เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
   ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  พระปัจเจกพุทธเจ้า จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 144    


พระปัจเจกพุทธเจ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระปัจเจกพุทธเจ้า (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ)

เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้ เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุต เป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่อง อุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรม และปฏิสังสันต์ ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษ และวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษ เป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศ จำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง

พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และ ตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เอง เช่นเดียวกับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ ในคราวที่โลก ว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัท เหมือนอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของ พระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้น เฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจาก พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาล แห่งพุทธาภิสมัย ในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนาม มาตังคะเสด็จอุบัติขึ้น และปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้ว จากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ปรินิพพานแล้ว ซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้ว ซึ่งการประสูติกาล ของพระโพธิสัตว์นั้น)

พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติ มาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี แต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆ เบื่อหน่าย ในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรม จนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขา คันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่ง ในป่าหิมพานต์ หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์ คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ

คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดีย มีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ต้องมาประชุมพร้อมกัน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่ อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ

พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์ และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็น นิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้า คราวเดียวกัน ถึง 500 พระองค์ก็มี

พระปัจเจกพุทธเจ้า ประพฤติปฏิบัติตน และปรนนิบัติธรรม เป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดใน พระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะ กระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตร

ในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อ และเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้น ก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า)

พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอ พระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"

 



   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์