เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ       

  อรรถกถา 304 Next  
ข้อมูลของบุคคล และสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล รวมรวมมาจากหลายๆแหล่ง อาจไม่ใช่คำกล่าวของพระศาสดา หรือของสาวกที่เชื่อถือได้ บางเรื่องไม่ได้กล่าวไว้
ในพระไตรปิฏก บางเรื่องได้แต่งเสริม ทำให้ดูคล้ายนิยายปรำปราที่เล่าสืบต่อกันมา ผู้ที่ศึกษาจึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาตาม “กาลามสูตร

 

อรรถกถา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อรรถกถา (บาลี: Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความ ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถาบ้าง ปกรณ์อรรถกถาบ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ ทางพระพุทธศาสนา ที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง อย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา

คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ หรือคำ ที่ยากในพระไตรปิฎก ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือ ประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและ วินิจฉัยของผู้แต่ง สอดแทรกเข้าไว้บ้าง

ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องใน พระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่อง ที่อรรถกถาจารย์เห็นว่า ควรอธิบายเพิ่มเติม เท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องใน พระไตรปิฎก จึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่า เนื้อหาในพระไตรปิฎก ส่วนนั้น เข้าใจได้ง่ายนั่นเอง


ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในทางประวัติศาสตร์

ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ

1.อรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

2.อรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 236

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหาย จากประเทศ อินเดียไปเหลือเพียงคัมภีร์ อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่งพระมหินทเถระได้นำอรรถกถา ในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.236)"

ดังนั้นในปี พ.ศ. 945 พระพุทธโฆสะ พระภิกษุชาวอินเดีย จึงได้รับอาราธนามา ที่เกาะลังกา เพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่ภาษาบาลี ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน จึงเป็นผลงาน การแปล ของท่าน พระพุทธโฆสะ

ทั้งนี้ อรรถกถาภาษาสิงหลโบราณ ที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นต่อมา เช่น พระพุทธโฆสะ และ พระธัมมปาละ ได้ทำการเรียบเรียงขึ้น เป็นภาษามคธนั้น ต้นฉบับได้สูญหาย ไปหมดแล้ว แต่จากข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ สามารถจำแนกแยกอรรถกถาโบราณ เหล่านี้ ออกเป็น 3 หมวด คือ


อรรถกถาวินัยปิฎก

1. มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา เป็นผลงานของพระสงฆ์คณะมหาวิหารเมือง อนุราธ ปุระประเทศ ศรีลังกา แก้ครบทั้ง 3 ปิฎก ซึ่งมหาอรรถกถานี้นำมาจาก ชมพูทวีป สู่เกาะสิงหล โดยพระมหามหินทเถระ แล้วแปลเรียบเรียงเป็นภาษาสิงหล ไว้ โดยพระเถระผู้แตกฉาน ในพระไตรปิฎก ชาว สิงหล เพื่อหลีกเลี่ยงความ เลอะเลือน แห่งคำวินิจฉัย ที่มาจากต่างลัทธิต่างนิกาย และที่มาจากศาสนาอื่นๆ รวมถึงเพื่อความสะดวกแก่การศึกษาของพระสงฆ์ชาวสิงหล อรรถกถานี้เป็นความ เป็นมาแต่เริ่มที่พระพุทธโฆสาจารย์ยึดถือเป็นต้นแบบ ในการแต่งอภินวอรรถกถา ซึ่งปรากฏเป็น ผลงานของ พระโปราณาจารย์ เรียกชื่อ ว่า สมันตปาสาทิกา แล มหาปัจจรี เป็นต้น

2. มหาปัจจรีอรรถกถา คือ อรรถกถาแพใหญ่ แต่งขณะที่นั่งบนแพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

3. กุรุนทีอรรถกถา แต่งที่กุรุนทีมหาวิหารในศรีลังกา ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

4. อันธกัฏฐกถา แต่งเป็นภาษาอันธกะ แล้วสืบต่อกันมาขยายไปยังเมืองกัฏฐิปุระ หรือเมือง คอนเจวาราม ในอินเดีย ภาคใต้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

5. สังเขปัฏฐกถา คือ อรรถกถาย่อ สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งในอินเดียภาคใต้ ไม่ปรากฏ ชื่อผู้แต่ง

6.วินัยอัฏฐกถา ไม่ปรากฏสถานที่แต่งและชื่อผู้แต่ง


อรรถกถาสุตตันตปิฎก

มหาอรรถกถา หรือ มูลอรรถกถา
สุตตันตอรรถกถา หรือ อรรถกถาพระสูตร
อาคมัฏฐกกถา อรรถกถานิกาย 4
ทีมัฏฐกถา อรรถกถาทีฆนิกาย
มัชฌิมัฏฐกถา คืออรรถกถามัชฌิมนิกาย
สังยุตตัฏฐกถา คืออรรถกถาสังยุตตนิกาย
อังคุตตรัฏฐกถา คืออรรถกถาอังคุตตรนิกาย


อรรถกถาอภิธรรมปิฎก
1. มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา
2. อภิธัมมัฏฐกถา คืออรรถกถาอภิธรรม

นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอื่นๆ อีก คือ

1.จูฬปัจจรีย์อรรถกถา คือ สังเขปอรรถกถานั่นเอง
2.อริยอรรถกถา คือ อรรถกถาภาษาอริยะ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
3.ปันนวาร (อรรถกถา) คือ อรรกถาที่ประมวลข้อวินิจฉัยจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถา

อรรถกถาเหล่านี้เรียกว่า โปราณอรรถกถา หรือ อรรถกถาเก่า ซึ่งพระสังคีติกาจารย์ ได้ยกขึ้นสู่ สังคายนาถึง 3 ครั้ง และ นำเผยแพร่ยังเกาะสิงหล โดยพระมหามหินท เถระชาวชมพูทวีป ภายหลังสังคายนาครั้งที่ 3 แล้วได้รับการแปลเรียบเรียงเป็นภาษา สิงหลเพื่อหลีกเลี่ยง ความเลอะเลือน แห่งคำวินิจฉัยที่มาจากต่างลัทธิต่างนิกาย และที่มาจากศาสนาอื่นๆ

คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก (บางส่วน)

อรรถกถาที่พระพุทธโฆสะ พระพุทธทัตตะ พระธรรมปาละ พระอุปเสน และพระมหา นามะ เป็นต้น แต่งและ แปลเรียบเรียงจากมูลอรรถกถา หรือมหาอรรถกถาภาษา สิงหล เรียกว่า อภินวอรรถกถา หรืออรรถกถาใหม่ ซึ่งอรรถกถา ของยุคอภินว อรรถกถา เริ่มจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้นมาจัดว่า เป็นยุคที่วงการศึกษาคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา แสดงมติว่าเป็น “ยุคทองของอรรถกถา” เพราะมี อรรถกถาเกิดขึ้นมากมาย โดยเนื้อหาของอรรถกถาเหล่านั้น มีความสัมพันธ์กันใน ลักษณะ อธิบายความที่สื่อต่อกันเป็นลำดับตามกระแสความ ซึ่งมีทั้งอรรถกถา พระวินัยปิฎก อรรถกถาพระ สุตตันตปิฎก และอรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก

ต่อไปนี้คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีทั้งหมด 23 คัมภีร์ โดยอาจมีชื่อคัมภีร์ ซ้ำกันบ้าง

คัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก

1. มหาวิภังค์ ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
2. มหาวิภังค์ ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
3. ภิกขุนีวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
4. มหาวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
5. มหาวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
6. จุลวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
7. จุลวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
8. ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา

นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์กังขาวิตรณี อรรถกถาพระปาติโมกข์ 

คัมภีร์อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก          

1. ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
2. ทีฆนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
3. ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี
4. มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
5. มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
6. มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี
7. สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
8. สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
9. สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
10. สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
11. สังยุตตนิกาย มหาวรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สารัตถปกาสินี
12. อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
13. อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
14. อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
15. อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
16. อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มโนรถปูรณี
17. ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
18. ขุททกนิกาย ธรรมบท มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธัมมปทัฏฐกถา
19. ขุททกนิกาย อุทาน-อิติวุตตกะ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
20. ขุททกนิกาย สุตตนิบาต มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถโชติกา
21. ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ-เปตวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
22. ขุททกนิกาย เถรคาถา-เถรีคาถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี
23. ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
24. ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ชาตกัฏฐกถา
25. ขุททกนิกาย มหานิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
26. ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปัชโชติกา
27. ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัทธัมมปกาสินี
28. ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
29. ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ วิสุทธชนวิลาสินี
30. ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ มธุรัตถวิลาสินี
31. ขุททกนิกาย จริยาปิฎก มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปรมัตถทีปนี

นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์สารัตถสมุจจัย อรรถกถาภาณวาร อธิบายเนื้อหาของพระสูตร และปาฐะต่างๆ จากพระสูตร และข้อความจากพระวินัยหลากหลายที่มา ที่ปรากฏใน ภาณวาร หรือหนังสือ สวดมนต์หลวง

คัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก

1.ธัมมสังคณี มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ อัฏฐสาลินี

2.วิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สัมโมหวิโนทนี

3.ธาตุกถา มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ธาตุกถาปกรณ์ อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนี ฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

4.ปุคคลบัญญัติ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปุคคลบัญญัติปกรณ์ อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนี ฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

5.กถาวัตถุ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ กถาวัตถุอรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

6.ยมก ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ยมกปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

7.ยมก ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ยมกปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

8.ปัฏฐาน ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

9.ปัฏฐาน ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

10.ปัฏฐาน ภาค 3 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

11.ปัฏฐาน ภาค 4 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

12.ปัฏฐาน ภาค 5 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

13.ปัฏฐาน ภาค 6 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปัฏฐานปกรณ์อรรถกถา หรือ ปรมัตถทีปนีฉบับพระพุทธโฆสะ (ปัญจปกรณัฏฐกถา)

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์