มหานิกาย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ
เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทย ออกเป็นมหานิกาย และธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่ จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้น ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ พระสงฆ์ไทยนั้น ล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ ทั้งสิ้น
จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจาก คณะ พระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิด คำเรียก พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาท ลังกาวงศ์ ดั้งเดิมในประเทศไทย ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
ความเป็นมาลัทธิเถรวาทลังกาวงศ์ (คณะสงฆ์มหานิกาย) หรือคณะคามวาสี ในประเทศไทย
ประวัติของนิกายเถรวาทในประเทศศรีลังกา
เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์ การสังคายนาครั้งที่สาม ในศาสนาพุทธ ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในชมพูทวีป และจัดส่งสมณทูตไปยังดินแดนต่าง ๆ รวม 9 แห่ง หนึ่งในนั้นรวมดินแดน ลังกา (ประเทศศรีลังกา) ด้วย
ต่อมาพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป (ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของดินแดนศรีลังกาใน อดีต) ได้เจริญรุ่งเรือง และเสื่อมโทรมบ้างตามความศรัทธาของประชาชน และ เหตุการณ์บ้านเมือง ครั้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 ปรากฏตามมหาวงศ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช ได้ครองราชสมบัติในลังกาทวีป ซึ่งในเวลานั้น บ้านเมืองยังถูกพวกทมิฬ (ชาวฮินดู) ครอบครองอยู่โดยมาก
พระเจ้าปรักกรมพาหุจึงได้พยายามทำสงครามขับไล่พวกทมิฬไปได้ และถึงกับ ยกกองทัพข้ามไปตีเมืองทมิฬ ในอินเดียไว้ในอำนาจได้อีกด้วย เมื่อพระองค์จัดการ บ้านเมืองในลังกาได้เรียบร้อยแล้ว จึงได้ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนา โดยให้พระสงฆ์ ในลังกาทวีปรวมเป็นนิกายเดียวกัน พร้อมกับจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัย (ซึ่งนับถือ กันว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ 7 ของฝ่ายเถรวาท) นับแต่นั้นพระพุทธศาสนาจึงเจริญ รุ่งเรืองขึ้น ในลังกาทวีป มีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วในดินแดนใกล้เคียง ประกอบกับ ช่วงเวลานั้น พระพุทธศาสนา ในอินเดีย ถูกชาวฮินดูเบียดเบียนให้เสื่อมโทรมลง เมืองลังกาจึงได้รับการยอมรับนับถือว่า เป็นหลักของประเทศ ที่นับถือพระพุทธศาสนา คตินิกายเถรวาทด้วยกัน
การสืบนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในพุกาม
กิตติศัพท์ในการทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เลื่องลือมาจนถึงดินแดน พม่าในสมัย ของ พระเจ้านรปติสี่ตู่ แห่งอาณาจักรพุกาม ได้อาราธนาให้พระมหา สังฆปรินายกพุกาม ซึ่งมีนามว่า พระอุตตรชีวะ เป็นสมณทูตไปสืบพระพุทธศาสนา ในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. 1733
ในจารึกวัดกัลยาณีกล่าวไว้ว่า เมื่อคราวพระมหาเถระอุตราชีวะไปเมืองลังกาครั้งนั้น มีเด็กชาวมอญชาวเมือง พสิมคนหนึ่ง ได้ถวายตัวเป็นศิษย์แล้วบวชเป็นสามเณร มีนามปรากฏว่า “ฉปัฎ” ได้บวชติดตามท่านไปลังกา ด้วย ครั้นเมื่อพระมหา เถระอุตราชีวะ จะกลับเมืองพุกาม สามเณรฉปัฎขออยู่เล่าเรียนที่เมืองลังกา เมื่ออายุ ครบบวชก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวงศ์ของคณะสงฆ์ลังกา และได้เล่าเรียนศึกษา พระธรรมวินัยตามลัทธิ ที่สังคายนาครั้งพระเจ้าปรักกรมพาหุ จนเชี่ยวชาญรอบรู้ แตกฉาน เมื่อบวชครบ 10 พรรษา บรรลุเถรภูมิ (เป็นพระเถระ) จึงได้ชักชวนเพื่อน สหธรรมิก ภิกษุที่ได้เล่าเรียน และเป็นพระมหาเถรภิกษุด้วยกันอีก 4 รูป มีนามว่า
- พระสีวลี ชาวลิตถิคาม (ลังกา) รูป 1
- พระตามะลินทะ พระโอรสของพระเจ้ากรุงกัมโพช รูป 1
- พระอานันทะ ชาวเมืองกาญจนบุรี รูป 1
- พระราหุล ชาวลังกา รูป 1
จาริกโดยสารเรือมายังเมืองพสิมแล้ว ขึ้นต่อไปยังเมืองพุกาม
พระเถระ 5 องค์ที่บวชมาจากลังกา เมื่อเห็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในเมืองพม่า ผิดกับพระสงฆ์ลังกามากนัก จึงไม่ยอมร่วมลงสังฆกรรม กับพระสงฆ์ในคณะพื้นเมือง ทำให้พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทในเมืองพุกามเกิดเป็น 2 นิกายขึ้น (แยกกันลงสังฆกรรม)
พระสงฆ์ลังกาวงศ์นั้น เป็นพระมหาเถระ สำรวมสังวรวัตรปฏิบัติเคร่งครัด ผิดกับ พระสงฆ์ในพื้นเมืองสมัยนั้น ทำให้เมื่อพระมหาเถระทั้ง 5 องค์ ได้ศึกษาภาษาพม่า จนสามารถสั่งสอนชาวเมืองได้ ก็ทำให้มีคน เลื่อมใสมาก จนกระทั่ง พระเจ้า นรปติสิทธุ ก็ทรงเลื่อมใสทำนุบำรุงคณะพระสงฆ์ลังกาวงศ์ และสนับสนุน ให้ชาวพม่า บวชในนิกายลังกาวงศ์มากขึ้นเป็นลำดับมา
ประวัติการตั้งนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในเมืองนครศรีธรรมราช
ต่อมา พระราหุลเถระ หนึ่งในพระมหาเถระทั้ง 5 องค์ ได้นำกลุ่มคณะพระสงฆ์มายัง ประเทศหนึ่ง ปรากฏใน พงศาวดารพม่าว่า เมืองมลายะ (นครศรีธรรมราช) ซึ่งมี กษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย เชื้อสายมลายูปกครอง อยู่เป็นอิสระ
ต่อมา กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชได้เลื่อมใสในพระราหุลเถระ จึงตั้งให้เป็น พระราชครู หลังจากนั้นจึงมี พระสงฆ์ชาวลังกาตามมาอีกมาก และได้มีชาวเมือง และชาวเมืองอื่น ๆ ในดินแดนแถบประเทศไทย และใกล้เคียง ได้พากันไปบวชเรียน ที่เมืองลังกามากขึ้น ความนิยมนับถือในคติพระพุทธศาสนาเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จึงแพร่หลายตั้งมั่นในดินแดนประเทศไทยสืบมา (ลัทธิลังกาวงศ์เริ่มมาตั้งที่เมือง นครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 1740 ก่อนตั้งกรุงสุโขทัยประมาณ 50 ปี)
ความเจริญของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลังกาวงศ์ในดินแดนประเทศไทย
เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1841) ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนา พระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระ ชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
ต่อมาทั้งชาวไทยวน ชาวมอญ และชาวเขมร ต่างก็นิยมฝ่ายลังกาวงศ์จึงได้ส่ง พระสงฆ์ ไปสืบ พระพุทธศาสนา ที่ลังกาบ้าง มีการนิมนต์พระลังกามาเป็นอุปัชฌาย์ ในเมืองของตนบ้าง การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา สายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ในดินแดนแถบสุโขทัยจึงรุ่งเรืองมานับแต่นั้น ทำให้ พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน และศาสนาฮินดูซึ่งเจริญมาแต่ก่อนนั้น หมดความนิยมไป
เมื่อคณะสงฆ์ได้รวมกันเป็นคณะเดียวกันแล้ว จึงได้แบ่งธุระ ออกเป็น 2 พวก คือ พวกที่สมาทานคันถธุระ ก็เล่าเรียนภาษาบาลี พระไตรปิฎก คณะสงฆ์ฝ่ายนี้ มักเลือกวัด ที่อยู่ใกล้บ้าน จึงได้ชื่อว่า "คณะคามวาสี" ส่วนพวกที่สมาทาน วิปัสสนาธุระ ก็จะบำเพ็ญหาความสงบสุขอยู่ตามวัดในป่า จึงได้ชื่อว่า "คณะอรัญวาสี" เผยแผ่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบมา
การแยกนิกายของพระสงฆ์เถรวาทในประเทศไทย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระวชิรญาณเถระ เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า มงกุฏ) ขณะที่ ผนวชอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีได้ทรงศรัทธา เลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ในวงศ์พระสงฆ์มอญ (รามัญนิกาย) เมื่อ พ.ศ. 2372 และได้ทรงตั้ง คณะธรรมยุต ขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวร นิเวศ ราชวรวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุตสืบต่อมา
และใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรก ในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือ ได้ยกสถานะคณะธรรมยุต ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย
ทำให้มีการแบ่งแยกเรียกนิกายของคณะสงฆ์ใหม่ ตามศัพท์บัญญัติของพระ วชิรญาณ เถระ ว่า "ธรรมยุติกนิกาย" และเรียกกลุ่มพระสงฆ์เถรวาทลังกาวงศ์พื้นเมือง ที่มีมา อยู่แต่เดิมว่า "มหานิกาย" สืบมาจนปัจจุบันนี้
การสังเกตการครองผ้าของพระสงฆ์ไทยทั้ง 2 นิกาย
แบบการครองจีวรของภิกษุเดิม ในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจน มีใน เสขิยวัตรว่า "ให้ทำความสำเหนียกว่า จักนุ่งจักห่มให้เป็นปริมณฑล คือเรียบร้อย ... พึงนุ่งปิด สะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อย พึงทำชายทั้งสอง ให้เสมอกัน ห่มให้เรียบร้อย ในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรม "ให้ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า"" ซึ่งก็คือ ห่มจีวร เฉวียงบ่า
ในการเข้าบ้าน กล่าวว่า "ห่มสังฆาฎิทั้งหลายทำให้มีชั้นและกลัดดุม แต่กำชับไว้ให้ ปิดกายด้วยดี ห้ามไม่ให้เปิดไม่ให้เวิกผ้าขึ้น" สันนิษฐานว่าคือการห่มคลุมทั้งสองบ่า
การแบ่งประเภทของการครองจีวร
พระภิกษุสงฆ์มหานิกายในประเทศไทยมีการครองผ้าจีวร หลายประเภทเช่น "ห่มดอง" "ห่มลดไหล่" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า"(เวลาลงสังฆกรรม) "ห่มคลุม" (เวลาออกนอกอาราม) และ "ห่มมังกร"
ห่มลดไหล่
"ห่มลดไหล่" "ห่มเฉียง" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า"ซึ่งเป็นการห่มที่ใช้ในการแสดงความเคารพ ปัจจุบันใช้ในการ ห่มใน เขตวัด โดยนำผ้าจีวรผืนหนึ่งมาพันตัว ชายจรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบวางบนบ่า
ห่มคลุม
ห่มคลุมหมายถึงการคลองจีวร ด้วยการม้วนผ้าชาย จรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบ มาวางบนบ่าคลุม 2 บ่ามิดชิดดี ใช่ในการห่มออกนอกวัด ซึ่งถ้าไม่ห่มคลุม ในเวลา ออกนอกเขตวัด (เขตติจีวรวิปวาโส) ต้องอาบัติทุกกฎ ปัจจุบันมักห่มดองออกนอกวัด โดยถือเป็นเรื่องธรรมดาว่าถูกต้อง โดยเฉพาะภาคเหนือ ทั้งๆที่ผิดวินัย
ห่มดอง
การห่มดอง หมายถึง การครองผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบมหานิกาย มีสังฆาฏิพาด คือการครองผ้าจีวร อันเป็นปริมณฑล (ห่มครบไตรจีวร) ที่เรียกว่า "ห่มดอง" กระทำ โดย มีการพับจีวรเป็นทบ แล้วคลี่ทาบ มาที่บ่าชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงนำผ้าสังฆาฎิ ซึ่งพับเป็นผืนยาว มาพาดไหล่ด้านซ้ายของผู้ห่มก่อนที่จะนำ "ผ้ารัดอก" มารัด บริเวณอกอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเป็นการห่มที่ เป็นที่นิยมทั่วไปของพระสงฆ์มหานิกาย ซึ่งดูเรียบร้อยและทะมัดทะแมงแน่นหนา เนื่องจากมีผ้ารัดอก ข้อเสียคือเปิดสีข้าง ดูไม่งาม อีกทั้งไม่ใช่การครองจีวรที่มีมาตามพระบรมพุทธานุญาติ เนื่องจากผ้ารัดอก ไม่มีในอัฏฐบริขาร
ห่มมังกร
ห่มมังกร หมายถึงการครองผ้าที่หมุนผ้าลูกบวบไปทางขวา เมื่ออยู่ในวัดจะห่มเฉวียง บ่า และห่มคลุมในเวลาออกนอกวัด เป็นการห่มตามธรรมเนียมของพระมหานิกาย (ปัจจุบันยังมีบางวัดนิยมการห่มแบบนี้อยู่ โดยมากจะเป็นวัดมหานิกาย ในกรุงเทพ มหานคร เฉพาะผู้ที่มีการศึกษาสูง) ที่ถือว่าถูกต้องตามพระบรม พุทธานุญาต คือ "ชายจรดชายม้วนขวา หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่าข้างนอก(พาหันตะ) คือม้วนออก ข้างนอกตัวซึ่งก็เข้ากันได้กับการม้วนขวา วางบนแขน"
มหานิกาย |
|
|
|
|
ห่มคลุม
(ออกนอกวัด) |
ห่มลดไหล่
(ห่มเฉียง) |
ห่มดอง
(ห่มเฉวียงบ่า) |
ห่มมังกร
(เฉพาะมหานิกาย) |
การที่ม้วนขวาเนื่องจากในสมัยพุทธกาล ถือว่าการม้วนขวานั้นเป็นมงคล(ประทักษิณ) ถ้าห่ม"บิดขวา" เป็นการห่มแบบมหานิกายแท้ เป็นวัตรปฏิบัติ ในการครองจีวร ของพระสงฆ์มหานิกาย หรือพระสงฆ์ ฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทย ก่อนที่จะมีคำสั่งของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาว ชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุ ทั่วสังฆมณฑลห่มผ้า ตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมดนั้น (ปัจจุบันพระฝ่าย มหานิกาย ส่วนมากนิยมหมุนซ้ายแบบธรรมยุต หรือพระรามัญไปแทบทั้งสิ้น)
สันนิษฐานว่า สมณะนอกศาสนานั้น ย่อมห่มชายจรดชายม้วนขวา ม้วนเข้าหาตัว ลูกบวบวางบนบ่า เช่นเดียวกัน เพราะสังคมอินเดียสมัยนั้นถือว่าม้วนขวา (ประทักษิณ) เป็นมงคล ม้วนซ้ายเป็นกาลกิณี แต่ว่าน่าจะวางไว้ที่บ่าขวา เมื่อห่มเฉวียงบ่า จะเปิดไหล่ซ้าย เช่นเดียวกับนักบวชของศาสนาฮินดู หรือนอก ศาสนาพุทธในประเทศอินเดียที่นิยมเปิดบ่าซ้าย (สังเกตได้แม้ในปัจจุบันนี้) ดังนั้นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา จึงวางไว้ที่บ่าซ้าย และเปิดบ่าขวาเพื่อแสดงถึง ความแตกต่าง
การห่มมังกรนั้นแบ่งออกเป็น สองอย่างคือการห่มมังกร อย่างไทยและการห่มมังกร อย่างพม่า การห่มมังกร อย่างไทยนั้น จะใช้รักแร้หนีบลูกบวบไว้ และจะไม่คลี่ ลูกบวบเพื่อเอามือออก แต่จะเวิกผ้ายกขึ้นมาเลย ส่วนการห่มมังกรอย่างพม่านั้น จะวางลูกบวบบนบ่า และจะคลี่ลูกบวบเพื่อเอามือออก และจะติดกระดุม สองแห่ง คือปิดที่คอ และชายผ้า ซึ่งการห่มมังกรอย่างพม่าจะเป็นการห่มแบบดั้งเดิม |