เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  ประวัติบุคคล และสถานที่ ในสมัยพุทธกาล
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  สารนาถ (สังเวชนียสถานแห่งที่ 3) 203 Next


สารนาถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจาก เมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้า กิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล

เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชน ทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง

สารนาถยังรู้จักกันดีในชื่อ "อิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "ฤๅษีปัตนมฤคทายวัน" (บาลี: อิสิปตนมิคทายวน) แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี

ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา ประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า ป่าอันยกให้ แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบ และเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤๅษี และนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะ เพื่อเข้าถึง พรหมัน (ตามความเชื่อ ในคัมภีร์ อุปนิษัท ของพราหมณ์) ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัว มาจากเจ้าชาย สิทธัตถะ (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหาร และถูกปัญจวัคคีย์ ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่

สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถาน สารนาถ ภายในอาณาบริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือ ของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล)

สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่า สารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงเริ่มต้นประกาศ พระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง)

ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้ง ของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศ พระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

สารนาถหลังพุทธปรินิพพาน
ประมาณ 300 กว่าปีต่อมาหลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มสถานที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนา และพระธรรมเทศนาอื่น ๆ แก่เบญจวัคคีย์ และหมู่คันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ในบริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้รับการบูรณะ และก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติมครั้งใหญ่ เพื่อถวายเป็นอนุสรณียสถาน แก่พระพุทธเจ้า และกลุ่มพุทธสถานเหล่านี้ ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ในสมัยราชวงศ์คุปตะ (บันทึกของพระถังซำจั๋ง (Chinese traveler Hiuen-Tsang)

​ซึ่งได้จาริกมาราว พ.ศ. 1300 ได้บันทึกไว้ว่า "มีพระอยู่ประจำ 1,500 รูป มีพระสถูป สูงประมาณ 100 เมตร มีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์ และสิ่งอัศจรรย์มากมาย ฯลฯ") และได้ถูกทิ้งร้างไป เมื่อกษัตริย์โมกุล เข้าปกครองอินเดีย จนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ได้มาบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง และได้รับการบูรณะ จากรัฐบาล อินเดียเรื่อยมา ทำให้สารนาถกลายเป็นจุดหมายปลายทาง ในการแสวงบุญ ที่สำคัญ แห่งหนึ่งของชาวพุทธทั่วโลก มาจนถึงปัจจุบัน  

 

ธรรมเมกขสถูป


กลุ่มพุทธสถานโบราณในสารนาถ

 
หัวสิงห์ยอดเสาอโศกในสารนาถ โบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดของอินเดีย หัวสิงห์นี้ถูกใช้
เป็นตรา ประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน และ ซากเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ถูกทุบทำลาย


อักษรพราหมี บนเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช


กวางที่รัฐบาลอินเดียเลี้ยงไว้ เพื่อรำลึกถึงสารนาถที่เคยเป็นสวนกวางในอดีต


เจาคันธีสถูป สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์


ซากฐานเจดีย์ธรรมราชิกสถูป สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
โปรดปัญจวัคคีย์ ทำให้ปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์



 
 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์