เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

 พระนันทะ ผู้เลิศในอินทรีย์สังวร (สำรวม) 142    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร


พระนันทะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ข้อมูลทั่วไป


พระนามเดิม นันทศากยะ เจ้าชายนันทศากยะ เจ้าชายนันทะ นันทราชกุมาร นันทกุมาร

สถานที่ประสูติ  พระราชวัง กรุงกบิลพัสดุ์

สถานที่บวช  นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์

วิธีบวช    เอหิภิกขุอุปสัมปทา

เอตทัคคะ  ผู้เลิศในอินทรีย์สังวร (สำรวม)


ฐานะเดิม

ชาวเมือง       เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ

วรรณะเดิม  กษัตริย์
ราชวงศ์    ศากยราชวงศ์


สถานที่รำลึก
สถานที่  โบราณสถาน พระราชวังเมือง กบิลพัสดุ์  นิโครธาราม

พระนันทเถรศากยะ หรือ พระนันทเถระ
เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะในศาสนา ของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระนันทเถรศากยะ เป็นพระประยูรญาติ ของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยท่านเป็นพระภาดา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระมาตุจฉาของ เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนันทเถรศากยะ ออกผนวชด้วยความจำใจ
เพราะมีความเกรงใจต่อพระพุทธเจ้า ที่ชวนท่านออกผนวช ในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรส กับนางชนบท กัลยาณี ทำให้ในช่วงแรกที่ท่านออกผนวช ท่านไม่ได้มีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมเลย เพราะความ กระสัน ใคร่จะลาผนวช แต่หลังจากท่านได้สติแล้ว จึงได้ตั้งใจบำเพ็ญเพียร จนบรรลุพระอรหันต์ได้ ในที่สุด โดยหลังบรรลุธรรมแล้ว ท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้า จึงทรงยกย่องท่าน ให้ เป็นพระเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้ทรงอินทรีย์ สังวร

ชาติภูมิ
พระนันทเถรศากยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระภาดาต่างพระราชมารดา ของพระพุทธเจ้า พระราชบิดาของท่าน คือพระเจ้าสุทโธทนศากยราชา พระมหากษัตริย์แห่ง กรุง กบิลพัสดุ์ โดยเป็นพระราชบิดาร่วมพระองค์ กับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชมารดาของพระนันทศากยะ มีพระนามว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉา และทรงเคยเป็นพระอภิบาลของ เจ้าชาย สิทธัตถะเมื่อยังทรงพระเยาว์

ออกผนวช
เจ้าชายนันทศายะ ออกผนวชในวันที่ทรงจะเข้าอภิเษกสมรสกับ นางชนบทกัลยาณี โดยในวันที่มีพิธี อภิเษกนั้น พระประยูรญาติ ได้นิมนต์พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ไปรับภัตตาหารภายในพระราชฐาน เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จ ได้ทรงอนุโมทนา และเสด็จกลับ โดยมีเจ้าชายนันทะ ถือบาตร ตามส่งเสด็จ แต่พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าชายนันทะ มีบารมีควรแก่อริยผล จึงทรงใช้อุบาย ไม่รับบาตรคืน จากเจ้าชายนันทะ เจ้าชายนันทะจึงจำต้องถือบาตรตามเสด็จกลับ ทำให้นางชนบท กัลยาณีกังวล และร้องขอวิงวอนให้เจ้าชายนันทะรีบเสด็จกลับเพื่อทำพิธีอภิเษก ทำให้เจ้าชายนันทะ ถือบาตร ตามเสด็จด้วยความกระวลกระวายใจ เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จมาถึงพระคันธกุฎี ภายใน นิโครธาราม พระพุทธเจ้าจึงทรงถามเจ้าชายนันทะว่า "นันทะ เธอจะบวชหรือ?"

ด้วยเหตุนั้น เจ้าชายนันทะแม้ไม่เต็มใจที่จะผนวช แต่ด้วยความเกรงพระทัย และมีความเคารพ ในพระพุทธเจ้ามาก จึงจำต้องทรงออกผนวชในวันนั้นเอง

บรรลุธรรม
เมื่อออกผนวชแล้ว พระนันทะมีความกังวลคำนึงถึง แต่คำขอร้องของ นางชนบทกัลยาณี ที่ให้รีบเสด็จ กลับ พระนันทะจึงไม่มีความตั้งใจอันใด ในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทราบความนั้นจึงเสด็จมาเยี่ยม และชวนพระนันทะไปที่ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นหญิงที่สวยงามกว่า นางชนบทกัลยาณี

พระนันทะเที่ยว ตามเสด็จ เรื่อยไป จนมีความชอบใจในหญิงเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทราบความจึงออก พระโอษฐ์ค้ำประกันว่า ถ้าพระนันทะสามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ได้ พระองค์จะสามารถ พาหญิงเหล่านั้น มาให้แต่งงานกับพระนันทะเอง จากนั้นมาท่านพระนันทะ จึงตั้งใจบำเพ็ญเพียร อย่างหนัก พระสงฆ์ที่ทราบความจึงพากันล้อเลียนท่าน ทำให้ท่านเกิดความละอายใจ จึงหลีกตนหนีไป บำเพ็ญเพียรแต่ผู้เดียว จนในที่สุดท่านได้สติว่า

"ความรักไม่มีที่สิ้นสุด... ความรักทำให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าโศกเสียใจไม่มีที่สิ้นสุด"

พระนันทเถรศากยะ
ท่านจึงเกิดความสลดใจ และละวางความรักลงได้ ในไม่ช้าท่านก็บำเพ็ญเพียรต่อ จนได้บรรลุพระอรหันต์ เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านกลับกลายเป็นผู้มีความสำรวมระวังอินทรีย์สังวรเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็น ผู้เลิศในทางอินทรีย์สังวร

บั้นปลายพระชนม์ชีพ
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใด และที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์ อยู่พอสมควร แก่กาลจึงปรินิพพาน

   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์