พระนางสิริมหามายา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มายาเทวี (บาลี: मायादेवी) หรือ สิริมหามายา เป็นพระมารดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ และเป็นพระเชษฐภคินีของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
เอกสารทางพุทธศาสนาระบุว่า พระนางสิริมหามายาสวรรคต หลังประสูติการ พระโคตมพุทธเจ้าได้เพียง 7 วัน เพราะสงวนครรภ์ไว้แด่พระโพธิสัตว์ เพียงพระองค์ เดียว หลังจากนั้นพระองค์จึงจุติบนสวรรค์ตามคติฮินดู-พุทธ ส่วนพระราชกุมารนั้น ได้รับการอภิบาลโดยพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระขนิษฐา ที่ต่อมาได้เป็นอัครมเหสี ในพระเจ้าสุทโธทนะ
พระนาม "มายา" เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า "ภาพลวงตา" บ้างออกพระนาม เป็นมหามายา (महामाया, มายาผู้ยิ่งใหญ่) หรือมายาเทวี (मायादेवी, มายาผู้เป็น นางกษัตริย์)
พระประวัติตอนต้น
พระนางสิริมหามายามีพระชนม์ชีพตอนต้นเป็นอย่างไรไม่เป็นที่ทราบ ปรากฏความ เพียงว่าประสูติในวงศ์เจ้าผู้ปกครองแคว้นโกลิยะ เป็นพระราชธิดา ของพระเจ้าอัญชนะ แห่งโกลิยะกับพระนางยโสธราแห่งสักกะ มีพระเชษฐาสองพระองค์ คือพระเจ้า สุปปพุทธะ และพระเจ้าทัณฑปาณิ และมีพระขนิษฐาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระชนกและพระชนนีเป็นเครือญาติกัน สืบสันดานมาแต่พระเจ้าโอกกากราช (Okkākarāj)
ผู้สืบเชื้อสายจากพระเจ้าโอกกากราชนี้ แบ่งออกเป็นสองตระกูลคือสักกะ (ศากยะ) กับโกลิยะ ซึ่งสายตระกูลโกลิยะสืบมาจากเจ้าหญิงปิยา (หรือปริยา) พระราชธิดาของ พระเจ้าโอกกากราช ที่ถูกพี่น้องเนรเทศออกมาจากวังไปอยู่ในป่า เพราะเป็นโรคเรื้อน น่ารังเกียจ ปรากฏบนพระวรกาย เหมือนดอกทองหลาง
ต่อมาได้พบกับพระเจ้ารามะ อดีตเจ้าผู้ครองพาราณสีที่ป่วยด้วยโรคผิวหนังเช่นกัน ซึ่งสละราชสมบัติแก่พระโอรสและครองเพศฤๅษี ภายหลังทั้งสองพระองค์ จึงอยู่กิน กันและต่อมาได้เสวยผลจากไม้โกลัน (ต้นกระเบา) จึงหายจากโรคผิวหนัง ด้วยสำนึก ในบุญคุณของต้นไม้นี้ จึงเรียกนามวงศ์ตระกูลตนเองว่า "โกลิยะ"แต่ใน สัมมาปริพพา ชนิยสูตร อธิบายว่าที่ชื่อโกลนคร เพราะสร้างพระนคร บริเวณที่เคยเป็นป่ากระเบา มาก่อน ส่วนที่หายจากโรคเรื้อนนั้น ก็เพราะเสวยรากไม้และผลไม้ในป่า พระฉวีจึงหาย จากการเป็นเรื้อน กลับผ่องพรรณดุจทอง
อย่างไรก็ตามสองตระกูลคือสักกะ และโกลิยะถือตัวในระบบวรรณะยิ่ง ด้วยแต่งงาน เกี่ยวดองกันภายในสองตระกูลเท่านั้น จะไม่แต่งงานกับตระกูลอื่นเด็ดขาด แม้ว่าจะ เป็นวรรณะกษัตริย์จากเมืองอื่นก็ตาม แต่ดอนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนา และทิเบตศึกษา และริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich)
นักภารตวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศึกษา อธิบายว่า ช่วงเวลานั้นอิทธิพลของพระเวท ไม่น่าจะเข้าถึงแคว้นทั้งสอง รวมทั้งการเสกสมรส ในหมู่เครือญาตินั้น เป็นเรื่องต้องห้ามของสังคมอารยัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าตระกูล ทั้งสองนี้ อาจมิได้สืบเชื้อสายชาวอารยัน
อรรถกถาอัปปายุกาสูตร ระบุว่า แต่เดิมพระนางสิริมหามายา เป็นเทพบุตรอยู่ สวรรค์ชั้น ดุสิต แต่ได้อธิษฐานขอเป็นพุทธมารดา ชาตินี้จึงประสูติมาเป็นสตรี ทั้งได้ขอมี พระชนม์เพียงเจ็ดวันหลังประสูติกาล เพราะสงวนพระครรภ์ไว้แก่พระโพธิสัตว์เพียง พระองค์ เดียว และเพื่ออยู่เชยชมพระโฉมพระโพธิสัตว์ ก่อนเสด็จสวรรคตกลับไปจุติ บนสวรรค์ชั้นดุสิต
พุทธมารดา
พระนางสิริมหามายาอภิเษกสมรสระหว่างเครือญาติ กับพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งสักกะ ตามพระราชประเพณี หลังการอภิเษกสมรส 20 ปี พระองค์ก็มิได้ทรงครรภ์ จนกระทั่ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนพุทธศักราช 81 ปี ขณะนั้นพระองค์ในช่วงมัชฌิมวัย พระองค์ทรงสุบินว่าจาตุมหาราชิกา ยกพระแท่นบรรทมของพระองค์ไปยังป่าหิมพานต์
เทพทั้งสี่ได้ทูลเชิญให้พระองค์สรงน้ำในสระอโนดาต ชำระพระองค์ด้วยเครื่องหอม นานาชนิด แล้วเสด็จขึ้นบรรทม ณ พระแท่นภายในวิมานทองบนภูเขาสีเงิน ทรงบ่าย พระพักตร์ไปทิศตะวันออก ขณะนั้นมีพญาช้างเผือกนำดอกบัวขาว กลิ่นหอมแรก แย้มมาถวาย ก่อนร้องเสียงดัง แล้วเดินทักษิณาวัตรรอบพระแท่นสามรอบ
ครั้นรุ่งขึ้นจึงกราบทูลแก่พระภัสดาถึงนิมิตนั้น พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมีรับสั่งให้โหร ประจำราชสำนักทำนาย ซึ่งโหรหลวงได้ทำนายไว้ว่า "พระนางสิริมหามายา ทรงพระครรภ์พระองค์จักมีพระราชโอรส พระโอรสนั้นถ้าอยู่ครองราชย์ ก็จักเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าเสด็จออกบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า"
ครั้นเมื่อพระครรภ์ครบท้วนทศมาสกับอีกเจ็ดวัน พระนางสิริมหามายา จึงทูลขออนุญาต พระราชสวามี เพื่อแปรพระราชฐานไปยังเทวทหะ อันเป็นมาตุภูมิเพื่อประสูติ การพระราชโอรส ตามประเพณีนิยม ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน ได้หยุดพักอิริยาบถ ใต้ต้นสาละ ณ ป่าลุมพินี ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อนั้น พระองค์จึงประชวรพระครรภ์และทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละประสูติการพระราชโอรส เมื่อวันศุกร์ เพ็ญเดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อพระกุมารประสูติขึ้นทรง พระดำเนิน 7 ก้าวโดยมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทรงยก พระหัตถ์ขวา แล้วทรงชี้พระดัชนีขึ้นฟ้าแล้วกล่าวอภิวาทวาจาอย่างน่าอัศจรรย์ว่า "อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เชฎฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฎฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส อนมนฺติมา เม ชาติ นฺตถิทานิ ปุนพฺภโวติ" อันมีความหมายว่า "เราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราเป็นผู้เจริญ ที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ชาติอื่น ภพอื่นจะไม่มีอีก" หรืออาจแปลว่า "เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็น ผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี" ซึ่งกรณีที่ พระพุทธเจ้าเดินได้เมื่อแรกประสูตินั้น พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่าการเดิน ได้เจ็ดก้าวนั้นเป็นปริศนาธรรมมากกว่า เพราะสื่อถึงโพชฌงค์ 7 ประการ หาใช่เกิดจาก อภินิหาริย์พิเศษจาการเป็นโพธิสัตว์ จึงทำให้เดินได้แต่ประการใด
หลังประสูติกาลพระราชกุมารได้สามวัน อสิตดาบส (Asita) หรือกาฬเทวิลดาบส (Kāḷadevil) นักบวชที่คุ้นเคยกับ พระเจ้าสุทโธทนะได้เดินทาง มาชื่นชมพระบารมี ของพระกุมาร และเมื่อได้ตรวจลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการอย่างละเอียด จึงก้มกราบ พระกุมาร ด้วยความเคารพ พร้อมกับกำสรวล และหัวเราะไปด้วย สร้างความแปลก พระทัยแก่ พระเจ้าสุทโธทนะ ยิ่งนัก พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทูลถามดาบสว่าเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุใด อสิตดาบส จึงตอบพระราชปุจฉาว่า "ที่หัวเราะเพราะตื้นตันใจ ที่ได้เจอ พระกุมารที่มีบุญญาบารมี มีลักษณะมหาบุรุษครบ 32 ประการ นับว่าหาไม่ได้ใน ภัททกัป นี้ อาตมามีวาสนาแท้ที่ได้เห็น และที่ร้องไห้เพราะพระโอรสเจริญวัยขึ้น จะได้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาเอกของโลก พระองค์จะแสดงธรรมงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและที่สุด เสียดายที่อายุอาตมาภาพแก่เกินไป คงไม่อาจได้สดับ ฟังคำสอนของพระองค์ จึงอดกลั้นน้ำตาไม่ไหว"
หลังจากประสูติกาลพระราชกุมารได้ห้าวัน พระเจ้าสุทโธทนะได้อัญเชิญพราหมณ์ 108 ตนที่เจนจบไตรเพทมาในพระราชวัง พราหมณ์ทั้งหลาย ขนานพระนาม พระกุมารว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "ผู้มีความต้องการอันสำเร็จ"
สวรรคต
หลังประสูติกาลพระราชกุมารได้เจ็ดวัน พระนางสิริมายามายาก็สวรรคต สร้างความ โศกาอาดูรแก่พระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ เจ้าชาย สิทธัตถะ จึงอยู่ภายใต้การอภิบาลของพระนางปชาบดีโคตมี พระขนิษฐาพระนาง สิริมหามายา ซึ่งต่อมาได้เป็น พระอัครมเหสีของ พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระราชโอรส-ธิดาสองพระองค์คือ เจ้าชายนันทะ (Nanda) และเจ้าหญิงรูปนันทา (Rūpanandā) ส่วนพระนางสิริมหามายา ได้ไปจุติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต
หลังพระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มีดำริที่จะสนองพระคุณพุทธมารดาด้วยการแสดง ธรรมเทศนาด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรม จึงเสด็จขึ้นไปแสดงธรรม บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระอินทร์เห็นพุทธองค์เสด็จขึ้นมา ยังสรวงสวรรค์นั้นก็เกิดปีติเกษมสานต์ ประณมหัตถ์อภิวาท ขอประกาศให้เทวดาทุกชั้นฟ้ามาเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสดับพระธรรมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้มีพระประสงค์ให้พุทธมารดาขึ้นมา ณ ที่ประชุมเทวดา แต่มิทรงทอดพระเนตรเห็น จึงทูลถามพระอินทร์ เมื่อพระอินทร์ ทราบถึงความประสงค์ของพุทธองค์ จึงเสด็จไปทูลเชิญพุทธมารดา ที่ประทับอยู่สวรรค์ ชั้นดุสิต ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตามพุทธประสงค์ เมื่อพระพุทธองค์ทอดพระเนตร เห็นพระนางสิริมหามายาแล้ว ก็ทรงปีติโสมนัสยิ่ง จึงยกพระหัตถ์เบื้องขวากวัก ทูลเชิญ พระมารดาเข้ามาใกล้ ๆ เพื่อประกาศพระคุณแห่งมารดาแก่เทวดาทั้งหลายที่มาชุมนุม ณ ที่นั้น ก่อนจะแสดงพระอภิธรรมเจ็ดพระคัมภีร์ เมื่อจบพระคัมภีร์ที่เจ็ด พระนางสิริมหา มายาก็บรรลุพระโสดาปัตติผล สมประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงเสด็จกลับโลกมนุษย์เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
พระนางสิริมายามายาขณะทรงสุบินนิมิต ศิลปะคันธาระ
พระนางสิริมหามายาขณะเหนี่ยวกิ่งสาละประสูติการพระพุทธเจ้า
ศิลปะยุคราชวงศ์กุษาณ (ราวศตวรรษที่ 2-3) |