตตักขัตตุปรมัง จึงไปบังเกิดอีกเจ็ดครั้ง เป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี และในสองชาติสุดท้ายได้เกิดเป็นมนุษย์ในเรือนสกุล แล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยพระองค์เสด็จปรินิพพาน

ภายหลังพระพุทธเจ้าประมาณ 2600 ปี มีข้อสังเกตว่าพระองค์เป็นโสดาบัน ประเภท สัตตักขัตตุปรมัง เหตุใดจึงใช้เวลาแค่ 2600 ปีในการปรินิพพาน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อครั้งเป็นเทวดา พระองค์อาจมีชีวิตอยู่ไม่ถึงอายุขัยของเทวดาในภพนั้นๆ



   
พระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก / วินัยปิฎก
 
 
 
พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์