เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

 พระพุทธโฆสะ 141    
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร



พระพุทธโฆสะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิต อยู่ราว พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอน เกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนา ของท่านถือเป็นแนวคิด ที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาท ต่างยอมรับว่าท่านเป็น อรรถกถาจารย์ ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท
.......................................................................................................................................................

พระพุทธโฆสาจารย์

ผู้ยิ่งไหญ่ด้านคัมภีร์อรรถกถาแห่งพุทธเถรวาท

http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=1088.msg9429#msg9429

ในจำนวนพระอรรถกถาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา        หากเอ่ยนามของพระพุทธโฆสาจารย์แล้ว นักบาลีทั้งหลายย่อมรู้จักเป็นอย่างดี เพราะคณะสงฆ์ได้กำหนดใช้คัมภีร์อรรถกถาซึ่งเป็นผลงานของท่าน  ตั้งแต่อรรถกถาธรรมบทเป็นต้น  จนถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรค ให้เป็น หลักสูตร เรียนบาลี   พระพุทธโฆสาจารย์เป็นนักปราชญ์ชาวอินเดีย  ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถาอธิบายข้อความ ในพระไตรปิฎก ที่มีชื่อเสียงมากของฝ่ายเถรวาท ประวัติความเป็นมาของท่านนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ในที่นี่จึงขอนำประวัติของท่าน ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆ และที่ได้มีผู้เรียบเรียงไว้ โดยจะนำในส่วนของประวัติที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ๒ เล่ม คือ คัมภีร์มหาวังสะ(พงศาวดารลังกา) ซึ่งรจนาโดย พระธัมมกิตติเถระ และในคัมภีร์พุทธโฆสุปปัตติ ซึ่งรจนาโดย พระมหามงคลเถระ ก่อน จากนั้นจะได้นำส่วนที่มีผู้เรียบเรียงไว้มาเสนอ เพื่อเป็นการเสริมความรู้และจะได้ศึกษาเทียบเคียงกันได้ต่อไป  ในคัมภีร์มหาวังสะ    

พระธัมมกิตติเถระได้กล่าวไว้ว่า มีพราหมณ์คนหนึ่งเกิดใกล้กับสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  มีความรู้แตกฉาน ในไตรเพท  ด้วยความหยิ่งผยองในความรู้ของตนพราหมณ์คนนั้น จึงได้เที่ยวไปโต้ตอบปัญหากับนักปราชญ์ ทั่วชมพูทวีปจนไม่มีใคร เทียบเขาได้  วันหนึ่ง เขาไปพักยังวัดแห่งหนึ่ง  ตกกลางคืนก็สาธยายมนต์ชื่อ ปตัญชลี พระเรวตะเถระผู้เป็นสังฆเถระในวัดนั้น ได้สดับเสียงสาธยายมนต์นั้น จึงร้องถามไปว่า    “ลาที่ไหนมาร้องอยู่ที่นี่” พราหมณ์หนุ่มได้ยินก็เดือดดาลจึงร้องสวนไปว่า ชิชะ สมณะ ท่านรู้หรือไม่ว่า เสียงลานี้หมายความว่าอย่างไร? พระเถระได้อธิบายความหมายขอมนต์นั้นให้เขาฟังอย่างถูกต้องทุกประการ จึงทำให้เขาเกิดความพิศวง ในที่สุดพระเรวตะเถระได้ยกปัญหาอภิธรรมมาถามบ้าง      พราหมณ์หนุ่มตอบไม่ได้ อยากจะได้มนต์นั้น  จึงขอบวชศึกษาพระไตรปิฎกอยู่กับพระเรวตเถระ  จนมีความรู้แตกฉาน   ภายหลังจึงปรากฏนามว่า      “พุทธโฆสะ” หรือ “พระพุทธโฆสาจารย์”

            ขณะที่พักอยู่กับพระอุปัชฌาย์นั้น พระพุทธโฆสะ ได้แต่งคัมภีร์ ญาโณทัย เสร็จแล้วจึงได้เริ่มแต่งอรรถกถาพระอภิธรรม ชื่อ อัตถสาลินีและอรรถกถาพระปริตร (พระสูตร)  พระอุปัชฌาย์ทราบเข้า จึงแนะนำให้แปลอรรถกถาพระไตรปิฎกที่ลังกา จากภาษาสิงหฬ มาเป็นภาษามคธ แล้วนำกลับมาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ท่านออกเดินทางไปยังเกาะลังกา ตามคำแนะนำของพระอุปัชฌาย์เข้าพบกับ พระสังฆปาลเถระพระสังฆราชแห่งลังกา แล้วขออนุญาตแปลอรรถกถาพระไตรปิฎก พระสังฆราชจึงตั้งกระทู้คาถาให้ ๔ บาท เพื่อทดสอบสติปัญญาว่าท่านพระพุทธโฆสาจารย์จะสามารถทำงานใหญ่เช่นนี้ได้หรือไม่          

            พระพุทธโฆสะได้แต่งหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง พรรณนาพระคาถานั้นโดยพิสดาร ให้ชื่อว่า “วิสุทธิมรรค” ซึ่งนับเป็นคัมภีร์ ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุด หลังจากพระสังฆปาลเถระตรวจสอบปกรณ์ ที่พระพุทธโฆสะ แต่งขึ้น ถวายแล้ว ก็อุทานด้วยความ ปลาบปลื้มว่า “ภิกษุหนุ่มรูปนี้เห็นจะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์แน่แท้”  แล้วได้มอบพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาให้ พระพุทธโฆสะ ได้ศึกษาจนช่ำชองแล้วจึงได้เริ่มถ่ายทอด (แปล) สู่ภาษามคธ ท่านใช้เวลา ๑ ปี เสร็จแล้วจึงนำคัมภีร์เหล่านั้นกลับไปยังชมพูทวีป

            ส่วนในคัมภีร์ พุทธโฆสุปปัตติ พระมหามงคลเถระกล่าวไว้ว่า มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งนามว่าโฆสะ เกิดในตระกูลเกสี พราหมณ์ นายบ้านโฆสะ มีไหวพริบสติปัญญาเป็นเลิศ สามารถเรียนจบไตรเพทแต่เยาว์วัย วันหนึ่งพระเรวตะเถระ ผู้รู้จักคุ้นเคยบิดาของโฆสะ ได้ไปเยี่ยมและได้นั่งบนอาสนะ ของโฆสะทำให้เขาไม่พอใจ เป็นอย่างมาก จึงได้ไล่เรียงความรู้กับพระเถระในเรื่องของมนต์ในไตรเพท ด้วยหมายใจจะให้พระเถระ ได้รับความ อับอายและแสดงว่าผู้ที่ไม่รู้ไตรเพท ไม่ควรจะนั่งบนที่นั่งของเขา แต่การณ์หาได้เป็นดังนั้นไม่ พระเถระตอบปัญหา ได้ทุกแง่ทุกมุม ในที่สุดได้ย้อนถามปัญหาในพระอภิธรรมบ้าง เด็กหนุ่มจนปัญญาไม่สามารถตอบได้

ด้วยความอยากได้มนต์จากพระเถระ จึงขออนุญาตจากบิดามารดาบวชอยู่กับพระเถระ ปรากฏนามว่าพระพุทธโฆสะ ต่อมาไม่นาน พระพุทธโฆสะก็เกิดอคติมานะขึ้นในใจว่าเรากับพระอุปัชฌาย์ใครจะรู้มากกว่ากัน พระเรวตเถระทราบ ความหยิ่งผยองของศิษย์ จึงเรียกไปตักเตือน ภิกษุหนุ่มสำนึกผิดกราบขอขมา พระเถระกล่าวว่า เธอจะยังไม่พ้นโทษ ภิกษุหนุ่มจึงตกลงเดินทางมาลังกาด้วยเหตุนี้  ก่อนไปได้ขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ไป โปรดบิดามารดาให้กลับ เป็นสัมมาทิฏฐิแล้วจึงเดินทางไปยังลังกาทวีป

            ในขณะที่เรือของพระพุทธโฆสะแล่นไปยังเกาะลังกานั้น       ท่านได้สวนทางกับพระพุทธทัตตเถระ ภิกษุชาวชมพูทวีป ซึ่งเพิ่งกลับจากไปแปลอรรถกถาที่ลังกาเช่นเดียวกัน พระพุทธทัตตเถระเล่าว่าท่านได้แต่งคัมภีร์ ชินาลังการ, ทันตะวังสะและโพธิวังสะ เสร็จแล้วพร้อมทั้งได้สวดคาถาบางตอนจากชินาลังการให้พระพุทธโฆสะฟัง เมื่อพระพุทธโฆสะเรียนว่า หนังสือของท่านยากเกินไปกว่า ที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ ท่านจึงกล่าวว่า “คุณ ผมไปลังกาคราวนี้ตั้งใจจะแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาให้จบ แต่ก็ทำได้แค่นี้ เนื่องจากอายุ สังขารไม่อำนวย ขอคุณจงทำให้สำเร็จเถิด” แล้วได้มอบเหล็กจารหิน และสมอดีงูสำหรับฝนทาแก้ขัดยอก และแก้โรคต่างๆ ให้พระพุทธโฆสะ แล้วแยกทางกันไป

            เมื่อพระพุทธโฆสะถึงท่าวิชาฐาน ท่านได้พบหญิงคนใช้สองนางกำลังทะเลาะวิวาท โต้คารมกันอย่าง ถึงพริกถึงขิง นึกสนุก จึงจดบันทึกคำด่าของหญิงคนใช้ทั้งสองไว้หมดทุกคำ นึกในใจว่าถ้าเรื่องไปถึงศาล ท่านคงถูกอ้างเป็นพยานแน่และเรื่องก็เป็นดังคาด เมื่อท่านถูกตามตัวไปเป็นพยาน ท่านก็ได้มอบคำด่า ให้เจ้าพนักงานไปปรากฏว่าเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินคดีอย่างมากมาย

            ต่อมาพระราชารับสั่งหาตัวให้มาเข้าเฝ้า การณ์ทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธโฆสะมีความเฉลียวฉลาด เชี่ยวชาญและเป็นเลิศ ในนิรุกติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นพระพุทธโฆสะไปเข้าไปยังวิหาร เพื่อนมัสการ พระสังฆปาลเถระพระสังฆราชแห่งลังกา บังเอิญ เดินผ่านไปได้ยินเสียงพระสังฆราช กำลังสอนพระอภิธรรม อยู่และเกิดขัดข้อง ไม่สามารถจะให้ความกระจ่างในข้อความบางตอนได้

ภิกษุหนุ่มจึงได้แอบไปเขียนคำอธิบายไว้  วันรุ่งขึ้นพระสังฆราชไปพบเข้าจึงซักไซร้ไล่เลียง รู้ว่าเป็นคำอธิบาย ของภิกษุหนุ่ม และรู้ว่า เธอมาเพื่อแปลพระพุทธพจน์จากภาษาสิงหฬสู่มคธ จึงได้มอบคาถาที่ขึ้นต้นว่า  “สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ” ให้แต่งอธิบาย เพื่อทดสอบความสามารถ  ภิกษุหนุ่มได้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค เสร็จแล้วนำไปถวาย ปรากฏว่าผลงานชิ้นแรกที่แต่งในลังกานี้      ได้สร้างความเชื่อถือแก่พระมหาเถระจนกระทั่ง พระมหาเถระทั้งหลายได้มอบหมายให้แปลพระไตรปิฎกตามปรารถนา

พระพุทธโฆสะเขียนคัมภีร์อรรถกถาอยู่สามเดือน ออกพรรษาแล้วนำตำราทั้งหมดไปถวายพระสังฆราช ก่อนออก จากลังกามีเสียงพูดว่า พระพุทธโฆสะก็รู้แต่บาลี หารู้สันสกฤตไม่ ท่านกำจัดวิมติกังขาในเรื่องนี้ด้วยการแสดงธรรม เป็นภาษาสันสกฤต ฝากลวดลาย เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อนำคัมภีร์อรรถกถากลับมาตุภูมิคือประเทศอินเดียแล้ว ท่านได้ไปกราบขอขมาพระอุปัชฌาย์ แต่ตอนท้ายในคัมภีร์ ทั้งหลายไม่ปรากฏว่าพระพุทธโฆสาจารย์ มรณภาพ ที่ไหน อย่างไร นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่บ้าง

………………………………………………….............................................……………………….

พระพุทธโฆษาจารย์

ท่านนี้เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน เกิดราวพ.ศ. ๙๔๕ ในสกุลพราหมณ์ที่ตำบลพุทธคยา แคว้นมคธ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน แต่มีบางฉบับกล่าวว่า ท่านเกิดที่ไตลังคะ ทางอินเดียตอนใต้ และพม่าเชื่อว่าท่านเกิดที่พม่า แต่มติเบื้องต้นจะมีผู้เชื่อถือมากกว่า

สมัยวัยเยาว์ท่านมีความสนใจ ในทางศาสนามาก มักจะไปชมวัดของพราหมณ์เสมอ และได้เรียนพระเวท อย่างแตกฉาน มีวาทะแหลมคม จนกลายมาเป็นนักโต้วาทีที่มีชื่อเสียงของพราหมณ์ในสมัยนั้น

วิหารพุทธคยา ยังอยู่ในความดูแลของพระสงฆ์ลังกา กษัตริย์ลังกา คือ พระเจ้าศรีเมฆวรรณได้รับประทานอนุญาต จากพระเจ้าสมุทรคุปตะ ได้สร้างวิหารขึ้นที่พุทธคยา เพื่อเป็นที่อาศัยของพระสงฆ์ลังกา สมัยนั้นพระเรวตะ พระสงฆ์ลังกาเป็นเจ้าอาวาสดูแลพุทธคยา ต่อมา ท่าน เรวตะ ได้ยินพุทธโฆษะ ท่องมนต์จากคัมภีร์ปตัญชลี รู้สึกประทับใจจึงได้สนทนากันแล้วพุทูโฆษะจึงถามท่านว่า ท่านทราบมนต์นี้ หรือไม่ พระเรวตะตอบว่าเรารู้สูตรนี้ดีทีเดียว แล้วจึงอธิบายสูตรเหล่านั้น แล้วบอกว่าสูตรนั้นผิดหมด ทำให้พุทธโฆษะงง เหมือนมีมนต์ สะกด จึงให้พระเถระท่องสูตรเหล่านั้นให้ฟัง พระเถระจึงนำเอาพระอภิธรรมมาแสดง เหลือวิสัยของพุทธโฆษะ จึงถาม พระเถระว่า นี้เป็นมนต์ของใคร พระเถระตอบว่าเป็นพุทธมนต์ และเมื่อพุทธโฆษะอยากท่องมนต์พระเถระจึงกล่าวว่า ถ้าท่านบวชจักสอน ให้

ในที่สุดก็ตัดสินใจละทิ้งลัทธิเดิม แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉาน เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ขณะที่อยู่ที่พุทธคยาได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ญาโณทัย ถัดจากนั้นได้เขียน อัฎฐกถาอัฎฐสาลินีซึ่งเป็นอัฎฐกถาของธัมมสังคณี ต่อมาพระเรวตะได้แนะนำให้พระพุทธโฆษาจารย์ เดินทางไปเกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์สำคัญเป็นภาษามคธ

ท่านได้เดินทางไปยัง ลังกา สมัยพระเจ้ามหานาม ครองเกาะลังกา และพำนักที่มหาปธานวิหาร เพื่อศึกษา อรรถกถา ภาษาสิงหล เมื่อเชี่ยวชาญภาษาสิงหล จึงแปลคัมภีร์หลายเล่มสู่ภาษามคธ ต่อมาได้แต่งหนังสือ " วิสุทธิมรรค" แล้วเดินทางกลับอินเดีย ผลงานของท่านที่ปรากฎ ๑. สมันตปาสาทิกา ๒.กังขาวัตรณี ๓.สุมังคลวิลาสินี ๔. ปปัญจสูทนี ๕. สารัตถปากาสินี ๖. มโนรัตถ ปูรณี ๗. ปรมัตถโชติกา ๘. สัมโมหวิโณทินี ๙. ปัญจปกรณัฏฐกถา ๑๐. วิสุทธิ มรรค ๑๑.ญาโณทัย บางเล่มท่านอาจจะไม่ได้เขียนเอง แต่ท่านก็เป็นผู้ดูแลตลอดจนสุดท้ายท่านก็มรณภาพโดยไม่ ทราบแน่ชัดถึงสถานที่

 



   
 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์